dc.contributor.author | พงศธร พอกเพิ่มดี | th_TH |
dc.contributor.author | Pongsadhorn Pokpermdee | th_TH |
dc.contributor.author | กฤติยา สุขพัฒนากุล | th_TH |
dc.contributor.author | Krittiya Sukpatthanakul | th_TH |
dc.contributor.author | โศรดากรณ์ พิมลา | th_TH |
dc.contributor.author | Soradakorn Phimla | th_TH |
dc.contributor.author | วันวิสา เพ็ญสุริยะ | th_TH |
dc.contributor.author | Wanwisa Pensuriya | th_TH |
dc.contributor.author | นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Nardanong Charoensuntisuk | th_TH |
dc.contributor.author | ปุณณิภา คงสืบ | th_TH |
dc.contributor.author | Punnipa Kongsueb | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิภา จันทรา | th_TH |
dc.contributor.author | Sasipa Chantra | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐนรี ขิงจัตุรัส | th_TH |
dc.contributor.author | Natnaree Khingchatturat | th_TH |
dc.contributor.author | อิสริยาภรณ์ คันธา | th_TH |
dc.contributor.author | Isariyaporn Kanta | th_TH |
dc.contributor.author | อรจิรา หนูทองอินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Onjira Nuthong-In | th_TH |
dc.contributor.author | ณิชาธร กาญจนโยธิน | th_TH |
dc.contributor.author | Nichatorn Karnchanayothin | th_TH |
dc.contributor.author | ชุติมา อรรคลีพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chutima Akaleephan | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-11-01T02:51:23Z | |
dc.date.available | 2024-11-01T02:51:23Z | |
dc.date.issued | 2567-10 | |
dc.identifier.isbn | 9789742992798 | |
dc.identifier.other | hs3181 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6186 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565-2566 เทียบกับต่างประเทศในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) และกลุ่มประเทศอาเซียน วิเคราะห์และสังเคราะห์ความเชื่อมโยงค่าใช้จ่ายสุขภาพและตัวชี้วัด และนำมาจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดสุขภาพที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพของกลุ่มประเทศ OECD จำนวน 193 ตัวชี้วัด เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืนและมีมาตรฐานในระดับสากล ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods) ในการวิเคราะห์เชิงประมาณและคุณภาพของผลลัพธ์ระบบสุขภาพ รวมถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของค่าใช้จ่ายสุขภาพกับตัวชี้วัดที่สำคัญ จากข้อมูลตัวชี้วัดของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD และประเทศในอาเซียน และใช้เทคนิค modified Delphi surveys โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญออนไลน์แบบไม่เปิดเผยตัวตน 2 รอบ เพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มตัวชี้วัดและการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการศึกษา ประเทศไทยมีข้อมูลตัวชี้วัดจำนวน 158 ตัวชี้วัด ไม่มีข้อมูล 35 ตัวชี้วัด โดยสามารถเปรียบเทียบตัวชี้วัดของไทยกับกลุ่มประเทศ OECD ได้จำนวน 112 ตัวชี้วัด เปรียบเทียบไม่ได้ 46 ตัวชี้วัด เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่แสดงแนวโน้ม สัดส่วน หรือเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ มีข้อค้นพบที่สำคัญคือ 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาจำแนกรายมิติ พบว่า ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นความท้าทายของระบบสาธารณสุขของไทยซึ่งมีสถานะการดำเนินงานที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD มีจำนวน 51 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาเนื่องจากระบบสาธารณสุของประเทศไทยมีสถานะที่แย่กว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD จำนวน 61 ตัวชี้วัด โดยจำแนกเป็น 5 มิติ คือ (1) มิติสถานะสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 17 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 8 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด 3 อันดับแรกที่ต้องเร่งพัฒนา ได้แก่ อัตราส่วนการเสียชีวิตมารดา อัตราการเสียชีวิตของทารก และความชุกของโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 และ 2 ในผู้ใหญ่ (2) มิติปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นที่ท้าทาย 12 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนาจำนวน 7 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ อัตราการคลอดก่อนกำหนด การสูบบุหรี่ในเด็กอายุ 13-15 ปี จำแนกตามเพศ และ อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำแนกตามเพศ (3) มิติการเข้าถึงบริการตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 2 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 12 