Unit Cost Study for Health Care Service in Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Center and Tambon Health Promoting Hospital with Transferred to the Provincial Administrative Organizations
dc.contributor.author | นภชา สิงห์วีรธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Noppcha Singweratham | th_TH |
dc.contributor.author | ตวงรัตน์ โพธะ | th_TH |
dc.contributor.author | Tuangrat Phodha | th_TH |
dc.contributor.author | วิน เตชะเคหะกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Win Techakehakij | th_TH |
dc.contributor.author | พัลลภ เซียวชัยสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pallop Siewchaisakul | th_TH |
dc.contributor.author | อำพล บุญเพียร | th_TH |
dc.contributor.author | Aumpol Bunpean | th_TH |
dc.contributor.author | สินีนาฏ ชาวตระการ | th_TH |
dc.contributor.author | Sineenart Chautrakarn | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-11-01T07:00:24Z | |
dc.date.available | 2024-11-01T07:00:24Z | |
dc.date.issued | 2567-06 | |
dc.identifier.other | hs3195 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6188 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมวิธี (Mixed method) ศึกษาค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในมุมมองผู้ให้บริการทุกรูปแบบของการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้หน่วยบริการประจำหรือคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary care: CUP) ร่วมกับหน่วยบริการเครือข่าย ประกอบด้วย สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ก่อนและหลังการถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปีงบประมาณ 2565 และปีงบประมาณ 2566 โดยคัดเลือกจากรูปแบบของการจัดสรรตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติจำนวน 7 รูปแบบ รูปแบบละ 2 จังหวัด ร่วมกับจังหวัดที่ยังไม่สามารถทำข้อตกลงได้ 1 จังหวัด รวมเป็น 15 จังหวัด และเลือกจังหวัดละ 3 รพ.สต. รวมเป็น 45 รพ.สต. ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) ผลการศึกษาสถานการณ์และเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้กับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. (ก่อนและหลังการถ่ายโอน) พบความหลากหลายของการนำเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ทั้งที่เป็นและไม่เป็นในรูปแบบคณะอนุกรรมการ ส่วนมากยึดรูปแบบการจัดสรรตามที่เคยจัดสรรก่อนการถ่ายโอนร่วมกับการนำข้อมูลในการจัดสรรที่ผ่านมามาพิจารณาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรร โดยค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการจัดสรรเป็นมูลค่าเงินเวชภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และครุภัณฑ์ รวมถึงการจ่ายเป็น Fixed cost ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละจังหวัด โดยการจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขผู้ป่วยนอก ส่วนมากจะไม่จ่ายเป็นตัวเงินตามผลการให้บริการใน รพ.สต. ส่วนค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน (P&P) ส่วนมากจัดสรรเป็นมูลค่าเงินตามผลงาน (P&P Fee schedule) ส่วนแบบเหมาบริการ (P&P Capitation) จะไม่จัดสรรเป็นเงิน ทั้งนี้เริ่มมีการพิจารณากองทุนฟื้นฟูและกองทุนผู้ป่วยเฉพาะรายการดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่เป็นกองทุนที่เกิดจากการจัดบริการร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล และ รพ.สต. เข้ามาด้วย 2) เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยการจัดบริการสาธารณสุขของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. (ก่อนและหลังการถ่ายโอน) พบว่า ต้นทุนกิจกรรมต่อหน่วย ปีงบประมาณ 2565 ก่อนการถ่ายโอน งานรักษาพยาบาลโดยแพทย์มีค่ากลาง 34.67 บาท และงานรักษาพยาบาลโดยไม่ใช่แพทย์ มีค่ากลาง 113.38 บาท ส่วนปีงบประมาณ 2566 หลังการถ่ายโอน งานรักษาพยาบาลโดยแพทย์ มีค่ากลาง 29.95 บาท และงานรักษาพยาบาลโดยไม่ใช่แพทย์มีค่ากลาง 135.12 บาท ต้นทุนค่าเฉลี่ยต้นทุนรวมในการจัดบริการของ รพ.สต. ส่วนใหญ่มีค่าสูงขึ้นจากก่อนถ่ายโอน (ปีงบประมาณ 2565) ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งในการจัดบริการของ รพ.สต. ส่วนใหญ่มีค่าลดลงจากก่อนถ่ายโอน (ปีงบประมาณ 2565) ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยในการจัดบริการของ รพ.สต. ภายหลังการถ่ายโอน ส่วนใหญ่มีค่าสูงขึ้นจากก่อนถ่ายโอน (ปีงบประมาณ 2565) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเงินบำรุง (บุคลากร สาธารณูปโภคและการจัดซื้อวัสดุ) กับเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ในปีงบประมาณ 2566 พบว่า รพ.สต. ที่ถ่ายโอน ส่วนใหญ่มีการใช้จ่ายเงินบำรุงมากกว่าเงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก สถ. เนื่องจากนำเงินไปใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรและจ่ายค่า fixed cost ต่าง ๆ (เดิมเคยได้รับเงินส่วนนี้จาก รพ.แม่ข่าย) และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินบำรุงคงเหลือปลายปีงบประมาณก่อนและหลังการถ่ายโอน พบว่า ภายหลังจากการถ่ายโอน รพ.สต. ทุกแห่งมีจำนวนเงินบำรุงคงเหลือปลายปีงบประมาณมากกว่าก่อนถ่ายโอน โดยภาพรวมในปีงบประมาณ 2566 ของ รพ.สต. ทั้งหมด 45 แห่ง มีเงินบำรุงคงเหลือทั้งสิ้น 53,545,969.99 บาท หรือคิดเป็น 1.94 เท่า ของก่อนการถ่ายโอน (เงินบำรุงคงเหลือปลายปี 2565 จำนวน 27,637,584.41 บาท) 3) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวประชากรของค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป (OP) และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. (ก่อนและหลังการถ่ายโอน) ต้นทุนต่อหน่วยงานบริการผู้ป่วยนอก แบ่งต้นทุนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ บริการผู้ป่วยนอกที่ตรวจรักษาโดยแพทย์ และบริการผู้ป่วยนอกที่มิได้ตรวจรักษาโดยแพทย์ สำหรับต้นทุนต่อหน่วยงานบริการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประมาณการจากกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามประกาศของ สปสช. ปี 2566 รวมทั้งสิ้น 134 กิจกรรม ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้นทุนทางตรง มาจากข้อมูลการสัมภาษณ์การปฏิบัติงานจริง ข้อมูลจากเวชระเบียน และข้อมูลทางบัญชี ทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ในส่วนข้อมูลต้นทุนทางอ้อม ได้จากข้อมูล Full cost ของ รพ.สต./รพ.แม่ข่าย ต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยบริการผู้ป่วยนอกที่ตรวจรักษาโดยแพทย์จำแนกตามขนาดของ รพ.สต. ในปี 2565 และ 2566 เท่ากับ 786.30 บาท และ 175.10 บาท ตามลำดับ ขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ยบริการผู้ป่วยนอกที่มิได้ตรวจรักษาโดยแพทย์ ในปี 2565 และ 2566 เท่ากับ 266.60 บาท และ 1,189.70 บาท ตามลำดับ สำหรับต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 แล้ว มีกิจกรรมที่ต้นทุนลดลงในปี 2566 จำนวน 45 กิจกรรม (ร้อยละ 47.37) ในขณะที่มีกิจกรรมที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น จำนวน 27 กิจกรรม (ร้อยละ 28.42) 4) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รูปแบบการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้กับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. การจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขควรผ่านคณะอนุกรรมการด้านการเงินที่มีสัดส่วนเท่ากันระหว่างผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ อบจ. โดยเสนอ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) จัดสรรผ่าน CUP ของกระทรวงสาธารณสุข 2) จัดสรรผ่าน CUP นอกกระทรวงสาธารณสุข แต่ทำงานร่วมกับ CUP ของกระทรวงสาธารณสุข 3) จัดสรรผ่าน CUP นอกกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำงานร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุข เช่น อบจ. มีโรงพยาบาลในสังกัดของตนเอง แต่ทว่าข้อเสนอเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่ข้อมูลสิ้นสุดในการตัดสินใจของแต่ละ CUP โดยในกรณีที่จังหวัดสามารถตกลงกันก็ให้ดำเนินการตามข้อตกลง ส่วนจังหวัดที่พิจารณาไม่ได้ให้สามารถนำข้อเสนอในการจัดสรรสัดส่วนร้อยละ 80 ของ รพ.สต. และร้อยละ 20 ของ CUP ทั้งนี้ ควรพิจารณาการจัดสรรตรงให้ทั้ง รพ.สต.ที่ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนไปก่อนปี พ.ศ. 2566 เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมของการดูแลสุขภาพของประชาชนในระดับปฐมภูมิ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนบริการ | th_TH |
dc.subject | ค่ารักษาพยาบาล--ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | การจัดสรรค่าใช้จ่าย | th_TH |
dc.subject | ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล | th_TH |
dc.subject | ค่าบริการทางแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Health Care Cost | th_TH |
dc.subject | Costs and Cost Analysis | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | การศึกษาต้นทุนการจัดบริการสาธารณสุขของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | Unit Cost Study for Health Care Service in Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Center and Tambon Health Promoting Hospital with Transferred to the Provincial Administrative Organizations | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study was mixed-methods design to estimate cost of public health services from the provider’s perspective. The budget allocation models between the Contracting Unit for Primary care: (CUP) and the network of health service unit include Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Center and Tambon Health Promoting Hospital (THPH) were compared between before and after transferred to the Provincial Administrative Organizations (PAO) in fiscal year of 2022 and 2023, respectively. There were 7 studied budget allocation models. Two provinces for each model and another province that budget allocation model has not been defined yet were purposively selected into this study lead to the total number of studied provinces become 15. Three THPHs per province were recruited to this study. There were 45 THPH in total. Results: 1) The situation and comparison of the proportion of the allocation of public health service expenses to the THPH transferred to PAO (before and after the transfer) There was a variety of presentations of information to the Local Health Committees (LHCs), both in the form of a subcommittee and in the form of a committee. Most of them adhered to the allocation model as it was allocated before the transfer, along with using information from past allocations as a criterion for allocation. The National Health Security Fund's public health service expenses are allocated as a monetary value, medicines and medical supplies, and equipment, including payment as a fixed cost, depending on the agreement of each province. In the allocation of outpatient health service fees, most do not pay in cash based on the results of services provided at the THPH. As for health service fees for health promotion and prevention (P&P), most are allocated in monetary value based on number of outputs of public health services, or the P&P Fee schedule. Nonetheless, the P&P Capitation is not allocated in cash. However, the rehabilitation fund and the fund for patients specially caring for palliative patients, which are the joint funding between hospital and THPH has begun to be considered. 