การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการดำเนินงานระหว่างคณะกรรมการบริหารระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ (CUP Board) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในพื้นที่ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
dc.contributor.author | ไพโรจน์ พรหมพันใจ | th_TH |
dc.contributor.author | Pairoj Prompunjai | th_TH |
dc.contributor.author | ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Thipphayarat Singthong | th_TH |
dc.contributor.author | ธีระวุธ ธรรมกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Theerawut Thammakun | th_TH |
dc.contributor.author | อารยา ประเสริฐชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Araya Prasertchai | th_TH |
dc.contributor.author | อนัญญา ประดิษฐปรีชา | th_TH |
dc.contributor.author | Anunya Pradidthaprecha | th_TH |
dc.contributor.author | มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Mayurin Laorujisawat | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-11-06T07:21:13Z | |
dc.date.available | 2024-11-06T07:21:13Z | |
dc.date.issued | 2567-10 | |
dc.identifier.other | hs3200 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6191 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการดำเนินงานระหว่างคณะกรรมการบริหารระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ (CUP Board) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์และสังเคราะห์สภาพปัญหาของการดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ระดับอำเภอของ CUP Board และ พชอ. และระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบูรณาการการดำเนินงานระหว่าง CUP Board และ พชอ. ต่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยัง อบจ. ผลการศึกษา ดังนี้ 1. สถานการณ์และสังเคราะห์สภาพปัญหาของการดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ระดับอำเภอของ CUP Board และ พชอ. พบว่า ภายหลังการถ่ายโอนฯ กลไกการดำเนินงานระหว่าง พชอ. กับ CUP Board ไม่ได้มีความแตกต่างจากเดิม เนื่องจากเป็นการดำเนินงานระดับนโยบาย มีกรอบหรือแนวทางการปฏิบัติอย่างกว้าง นอกจากนี้การขับเคลื่อนงานต่าง ๆ และงบประมาณจะอยู่ในระดับตำบลทุกแห่ง ไม่ได้เกิดการบูรณาการงบประมาณระดับอำเภอแต่อย่างใด สำหรับกลไกการติดตามและประเมินผลจะเริ่มขึ้นจากระดับตำบล โดยมีการติดตามพื้นที่ระดับตำบลด้วยกลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ร่วมกับ CUP Board หรือ คณะกรรมการ NCD Board แล้วรายงานผลไปยัง พชอ. เพื่อทราบผลผลิต ผลลัพธ์ และปัญหาอุปสรรคต่อไป 2. การสร้างและพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกตการณ์ และ 4) การสะท้อนผลลัพธ์ มาใช้ในการพัฒนารูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) การจัดทำข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ : เป็นการเลือกตัวแปรขั้นต่ำในการวิเคราะห์ปัญหา 2) Identification of problem : การระบุปัญหาและการร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบูรณาการดำเนินงานฯ 3) Outcome setting : การกำหนดระดับผลลัพธ์เพื่อแก้ไขปัญหาการบูรณาการฯ 4) วิเคราะห์กิจกรรมการดำเนินการและความเชื่อมโยง ผลลัพธ์ : เป็นการกำหนดกิจกรรม ภาคีเครือข่าย และทรัพยากรในการดำเนินงาน และ 5) บันไดผลลัพธ์และติดตามผล: การติดตามประเมินผลอย่างเป็นลำดับและการมีส่วนร่วมของประชาชน 3. รูปแบบการบูรณาการดำเนินงานระหว่าง CUP Board พชอ. และ อบจ. ประกอบด้วย ระดับนโยบายของอำเภอและระดับการปฏิบัติในชุมชน ดังนี้ 1) การบูรณาการระดับนโยบาย จะประกอบด้วยองค์กรหลัก ๆ คือ อบจ. พชอ. และ CUP Board ซึ่งมีการร่วมกันบริหารและผลักดันกลไกต่าง ๆ ของอำเภอไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการลดความซับซ้อนของการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังร่วมกันสื่อสารถ่ายทอดนโยบาย กำหนดแบบแผนการบูรณาการงบประมาณ การสร้างตัวชี้วัดระดับอำเภอและกำกับติดตามประเมินผล การเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ภายในพื้นที่อย่างเพียงพอ และเพื่อให้การดำเนินการเชิงนโยบายมีความคล่องตัวในระดับนโยบายจึงต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการ หรือ คณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ได้รับบทบาทหน้าที่เชื่อมโยงและขับเคลื่อนงานระหว่างอำเภอไปยังตำบล และ 2) การบูรณาการระดับการปฏิบัติในชุมชน เป็นระดับที่รับนโยบายภาพกว้างขับเคลื่อนลงสู่ระดับประชาชน ผ่านแผนการดำเนินงานและตัวชี้วัดของอำเภอ และในระดับนี้จะมีแผนบูรณาการพัฒนาระบบบริหารจัดการฯ ระดับตำบล ซึ่งเป็นการออกแบบการทำงานของพื้นที่ตำบลโดยให้ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หน่วยงานระดับตำบล อบต./เทศบาลตำบล และ พชต. ร่วมกันหารือ พิจารณาปัญหาของตำบล ข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดทรัพยากรต่าง ๆ อย่างรอบด้านร่วมกัน เกิดกิจกรรมและการบูรณาทรัพยากรต่าง ๆ ในแนวราบเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งแกนหลักในการดำเนินงานระดับนี้คือ คณะกรรมการ พชต. อบต./เทศบาลตำบล และบุคลากรจาก รพ.สต. นอกจากนี้ ในประเด็นของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น CUP Board ของโรงพยาบาลจะร่วมผลักดันและขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับระดับตำบลอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการให้บริการด้านสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ รพ.สต. อย่างต่อเนื่อง 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ รูปแบบการบูรณาการดำเนินงานฯ นี้ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาการเชื่อมประสานระหว่างองค์กรต่าง ๆ ภายในอำเภอที่แตกต่าง ให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในมิติต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เกิดความปลอดภัย และความพึงพอใจต่อการรับบริการ ซึ่งจะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนภายในอำเภอ ดังนั้น ในเชิงนโยบายควรเน้นการบูรณาการระดับต้นทางคือ ผู้บริหารควรมีทัศนคติ วิสัยทัศน์ต่อการกำหนดนโยบายร่วมกัน มองผลลัพธ์ในภาพรวมของพื้นที่ร่วมกัน การตกลงด้านตัวชี้วัดที่เน้นเรื่องคุณภาพของการปฏิบัติงานระดับต้นทางเพื่อให้ปลายทางใช้เป็นหลักการทำงานร่วมกันอย่างไม่ขัดแย้ง การปรับปรุงระเบียบและแนวทางการทำงานกำกับ ติดตามผลลัพธ์ร่วมกัน การบูรณาการทรัพยากรโดยเฉพาะงบประมาณเชิงนโยบาย เน้นกลไกความสัมพันธ์ที่ดีทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง ในส่วนกลไกระดับตำบลที่จะเน้นกลไกการประสานงานระดับแนวราบ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในระดับประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการปฏิบัติงานทุก ๆ มิติ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Prevention | th_TH |
dc.subject | Prevention and Control | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.title | การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการดำเนินงานระหว่างคณะกรรมการบริหารระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ (CUP Board) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในพื้นที่ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Model for Integrating the Contracted Unit of Primary Care Board (CUP Board) and the District Health Board (DHB) for Effective Prevention and Control of Non-communicable Diseases in the Transfer Area of Sub-district Health Promoting Hospital to the Provincial Administrative Organization (PAO) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aims to develop an integrated model for collaboration between by Contracting Unit of Primary Care board (CUP Boards) and District Health Board (DHB) to prevent and control non-communicable diseases in areas where subdistrict Health Promotion Hospital have been transferred to provincial administrative organizations (PAOs). Phase 1: aimed to study the current situation and Synthesis of Problems for the prevention and control in non - communicable diseases at the district level, as carried out by Contracting Unit of Primary Care board (CUP Boards) and District Health Board (DHB) and Phase 2: Development and Evaluation of the Integrated Model. The results of the study showed that 1. After the transfer of subdistrict Health Promotion Hospital, the operational mechanisms between the DHB and CUP Board remained largely unchanged because of there were primarily conducted at a policy level, with broad frameworks and guidelines. In addition, the implementation of various activities and budget allocation at the sub-district level do not have significant budget integration at the district level. The monitoring and evaluati on mechanisms began at the sub-district level, with the DHB, in collaboration with CUP Boards or NCD Boards, monitoring sub-district areas. 