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คน จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ สัดส่วนรายจ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพ และอัตราการรอผ่าตัดต้อกระจกนานกว่า 3 เดือน (4) มิติคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 11 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 16 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวัคชีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สัดส่วนของการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในการดูแลระยะยาว และอัตราการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเวช (5) มิติทรัพยากรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 9 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 18 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ จำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต การผลิตบัณฑิตพยาบาล และจำนวนพยาบาลต่อประชากร 1,000 คน 2) ผลการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาทั้ง 61 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต รองลงมาคือ การผลิตบัณฑิตพยาบาล ส่วนอันดับ 3 ซึ่งมีความสำคัญในระดับเดียวกัน คือ อัตราส่วนการเสียชีวิตมารดา อัตราการเกิดสิ่งแปลกปลอมตกค้างระหว่างการผ่าตัด และจำนวนพยาบาลต่อประชากร 1,000 คน อันดับ 4 คือ ร้อยละของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และอันดับ 5 มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ สัดส่วนของการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในการดูแลระยะยาว รายจ่ายรัฐบาลด้านสุขภาพต่อรายจ่ายรัฐบาลทั้งหมด และจำนวนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คน 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ค่าใช้จ่ายสุขภาพและตัวชี้วัด พบว่า ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวประชากรต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีรายได้น้อยจะมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพแย่กว่าประเทศของกลุ่ม OECD ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนในมิติการเข้าถึง และคุณภาพการดูแล ความครอบคลุมของชุดบริการสุขภาพหลัก สามารถทำได้ดีแม้จะมีระดับการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ค่อนข้างต่ำ โดยไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวประชากรอยู่ที่ 25,472 บาท (S$730.5 ปรับค่า Purchasing power parity) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD แต่ประชากรไทยยังได้รับสิทธิบริการสุขภาพหลักอย่างทั่วถึง 4) ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืน จำแนกเป็นข้อเสนอในการจัดการพัฒนาผลลัพธ์ระบบสุขภาพ 5 มิติ โดยมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาระบบการบริการโดยเฉพาะระบบปฐมภูมิ ปรับการบริการทางการแพทย์สู่ Community base และวางแผนบริหารจัดการและกระจายทรัพยากรอย่างทั่วถึง และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อบรรลุผลลัพธ์สุขภาพตามเป้าหมาย OECD ในเรื่องของการจัดการเตียงผู้ป่วยวิกฤติ และการผลิตพยาบาล ข้อยุติ การวิเคราะห์สมรรถนะของระบบสุขภาพและมิติผลลัพธ์สุขภาพ 5 มิติ พบว่า สมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น และอยู่ในระดับต้น ๆ ของอาเซียน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาผลลัพธ์สุขภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดคุณภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดีสำหรับประชาชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health System | th_TH |
dc.subject | สมรรถนะ | th_TH |
dc.subject | Competency | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.title | การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565-2566 | th_TH |
dc.title.alternative | Health at a Glance Thailand 2022 - 2023 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: The assessment of Thailand’s health system performance from 2022
to 2023 aims to analyze health outcomes in comparison to the OECD (Organization for
Economic Co-operation and Development) and ASEAN (Association of Southeast Asian Nations)
countries. The study aimed to examine and synthesize the relationships between health
expenditures and key indicators, and to prioritize the health indicators that Thailand urgently
needed to achieve from among the 193 OECD health indicators. The goal was to formulate
policy and strategic recommendations that enhance the sustainability and international
competitiveness of Thailand’s health system. Methodology: This study used a mixed-methods
approach to analyze both the quantitative and qualitative aspects of health system outcomes.
It explored the relationship between health expenditures and key indicators by comparing
Thailand’s data with that of OECD and ASEAN countries. The study also incorporated a two-round
modified Delphi survey, gathering anonymous expert opinions online to frame top priority
indicator groups with final policy recommendations. Results: Thailand data covered 158
indicators and lacked 35 indicators. Of those available, 112 indicators were comparable with
the OECD countries, while 46 non-comparable indicators were those with trends, proportions,
or qualitative data. Main findings were: 1) out of 5 dimensions of the comparable indicators,
there were 51 indicators that Thailand health system outperformed the OECD average and
61 indicators that lagged behind the OECD average. Within the health status dimension,
17 indicators were identified as challenges, with 8 indicators requiring immediate attention.
The top three indicators in need of urgent development were the maternal mortality ratio,
infant mortality rate, and the prevalence of type 1 and type 2 diabetes in adults. (2) Under the
health risk factor dimension, 12 indicators were challenges while top three were the premature
birth rate, the smoking rate among children aged 13-15 by gender, and the smoking rate among
the population aged 15 and over by gender. (3) Under the service access dimension,
12 indicators were challenges and top three were the ratio of doctors per 1,000 population by
region, the proportion of household expenditure on health, and the proportion of patients
waiting for cataract surgery over three months. (4) Under the patient care quality dimension,
11 indicators were challenges, while top three were the percentage of the population aged
65 received influenza vaccine, the proportion of antimicrobial resistance in long-term care, and
the suicide rate among inpatients with psychiatric illnesses. (5) Under the health resource
dimension, 9 indicators were challenges, 18 required urgent attention, and top three priorities
were the number of critical care beds, the number of nursing graduates, and the number of
nurses per 1,000 population. 2) From the prioritization of the 61 indicators needed urgent
development, the top five indicators deemed most critical by experts were: the number of
critical care beds, the production of nursing graduates, and three indicators tied for the third
place were the maternal mortality ratio, the rate of foreign body left after procedure, and the
number of nurses per 1,000 population. The fourth priority was the percentage of the population
aged 65 and over received influenza vaccine. The fifth priority included the proportion of
antimicrobial resistance in long-term care; government expenditure on health as a percentage
of total government expenditure; and the number of physicians per 1,000 population.
3) The correlation study between health expenditure and health outcomes showed that Thailand
and other ASEAN countries with low per capita health spending—mostly developing nations—
had poorer health outcomes compared to more developed OECD countries. Despite relatively
low health expenditure, these countries often achieve good accessibility, quality of care, and
coverage of essential health services. Thailand’s per capita health expenditure was 25,472 baht
(730.5 USD PPP), lower than the OECD average. Nevertheless, Thai population benefited from
universal access to core health services. 4) The results of policy and strategic proposals for
driving and developing the capacity of Thailand health system sustainably were divided into
proposals for managing the development of 5 dimensions of health system outcomes: focusing
on creating health literacy; developing health care system for older persons; developing the
service system, especially the primary care system, reorienting medical services to the
community; by planning the management and distribution of resources comprehensively; and
creating a development plan to achieve health outcomes according to the OECD targets in
terms of management of critical patient beds and nurse production. Conclusion: Thailand’s
health system performance showed improvement and ranked high in ASEAN, however, the
health outcomes fell short when compared to developed countries. Therefore, it is essential
for Thailand to further enhance the efficiency of its health system to achieve better quality
health outcomes for its population. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 65-122 | |
dc.subject.keyword | ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | พงศธร พอกเพิ่มดี, Pongsadhorn Pokpermdee, กฤติยา สุขพัฒนากุล, Krittiya Sukpatthanakul, โศรดากรณ์ พิมลา, Soradakorn Phimla, วันวิสา เพ็ญสุริยะ, Wanwisa Pensuriya, นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข, Nardanong Charoensuntisuk, ปุณณิภา คงสืบ, Punnipa Kongsueb, ศศิภา จันทรา, Sasipa Chantra, ณัฐนรี ขิงจัตุรัส, Natnaree Khingchatturat, อิสริยาภรณ์ คันธา, Isariyaporn Kanta, อรจิรา หนูทองอินทร์, Onjira Nuthong-In, ณิชาธร กาญจนโยธิน, Nichatorn Karnchanayothin, ชุติมา อรรคลีพันธุ์ and Chutima Akaleephan. "การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565-2566." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6186">http://hdl.handle.net/11228/6186</a>. | |
.custom.total_download | 8 | |
.custom.downloaded_today | 8 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 | |