2) Comparison of unit costs of public health services of THPH transferred to PAO (before and after transfer). In 2022, before the transfer, the median unit cost using activity-base costing approach of the medical treatment by physicians cost center was 34.67 baht and the medical treatment by non-physicians cost center was 113.38 baht. In 2023, after the transfer, the median unit cost using activity-base costing approach of the medical treatment by physicians cost center was 29.95 baht and the medical treatment by non-physicians cost center was 135.12 baht. The reason of increasing in the unit cost might be because the average number of outputs of public health services were decreased from before the transfer (fiscal year 2022). When comparing the maintenance expenses (personnel, utilities, and material procurement) with the money supported by the Department of Local Administration (DLA) in fiscal year 2 023 , it was found that most of the transferred THPH had spent more maintenance expense than the money supported by DLA. This is because the money was used to hire personnel and pay various fixed costs (previously, this money was received from the host hospital). When comparing the balance in the maintenance expense account at the end of the fiscal year before and after the transfer, it was found that after the transfer, all THPH had a higher number of balances than before the transfer. Overall, in fiscal year 2023, the average number of balances in the maintenance expense account of 45 THPH was 53,545,969.99 baht, or twice as much as before the transfer (27,637,584.41 baht). 3) Results of analysis of cost per capita of expenses for general outpatient services (OP) and expenses for health promotion and disease prevention services (P&P) of THPH transferred to provincial administrative organizations (before and after transfer). The unit cost of outpatient service includes 2 cost centers: the medical treatment by physicians cost center and the medical treatment by non-physicians cost center. The unit cost unit of health promotion and disease prevention activities (P&P) is estimated from health promotion and disease prevention activities according to the announcement of the NHSO in 2023, totaling 134 activities. The empirical cost data for estimating the direct costs comes from interviews the healthcare personnel, query the medical records, and accounting data, material use, equipment registers, and buildings. The indirect cost was obtained from the full cost data of the THPH and hospital. The average unit cost of outpatient services treated by physicians in 2022 and 2023 were 786.3 and 175.1 baht, respectively. While the average unit cost of outpatient services treated by non-physician in 2022 and 2023 were 266.6 baht and 1,189.7 baht, respectively. For the unit cost of health promotion and disease prevention activities (P&P), when compared to 2022, there were 45 activities whose costs decreased in 2023 (47.37 percent), while there were 27 activities whose costs increased (28.42 percent). 4) The policy recommendation, that is, the allocation model for public health service expenses to THPH that are transferred to the PAO should go through the financial sub-committee with an equal proportion of representatives from the Ministry of Public Health (MOPH) and the PAO. Three options are proposed: 1) Allocation through the CUP of the Ministry of Public Health, 2) Allocation through a CUP outside the Ministry of Public Health but working together with the CUP of the Ministry of Public Health, 3) Allocation through a CUP outside the Ministry of Public Health without working together with the Ministry of Public Health, such as the PAO having its own hospitals. However, these proposals are not final information for each CUP's decision. In the case that the provinces can reach an agreement, they should proceed according to the agreement. As for the provinces that cannot consider, they can submit a proposal to allocate 80 percent of the sub-district hospitals and 20 percent of the CUP. In addition, consideration should be given to direct allocation to both THPHs that are not transferred and those are transferred before 2023 to avoid inequality and not affect the overall performance of primary care public health care. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 น189ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 67-011 | |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
.custom.citation | นภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, ตวงรัตน์ โพธะ, Tuangrat Phodha, วิน เตชะเคหะกิจ, Win Techakehakij, พัลลภ เซียวชัยสกุล, Pallop Siewchaisakul, อำพล บุญเพียร, Aumpol Bunpean, สินีนาฏ ชาวตระการ and Sineenart Chautrakarn. "การศึกษาต้นทุนการจัดบริการสาธารณสุขของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6188">http://hdl.handle.net/11228/6188</a>. | |
.custom.total_download | 13 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 13 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 13 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2417]
งานวิจัย