2. The development of this model consists of four components: 1) planning, 2) implementation, 3) observation, and 4) reflection. To develop this model, five activities were carried out: 1) data collection for decision-making: selecting minimal variables for problem analysis; 2) Identification of problem: identifying problems and collaboratively seeking solutions for integrated operations; 3) Outcome setting: setting outcome levels to address integration challenges; 4) Analysis of activities and outcome linkages: determining network partner activities and resources for implementation; and 5) Outcome setting and monitoring 3. The integration model comprises Policy-level integration, involving key organizations such as the Provincial Administrative Organization (PAO), District Health Board (DHB), and Contracting Unit of Primary Care board (CUP Boards) . These organizations collaboratively manage and promote various district mechanisms to the public, streamline operations, and communicate policies. They also establish budget integration frameworks, develop district-level indicators, monitoring and evaluation. To facilitate policy-level operations, various committees or subcommittees have been established to like a drive operations between district and sub-district levels. Community-level implementation involves translating broad policies into actionable plans at the grassroots level, using district-level operational plans and indicators. At this level, there is a sub-district-level integrated development plan that designs the sub-district's operations through collaborative discussions among community members, Village Health Volunteer , sub-district offices, Subdistrict Administrative Organization, and sub-district health board. They comprehensively assess sub-district issues, strengths, weaknesses, and resource constraints. This leads to horizontal activities and resource integration to address specific problems. The core of this level's operations is the sub-district health board, Subdistrict Administrative Organization, and Public Health Technical Officer from Subdistrict Health Promotion Hospital. Additionally, for non-communicable diseases, the CUP Board actively collaborates with the sub-district level, providing necessary equipment for healthcare services and continuously developing the capacity of primary healthcare center personnel. 4. This public policy proposal aims to enhance coordination among different organizations within the district to improve operational efficiency and ensure that all people, regardless of age, including healthy individuals, at-risk groups, and patients, have appropriate access to diabetes and hypertension prevention and control services. This is expected to enhance safety, satisfaction with services, and ultimately improve the quality of life of the district's population. Therefore, at the policy level, there should be a strong emphasis on upstream integration, meaning that administrators should have a shared vision and perspective in policymaking, focusing on overall outcomes for the area. They should also jointly agree on performance indicators that emphasize the quality of upstream operations to guide downstream collaboration. Additionally, there should be joint efforts to improve regulations and procedures, as well as joint monitoring and evaluation of outcomes. Policy-level budget integration should be prioritized. Horizontal and vertical relationships should be strengthened. At the sub-district level, emphasis should be placed on horizontal coordination mechanisms, capacity building of personnel, and the importance of outcomes at the community level, as the community is the ultimate stakeholder in all aspects of this work. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 พ697ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-012 | |
.custom.citation | ไพโรจน์ พรหมพันใจ, Pairoj Prompunjai, ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง, Thipphayarat Singthong, ธีระวุธ ธรรมกุล, Theerawut Thammakun, อารยา ประเสริฐชัย, Araya Prasertchai, อนัญญา ประดิษฐปรีชา, Anunya Pradidthaprecha, มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ and Mayurin Laorujisawat. "การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการดำเนินงานระหว่างคณะกรรมการบริหารระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ (CUP Board) และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในพื้นที่ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6191">http://hdl.handle.net/11228/6191</a>. | |
.custom.total_download | 16 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 16 | |
.custom.downloaded_this_year | 16 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 16 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2417]
งานวิจัย