แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของพืชกัญชาในอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง: แนวทางเชิงนโยบายระบบสุขภาพ ลดการเข้าถึงในกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็กและเยาวชน

dc.contributor.authorจิตรลดา อารีย์สันติชัยth_TH
dc.contributor.authorChitlada Areesantichaith_TH
dc.contributor.authorอุษณีย์ พึ่งปานth_TH
dc.contributor.authorUsaneya Perngparnth_TH
dc.contributor.authorศิรเศรษฐ เนตรงามth_TH
dc.contributor.authorSiraseth Nethngamth_TH
dc.contributor.authorพรภิรมย์ สุวรรณเลิศth_TH
dc.contributor.authorPonpirom Suwannalertth_TH
dc.date.accessioned2024-11-01T09:34:32Z
dc.date.available2024-11-01T09:34:32Z
dc.date.issued2567-10
dc.identifier.otherhs3197
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6189
dc.description.abstractที่มา: กัญชา (Cannabis sativa L.) เป็นพืชที่ได้รับความสนใจในวงการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากมีสารสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ เช่น กระตุ้นการอยากอาหาร ลดความเครียด และลดอาการชัก อย่างไรก็ตาม ความนิยมในการผสมกัญชาในอาหารและเครื่องดื่มส่งผลให้เกิดความกังวลในด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจได้รับสาร THC และสารแคนนาบินอยด์เกินกว่าที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาร่างกายและจิตใจ วัตถุประสงค์: 1. วิเคราะห์ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง 2. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพต่อกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 3. ศึกษากระบวนการผลิตและปริมาณการผสมกัญชาในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิต 4. เสนอแนวทางป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชน วิธีวิจัย: การวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยประกอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง การสัมภาษณ์เชิงปริมาณและคุณภาพในกลุ่มที่เป็นเด็กและเยาวชน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้จำหน่ายและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษา: ผลการวิจัยจากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ 129 ตัวอย่าง พบว่า ประมาณร้อยละ 30 ไม่พบสาร THC และพบสาร THC มากกว่าร้อยละ 0.20 โดยน้ำหนักซึ่งเกินกฎหมายกำหนด จำนวน 17 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากจนอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังคงพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้บริโภคพบว่า ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้กัญชาในอาหารที่แตกต่างกัน เยาวชนที่บริโภคประจำเห็นว่า การบริโภค ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียด และทำงานได้มากขึ้น เป็นต้น ทำให้เกิดความต้องการในการใช้ซ้ำอีก ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะพึ่งพิงทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว สรุป: งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมและตรวจสอบปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์กัญชา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งเสริมให้เกิดการใช้กัญชาอย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ ข้อเสนอแนะ: 1. ควรมีมาตรการกำกับ ดูแลการใช้กัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างเคร่งครัด รวมถึงกำหนดปริมาณ THC ที่ปลอดภัยและเหมาะสม 2. ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้กัญชาในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ประกอบการ 3. การบังคับใช้กฎหมายและแนวทางป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชนควรมีความชัดเจนและเข้มงวดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสุขภาพth_TH
dc.subjectVulnerable Populationsth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของพืชกัญชาในอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง: แนวทางเชิงนโยบายระบบสุขภาพ ลดการเข้าถึงในกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็กและเยาวชนth_TH
dc.title.alternativeAn Analysis of Cannabis Active Substances in Foods, Beverages, Condiments and Other Food Products Which Having Cannabis/Hemp as Their Ingredients: Policy Approach of Health System to Reduce the Access of Vulnerable Population as Juvenilesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Cannabis (Cannabis sativa L.) has garnered attention in the fields of medicine and public health due to its medicinal properties, such as appetite stimulation, stress relief, and seizure reduction. However, the growing use of cannabis-infused food and beverages has raised safety concerns, particularly for children and adolescents who may consume THC and other cannabinoids at levels exceeding legal limits, potentially affecting their physical and mental development. Objectives: 1. To analyze cannabinoid levels in food, beverages, and condiments containing cannabis 2. To assess the health risks and impacts on vulnerable groups, particularly children and adolescents 3. To study the production processes and cannabis content in products by producers 4. To propose preventive measures to limit cannabis product access among children and adolescents Research Methodology: This cross-sectional study involved cannabinoid analysis in cannabis-and hemp-infused products, quantitative and qualitative interviews with vulnerable groups (children and adolescents), and interviews with vendors and producers. Findings: Among 129 samples tested, approximately 30% showed no THC presence, while 17 samples exceeded the legal THC limits (0.2% by weight), posing potential health risks, especially for young consumers. Additionally, interviews with vendors and consumers revealed varying levels of knowledge and awareness regarding the risks associated with cannabis in food products. Adolescents who consume regularly mentioned that it helped relax, release stress and gain more work etc. which make them to reuse again and again. This may lead to dependent situation in the future. Conclusion: This study underscores the need for regulation and monitoring of cannabinoid levels in cannabis products, especially those accessible to children and adolescents, to ensure consumer safety and promote responsible cannabis use. Recommendations: 1. Strictly regulate the use of cannabis in food and beverages, including setting safe and appropriate THC limits 2. Provide educational programs about cannabis-related risks to children, adolescents, and vendors 3. Enforce clear and stringent laws and guidelines to prevent cannabis product access among children and adolescentsth_TH
dc.identifier.contactno67-005
dc.subject.keywordกลุ่มเปราะบางth_TH
.custom.citationจิตรลดา อารีย์สันติชัย, Chitlada Areesantichai, อุษณีย์ พึ่งปาน, Usaneya Perngparn, ศิรเศรษฐ เนตรงาม, Siraseth Nethngam, พรภิรมย์ สุวรรณเลิศ and Ponpirom Suwannalert. "การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของพืชกัญชาในอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง: แนวทางเชิงนโยบายระบบสุขภาพ ลดการเข้าถึงในกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็กและเยาวชน." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6189">http://hdl.handle.net/11228/6189</a>.
.custom.total_download5
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3197.pdf
ขนาด: 4.901Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย