Show simple item record

Community-based Model Development for Cannabis Abuse Prevention

dc.contributor.authorอภินันท์ อร่ามรัตน์th_TH
dc.contributor.authorApinun Aramrattanath_TH
dc.contributor.authorวัชรพงศ์ พุ่มชื่นth_TH
dc.contributor.authorWatcharapong Poomchuenth_TH
dc.contributor.authorเกรียงไกร พึ่งเชื้อth_TH
dc.contributor.authorKriengkrai Peungchuerth_TH
dc.date.accessioned2024-12-18T06:48:03Z
dc.date.available2024-12-18T06:48:03Z
dc.date.issued2567-09
dc.identifier.otherhs3220
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6206
dc.description.abstractความเป็นมา สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 ส่งผลให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ไม่ถูกจัดให้เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ประชาชนทั่วไปสามารถปลูก ซื้อหา ครอบครองได้อย่างเสรี มีการจําหน่ายกัญชาและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่เป็นเด็กและเยาวชน และความสงบเรียบร้อยของสังคม นอกเหนือจากการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้แนวคิด “พื้นที่ปลอดภัย” ที่เป็นแนวคิดสำคัญที่นําไปสู่การป้องกันและลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยจัดให้มีพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ที่คนในครอบครัว เครือญาติหรือชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน อันจะนําไปสู่การลดปัญหาจากสารเสพติด การพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพและการสร้างพลัง (Empowerment) ให้กับชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหาและผลกระทบจากการใช้กัญชาในทางที่ผิด 2) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) และสร้างพื้นที่ต้นแบบ (Model development) จากการปฏิบัติการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการหาทางออก (Solution) จากปัญหาการใช้กัญชาในทางที่ผิดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ให้กับสังคมไทย และ 4) เพื่อพัฒนาข้อเสนอต่อนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Public Policy) ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์รอง คือ เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาให้ครอบคลุมสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่เป็นปัญหาในระดับพื้นที่ด้วย ในขณะร่วมกันวางเป้าหมายการพัฒนาการดำเนินงานวิจัยโครงการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดเป็นการดำเนินงานวิจัยในรูปแบบการวิจัย (research design) ใช้กระบวนการ (Collaborative Action Research) โดยมีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด คณะผู้วิจัยได้เลือกจาก 4 บริบทพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้ คือ กรุงเทพมหานคร-ชุมชนเมืองมหานคร จ.ราชบุรี-ชุมชนชาติพันธุ์เขตชายแดน จ.สกลนคร-ชุมชนกึ่งเมือง จ.ลำพูน-ชุมชนวิถีชนบท โดยมีชุมชนที่เป็นตัวแทนตามบริบทดังกล่าวและทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมีประชาการและกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการศึกษา คือ ผู้นําในหมู่บ้าน/ชุมชน และประชาชนในพื้นที่เป้าหมายประกอบด้วย ผู้นําหมู่บ้าน/ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้อํานวยการหรือผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ศูนย์บริการสาธารณสุข ผู้ป่วยที่ใช้ประโยชน์จากกัญชา เยาวชนในพื้นที่ ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูก/ผู้ผลิตกัญชา ผลการดำเนินงาน สถานการณ์กัญชาในพื้นที่จากการสํารวจ 600 ครัวเรือน 1,830 ตัวอย่าง ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพหมานคร ราชบุรี สกลนคร และลำพูน พบว่า ร้อยละ 41.2 มีการใช้กัญชาในครัวเรือน ร้อยละ 13.7 มีการปลูกกัญชาในครัวเรือนทั้งสิ้น โดยจำนวนต้นกัญชาที่ปลูกในครัวเรือน มีตั้งแต่ 1 ต้น มากสุดอยู่ที่ 12 ต้นในครัวเรือนที่ปลูก สำหรับเหตุผลในการปลูกกัญชาในครัวเรือนนั้น มีทั้งปลูกไว้เพื่อการทำยาผสมแก้มะเร็ง ต้มเป็นน้ำ ปลูกในเข่งใบใหญ่ที่หลังบ้าน ปลูกไว้ขายช่อดอก มีลูกค้ามารับช่อดอกไปทำผลิตภัณฑ์สำหรับสูบมวน รวมถึง ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม เพราะมองแค่ว่าเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีช่อดอก จากการสํารวจ 1,830 ตัวอย่าง ที่มีพฤติกรรมการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และกัญชานั้น พบว่า มีผู้ที่ดื่มเหล้า ร้อยละ 29.2 สูบบุหรี่ ร้อยละ 23 มีผู้ที่เคยใช้กัญชา ร้อยละ 23.3 และในผู้ที่เคยใช้กัญชายังคงใช้กัญชาใน 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 89.7 และเมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดของผู้ที่ใช้กัญชาโดยจําแนกตามเพศและกลุ่มอายุ พบว่าใช้กัญชาโดยผสมในอาหารต่าง ๆ เพื่อการรับประทานมากที่สุด ร้อยละ 14.09 เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.5 หญิง ร้อยละ 41.5 รองมาคือ นํากัญชาไปชงดื่มในลักษณะน้ำชา ร้อยละ 7.59 เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 หญิง ร้อยละ 52.5 และใช้กัญชาโดยการมวนบุหรี่สูบจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 5.46 เป็นเพศชาย ร้อยละ 85 หญิง ร้อยละ 15 มีรายงานการใช้กัญชาแบบสูบบ้อง ร้อยละ 1.42 โดยเป็นเพศชายเกือบทั้งหมด ร้อยละ 92.3 ซึ่งจะเห็นได้ว่า รูปแบบการใช้กัญชาที่มากที่สุด คือ ผสมในอาหารต่าง ๆ เพื่อการรับประทาน ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีนโยบายกัญชาเสรี ให้สามารถใช้บริโภคได้ จากผู้ที่ใช้กัญชาใน 1 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอายุระหว่าง 15-87 ปี อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 46.7 ปี (SD.=16.0) การเริ่มใช้กัญชาน้อยกว่า 4 ปี สูงถึงร้อยละ 58.7 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีการเริ่มใช้กัญชาไม่นานมานี้ และเป็นผู้ที่เริ่มใช้มาไม่เกิน 2 ปี สูงกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.9 มีผู้ที่รายงานว่าได้รับผลกระทบจากการใช้กัญชา จำนวน 237 คน รายงานว่า ร้อยละ 34.59 นอนมากกว่าปกติ ร้อยละ 21.51 มีอาการอยากของหวาน ร้อยละ 13.92 มีอาการวิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 13.92 มีอาการปากแห้ง ร้อยละ 8.43 มีอาการหายใจเร็ว ร้อยละ 3.79 มีอาการหงุดหงิด ร้อยละ 2.10 มีอาการตาแดง ร้อยละ 1.68 มีอาการความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีรายงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ถึงผลกระทบของอาการวิงเวียนศีรษะ จากการที่คนใกล้ตัวสูบกัญชา กิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่จากข้อมูลที่ได้จากการสํารวจทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผ่านการสนทนากลุ่ม ที่นําไปสู่การออกแบบข้อกําหนดเพื่อการใช้กัญชาอย่างปลอดภัยและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการใช้กัญชา ตลอดจนกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ ส่งเสริม ป้องกันปัญหาการใช้กัญชาตามบริบทของพื้นที่ โดยชุมชนได้ริเริ่มดำเนินการกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งความรู้ สุขภาพ ความสัมพันธ์ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนในความร่วมมือป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน ซึ่งรวมถึงปัญหาการใช้สารเสพติด ตลอดจนการใช้กัญชา ซึ่งในแต่ละชุมชนได้มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งส่งเสริมสุขภาพผ่านการจัดกิจกรรมด้านกีฬา พัฒนาศักยภาพเยาวชนในชุมชนในมิติต่าง ๆ ทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด การเป็นผู้นํา การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และการผลิตสื่อออนไลน์ที่สร้างสรรค์ ตลอดจนกิจกรรมที่ส่งเสริม รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนที่นําไปสู่การดูแลสุขภาพจิต ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ซึ่งจากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ของแต่ละชุมชนรวมถึงข้อกําหนดกฎหมู่บ้านหรือธรรมนูญชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาการใช้กัญชาในทางที่ผิด จะสามารถดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความคิดริเริ่มมาจากความต้องการของชุมชนนั้น ๆ โดยการมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นได้ คนในชุมชนต้องมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือการเล็งเห็นปัญหาของการใช้กัญชาในทางที่ผิด การมีกฎชุมชนหรือธรรมนูญชุมชนที่ออกแบบร่วมกันและเป็นที่ยอมรับของทุกคน รวมถึงการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย อันจะนําไปสู่การดำเนินการยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้สารเสพติดth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับเยาวชนth_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดth_TH
dc.title.alternativeCommunity-based Model Development for Cannabis Abuse Preventionth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction From proceeding of the ministry of public health’s declaration about defining narcotic name in category 5, B.E. 2565 and the ministry of public health’s declaration about controlled herbs (cannabis), B.E. 2565, these affected to any extract from cannabis or hemp are not classified to narcotic category 5 according to the Narcotic Code, the citizens can cultivate, purchase and freely possess. There is cannabis sales and various products widely which affects to users’ health, especially children and youth users. It also affects to social peace besides using cannabis for medical way by “safe space” model that is the necessary thoughts which brings to prevention and reduction of violent narcotic problems in community by setting the creative activity field for family, relatives and neighbors in order to make participating in activities and leading to narcotic problems reduction. The major objectives of Community-based model development for cannabis abuse prevention are 1) to improve and empower the latency in community for setting the cannabis abuse problem and effects preventing field. 2) to develop knowledge and make model field from acting community-based model for cannabis abuse prevention. 3) to develop finding solution of cannabis abuse problems by using creative methods for Thai community. 4) to develop proposals to participatory public policy either local class and national class. The minor objective of Community-based model development for cannabis abuse prevention is to extend to development scales to other narcotics which also have problems in local class during setting developing goals. Procedure This community-based model development for cannabis abuse prevention project used the collaborative action research process and has the field goal in community-based model development for cannabis abuse prevention. The researchers selected 4 village spaces/ communities such as Bangkok (the city community), Ratchaburi province (the ethnic community in frontier space), Sakon Nakorn province (the semi-city community) and Lamphun province (the countryside path community). There were communities as a following volunteer contextually and doing study either quantity and quality which has the population and example group are the community leader and the target citizens on the area such as the community / village leader, the public health volunteer, the village/ community referee, the director/ the agent of the health promotion hospital/ public health centre, the patient who got cannabis effects, youths on the area and also the agriculturist as the cannabis grower/ generator. The result The cannabis situation on the area From investigating the 600 households and 1,830 example cases on 4 regions such as Bangkok, Ratchaburi, Sakon Nakhon and Lamphun province, we found that there were using cannabis in the household 41.2 percents, cultivating cannabis in households 13.7 percents. The number of cannabises growing in household was 1 plant to maximum 12 plants growing. The reasons of household cannabis cultivating were using as mixing cancer medicine which boiling to be liquid, cultivating in the big basket behind their house, cultivating for flower sale to customer who making purchase for rolling cigarette product and also cultivating for beauty because they just looked it like one of the flower plants. From investigating 1,830 example cases who had alcoholic behaviour, cigarette smoking and cannabis using found that there were alcohol drinkers in 29.2 percents, cigarette users in 23 percent, ever used cannabis users in 23.3 percents and users who experienced on cannabis a year ago in 89.7 percents. When we analyzed on the users’ detail about cannabis usage classifieds by sexual and age group showed that using cannabis mixed on food was the highest rate 14.09 percents; 58.5 percents was male and 41.5 was female, the next way was drinking tea with mixed cannabis 7.59 percents; 47.5 percents was male and 52.5 percents was female, using cannabis by cigarette rolling in 100 cases 5.46 percents; 85 percents was male and 15 percents was female and using cannabis by marijuana hookah 1.42 percents; 92.3 percents mostly was male. The highest rate of cannabis usage was mixing up food for consuming which was in the same period time of freedom cannabis policy that they can use it. From a-year-ago used cannabis users showed that ages ranged from 15-87 years, the average age was 46.7 years (SD=16.0) and the under 4 years cannabis using on 58.7 percents or we can imply that they just lately started using cannabis and they were under 2-year-ago cannabis users which is higher than 1 of 4 or 26.9 percents. There was given information by 237 of cases about cannabis effects, we found that the 34.59 percents had hypersomnia symptoms, addicting to any sweets 21.51 percents, dizzy symptoms on 13.92 percents, having xerostomia 13.92 percents, having Hyperventilation symptoms on 8.43 percents, being frustrated on 3.79 percents, having pink eye symptoms on 2.10 percents and 1.68 percent was having high blood pressure symptoms. Furthermore, there was the report from the Bangkok area about dizzy symptoms occurring to the people nearby from cannabis smoker. Creative activity in the area From surveying both quantity and quality data through group discussing, these lead to design the rules for safe cannabis using, effects protection from cannabis using and activities with latency, promoting and protecting cannabis using problem in the contextual area. The community start doing creative activity in the area for people latency promoting in knowledge, health and relationship which lead community improve steadily with cooperation on problems protecting in their community including narcotics and cannabis abuse. Each communities proceed activity such as promoting health by doing sport, youth latency promoting in various dimensions, making knowledge about narcotics, being the leader, knowing online media and making online creative medias. There are also activities promoting local tradition which lead to mental health care by these creative activities such as 1) community discovering 2) the latency promoting for youth camp 3) Thai nail dance for depression safety 4) the project of promoting sport skills and physical health in every age 5) creating online social media skills on YouTube (being YouTuber) Community charter There are details appearing in the community charter for controlling and cannabis abuse prevention following important details such as specification, limitation, prohibition and supporting which has limitation on using, producing and cannabis sale only. There is also other narcotics or abuse behaviour. Furthermore, there is duty or responsibility setting and performing guideline through community understanding following details below; 1) Specify role or duty for controlling, cultivating amount check and seeking for behaviour controlling to people in the community especially youths which are supported creatively. 2) Limit the amount of cannabis cultivating in each household for 3-8 units surveying every 3 months. Cut off when the limit is over. 3) Stop sales and distribution of cannabis to children and youths, also mixing with food. Moreover, there is the regulation of alcohol drinking, analgesics which has fine or breaking of community’s cooperation. 4) Support the cooperation, creative activity management and managing on risk unlawful assemble area. From doing creative activity of each community and village rules or community charter for cannabis abuse preventing, we can proceed successfully by having creativity of community. People in community need to have the same way of vision which is pointing problem of using abuse cannabis in the same way and aim at activity profits doing with safe. Also, there is community rules setting by people and get acceptation together. There is managing creative activity for people’s need in various sexual and ages leading to long-term managing. “Start in community, For community, By need community”th_TH
dc.identifier.callnoQV77.7 อ163ก 2567
dc.identifier.contactno66-028
.custom.citationอภินันท์ อร่ามรัตน์, Apinun Aramrattana, วัชรพงศ์ พุ่มชื่น, Watcharapong Poomchuen, เกรียงไกร พึ่งเชื้อ and Kriengkrai Peungchuer. "การพัฒนารูปแบบชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6206">http://hdl.handle.net/11228/6206</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Thumbnail
Name: hs3220.pdf
Size: 18.49Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record