แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorสิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์th_TH
dc.contributor.authorSirirat Suwatcharachaitiwongth_TH
dc.contributor.authorนิกร ศิริวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorNikorn Sirivongpaisalth_TH
dc.contributor.authorดลยา บัวคำth_TH
dc.contributor.authorDollaya Buakumth_TH
dc.contributor.authorนาตยา จึงเจริญธรรมth_TH
dc.contributor.authorNattaya Jungcharoenthamth_TH
dc.date.accessioned2024-11-06T06:43:51Z
dc.date.available2024-11-06T06:43:51Z
dc.date.issued2567-10
dc.identifier.otherhs3201
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6190
dc.description.abstractแนวคิดการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิใกล้บ้านเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยในเบื้องต้นก่อนจะมาโรงพยาบาลเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาความแออัดในสถานบริการสาธารณสุขลงได้ โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของหน่วยบริการปฐมภูมิ “คลินิกชุมชนอบอุ่น” ซึ่งให้บริการผู้ป่วยภายใต้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยในปัจจุบันคลินิกที่เข้าร่วมโครงการอาจยังมีจำนวนไม่เพียงพอกับประชากรในกรุงเทพมหานคร จากการประเมินความเหมาะสมของหน่วยบริการปฐมภูมิต่อจำนวนประชากร พบว่ากว่า 41 เขตจาก 50 เขตนั้น มีจำนวนคลินิกชุมชนอบอุ่นน้อยกว่าจำนวนหน่วยบริการที่เหมาะสม ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการขยายการเข้าถึงการรักษาในมุมมองของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพจากการพิจารณาหน่วยบริการที่เป็นคลินิกเพิ่มขึ้น โดยในงานนี้ได้ทำการ 1) ออกแบบตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการที่เหมาะสม ได้ออกแบบตามหลักเกณฑ์ 2 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และความเพียงพอของจำนวนหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ และ 2) การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยงานวิจัยนี้ได้ประเมินความเหมาะสมด้านพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิจากการพิจารณาความสะดวกในการเข้าถึง การเชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ และการเป็นที่มองเห็นได้ โดยการประเมินหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมด้วยเทคนิค AHP (Analytical Hierarchical Process) ร่วมกับข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) โดยการกำหนดปัจจัยที่สำคัญในการบ่งชี้ความเหมาะสมของพื้นที่ 12 ประการ แล้วประเมินระดับความเหมาะสมเชิงพื้นที่ใน 5 ระดับ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน คลินิกที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถระบุพิกัดได้นั้นมีจำนวน 377 แห่ง ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสมระดับมากที่สุดและมากเพียง ร้อยละ 17 นอกนั้นเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมระดับปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด รวมกว่า ร้อยละ 83 โดยคลินิกครอบคลุมประชากรผู้ป่วยบัตรทองอยู่ที่ ร้อยละ 67.73 จากนั้นจัดสรรคลินิกที่ยังไม่เข้าร่วมเพิ่มเติมโดยใช้การวิเคราะห์ด้วย GIS พบว่าสามารถเพิ่มการครอบคลุมผู้รับบริการได้ถึง ร้อยละ 90.80 จากการจัดสรรคลินิกรวมทั้งสิ้น 577 แห่ง นอกจากนี้ได้วิเคราะห์การจัดสรรคลินิกไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ในรูปแบบการจัดสรรตามโซนสุขภาพของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การส่งต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยในการกำหนดความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งของหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) ด้านการเพิ่มการเข้าถึงหน่วยบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการ 3) ด้านการควบคุมดูแลหน่วยบริการ (คลินิก) โดยศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 4) ด้านความคาดหวังของผู้รับบริการในการเลือกรับบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ (คลินิก) และ 5) ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectการรักษาโรคth_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeDetermining the Location of Primary Healthcare Facilities in Bangkok Metropolitan Areath_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe concept of developing a model for primary health care services close to patient homes aims to reduce overcrowding in public health facilities. This research focuses on allocating the suitable locations for "Warm Community Clinics," which are primary care units under the Universal Coverage Scheme: UCS. Currently, the number of participating clinics may be insufficient compared to the population distribution in Bangkok. An evaluation of the suitability of primary care units in relation to the population revealed that more than 41 out of 50 districts have fewer warm community clinics than the ideal number of units required. Therefore, this study focuses on expanding access to care under the perspective of logistics and health supply chains by increasing the number of participating clinics. The research includes: (1) allocate the location of appropriate primary care units based on two criteria: accessibility to primary care services and adequacy of the number of primary health care units, and (2) developing policy recommendations for determining the locations of primary health care units in Bangkok. The study assesses the spatial suitability of primary care units by considering convenience, accessibility, connectivity with secondary health care units, and visibility. The suitability of locations is evaluated using the AHP (Analytical Hierarchical Process) technique combined with Geographic Information System (GIS) data. This involves defining 12 critical factors for indicating spatial suitability resulting in five levels of spatial suitability. The analysis of current operation shows that there are 3 7 7 clinics, under the warm community nursing clinic project, locating in the groups of the most suitable location and very suitable location only 17%, while the remaining 83% are in moderately suitable, less suitable, or least suitable areas. When analyzing the coverage by concerned clinics for patients under the UCS Universal Coverage Scheme, the current coverage stands at 67.73%. Considering uncovered patients, the additional clinics being candidates for making decision were allocated using GIS analysis. It can increase the coverage to 90.80% by adding 577 potential clinics. Moreover, this study also allocates the primary care clinics to 69 public health centers following Bangkok Health Zone to ensure efficient referrals. In addition, this research proposed the policy recommendations consisting of five perspectives: 1) factors determining the suitability of primary care unit locations, 2) enhancing access to primary care services for patients, 3) supervising of clinics by the 69 public health centers, 4) patient expectations in selecting primary care services, and 5) other relevant aspects.th_TH
dc.identifier.contactno66-095
dc.subject.keywordคลินิกชุมชนอบอุ่นth_TH
.custom.citationสิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์, Sirirat Suwatcharachaitiwong, นิกร ศิริวงศ์ไพศาล, Nikorn Sirivongpaisal, ดลยา บัวคำ, Dollaya Buakum, นาตยา จึงเจริญธรรม and Nattaya Jungcharoentham. "การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6190">http://hdl.handle.net/11228/6190</a>.
.custom.total_download8
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3201.pdf
ขนาด: 19.15Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย