Show simple item record

The Policy Recommendation to Develop the Role of Academic Center for Supporting the Operation of Sub-district Health Promoting Hospitals under the Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorจิราพร วรวงศ์th_TH
dc.contributor.authorChiraporn Worawongth_TH
dc.contributor.authorยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์th_TH
dc.contributor.authorYupaporn Tirapaiwongth_TH
dc.contributor.authorมณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุขth_TH
dc.contributor.authorManeeratsami Pattanasombutsookth_TH
dc.contributor.authorพนารัตน์ วิศวเทพนิมิตรth_TH
dc.contributor.authorPanarut Wisawatapnimitth_TH
dc.contributor.authorอริณรดา ลาดลาth_TH
dc.contributor.authorArinrada Ladlath_TH
dc.contributor.authorวีระพงษ์ เรียบพรth_TH
dc.contributor.authorVeerapong Riabpornth_TH
dc.contributor.authorเจียมใจ ศรีชัยรัตนกูลth_TH
dc.contributor.authorJeamjai Srichairattanakullth_TH
dc.contributor.authorนิภาพร อภิสิทธิวาสนาth_TH
dc.contributor.authorNipaporn Apisitwasanath_TH
dc.contributor.authorพรพรรณ มนสัจจกุลth_TH
dc.contributor.authorPornpun Manasatchakunth_TH
dc.contributor.authorนงนุช วงศ์สว่างth_TH
dc.contributor.authorNongnuch Wongsawangth_TH
dc.date.accessioned2025-01-09T12:33:13Z
dc.date.available2025-01-09T12:33:13Z
dc.date.issued2567-11
dc.identifier.otherhs3226
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6221
dc.description.abstractศูนย์วิชาการ กระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการให้กับกรมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข โดยการศึกษา วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุม และบำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพ ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของหน่วยบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และเป็นธรรม และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศในเรื่องระบบสุขภาพปฐมภูมิ และการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ศูนย์วิชาการต้องมีการปรับตัวและบทบาทในการทำงานร่วมกับ อบจ. รพ.สต. และ สอน. ทั้งที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) เปรียบเทียบบทบาทของ ศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต. และ สอน. ในระยะก่อนและหลังการถ่ายโอนไปยัง อบจ. 2) ศึกษาวิเคราะห์การอภิบาลระบบสุขภาพในการดำเนินงานที่เหมาะสมของศูนย์วิชาการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต. และ สอน. สังกัด อบจ. สู่เป้าหมาย รพ.สต.คุณภาพ 3) เสนอรูปแบบการดำเนินงานของศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการจัดบริการของ รพ.สต. และ สอน. สังกัด อบจ. สู่เป้าหมาย รพ.สต.คุณภาพ และ 4) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาบทบาทของศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต. และ สอน. สังกัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สาธารณสุขนิเทศก์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยและทีมงาน ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตและทีมงาน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคและทีมงาน และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และทีมงาน และ 2) กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและทีมงาน และผู้อำนวยการ รพ.สต. และ สอน. และทีมงาน ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างและบทบาทของศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต. และ สอน. ในระยะก่อนและหลังการถ่ายโอนไปยัง อบจ. ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ศูนย์วิชาการมีการสนับสนุนทางวิชาการใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การประสานตัวชี้วัด (2) การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรและหน่วยบริการ (3) การส่งเสริม พัฒนา ประเมินคุณภาพ และรับรองมาตรฐานการบริการ และ (4) การนิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานหน่วยบริการในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสุขภาพดี อย่างไรก็ตามอาจไม่ครอบคลุม รพ.สต. และ สอน. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. ที่มีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างกับศูนย์วิชาการที่แยกจากกันจากการอยู่คนละกระทรวง 2) ศูนย์วิชาการซึ่งกระจายอยู่ในทุกเขตสุขภาพในทุกภูมิภาคของประเทศเป็นหน่วยงานสำคัญในการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยสนับสนุนวิชาการและหนุนเสริมการทำงานร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ ทั้งในระดับเขตสุขภาพ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และ 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อบจ. รพ.สต. และ สอน. ที่ถ่ายโอน มีความต้องการให้ศูนย์วิชาการสนับสนุนวิชาการให้กับรพ.สต. และ สอน. ทั้งที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน เพื่อให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการมากขึ้น ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ศูนย์วิชาการพัฒนาความร่วมมือในการทำงานกับ อบจ. และ สสจ. ในรูปแบบพันธมิตรเพื่อสนับสนุนวิชาการให้ รพ.สต. และ สอน. ทั้งที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน สู่เป้าหมาย รพ.สต.คุณภาพ ศูนย์วิชาการพัฒนาตนเองให้เข้มแข็ง ทำงานเชิงรุกมากขึ้น สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและประชาชนรู้จักมากขึ้น เน้นการตลาดเชิงรุกเพื่อเผยแพร่ความรู้เทคโนโลยี และผลงานจากการผลิตสู่การนำไปใช้ และบูรณาการเป้าหมายและแผนในการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิชาการกำหนดรูปแบบและแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต. และ สอน. เป็น 2 ระยะคือ ระยะเปลี่ยนผ่าน และระยะสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้ รพ.สต. และ สอน. บรรลุเป้าหมาย รพ.สต.คุณภาพ ข้อเสนอเชิงนโยบายหลัก 3 ข้อจากการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) ศูนย์วิชาการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อผลักดันให้ รพ.สต. และ สอน. สังกัด อบจ. ในพื้นที่รับผิดชอบ ทำได้ตามตัวชี้วัดและบริการสุขภาพปฐมภูมิอย่างมีคุณภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน 2) ศูนย์วิชาการต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันก่อน แล้วค่อยรวมตัวกันไปประสานงานโดยไม่แยกกรมกับ อบจ. และคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) เพื่อวางแผนการสนับสนุนทางวิชาการให้กับ รพ.สต. และ สอน. ที่ถ่ายโอน และ 3) ศูนย์วิชาการปรับบทบาทให้เข้มข้นมากขึ้นในการทำงานกับ อบจ. เพื่อกำกับดูแลและประเมินผลการดำเนินงานของ รพ.สต. และสอน. สังกัด อบจ. สู่เป้าหมาย รพ.สต.คุณภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeThe Policy Recommendation to Develop the Role of Academic Center for Supporting the Operation of Sub-district Health Promoting Hospitals under the Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Academic Centers of the Ministry of Public Health has the main role and duty in driving the mission of academic development for the Department of Academic Affairs, Ministry of Public Health, by studying, researching, developing, transferring knowledge and technology, carrying out promotion, prevention, surveillance, and rehabilitation, coordinating and supporting the operation with relevant agencies in the area of responsibility, as well as promoting and supporting the development of the health service system of the relevant health service units at all levels in order to keep people healthy, and have access to quality, standard, fair health services and support the solution of the country's public health problems. However, under the changing context of the country in terms of the primary health system and the transfer of sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center, there must be an adaptation and role changes in working with sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center, both transferred and not transferred entities to the provincial administrative office. This research is a qualitative research with 4 objectives: 1) comparing the role of academic centers in supporting the operation of the sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center; 2) studying and analyzing the health system governance for the proper operation of the Academic Center of the Ministry of Public Health to support the operation of the sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center affiliated to the provincial administrative organizations towards the goal of a quality hospital; 3) proposing an operation model of the Academic Center to support the provision of services of the sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center affiliated to provincial administrative organizations to achieve the goal of a quality hospital; and 4) developing policy proposals to develop the role of Academic Centers in supporting the operation of the sub-district health promoting hospital and Queen Sirikit Health Center affiliated to the Provincial Administrative Organization. Data was collected from related documents and interview with individual as well as focus groups with provincial public health officer directors of various academic centers and team members including directors of the regional health promotion centers and team members, directors of the mental health centers and team members, directors of the office of disease control and prevention and team members and directors of the center for medical sciences and team members; and 2) interview information was also gathered from the Ministry of Interior personnels including the presidents of the provincial administrative organizations, directors of the public health division and team members, and directors of the sub-district health promoting hospitals and team members. The results of the study show that 1) the structure and role of academic centers in supporting the operation of sub-district health promoting hospitals in the pre- and post-transfer period remained unchanged. The major roles of the Academic Centers regarding academic supporting include four main areas: (1) coordination of indicators; (2) development of potential and capacity of personnel and of health service units; (3) promotion and development of service quality, quality assessment and certification of standards and (4) supervision, monitoring and evaluation of the performance of health service units in areas of responsibility to promote good health for the people. However, after the transfer of the sub-district health promoting hospitals, it was found that the academic centers could not thoroughly provide services to the sub-district health promoting hospitals and Queen Sirikit Health Centers since the two entities are under different ministries. 2) The Academic Centers in working with health organizations of all levels (health regions, provinces, districts and sub-districts) in order to provide thorough quality health services to the people. 3) The provincial health public health offices, the provincial administrative organizations, the sub-district health promoting hospitals, and the Queen Sirikit Health Centers expressed that the academic centers provide them with academic services so that the aforementioned organizations become strengthened. Therefore, the researchers would recommend that the academic centers would implement collaboration and partnership model in working with provincial health public health offices, the provincial administrative organizations, the sub-district health promoting hospitals, and the Queen Sirikit Health Centers in both transferred and not transferred entities. The academic centers work in pro-active approach, emphasizing collaboration, promotion, production and dissemination for practical purposes in accordance with the fast-changing social context. To do that the academic centers would undertake two steps, transitional stage and then strengthening and sustainable stage so that sub-district health promoting hospitals and the Queen Sirikit Health Centers will reach quality health provider institutions. There are 3 major policy recommendations: 1) the academic centers would provide academic services to sub-district health promoting hospitals, and the Queen Sirikit Health Centers so that they would reach the desired KPI’s and even fulfill the people’s expectations, 2) the academic centers need to integrate in the work with all the agencies mentioned simultaneously to reach optimal results and 3) The academic centers would adjust and strengthen the role in collaboration with the provincial administrative organizations to monitor and promote closely with the sub-district health promoting hospitals and the Queen Sirikit Health Centers affiliated to provincial administrative organizations to reach the desired goals.th_TH
dc.identifier.contactno67-065
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordLocal Administrative Organizationth_TH
.custom.citationจิราพร วรวงศ์, Chiraporn Worawong, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, Yupaporn Tirapaiwong, มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข, Maneeratsami Pattanasombutsook, พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร, Panarut Wisawatapnimit, อริณรดา ลาดลา, Arinrada Ladla, วีระพงษ์ เรียบพร, Veerapong Riabporn, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, Jeamjai Srichairattanakull, นิภาพร อภิสิทธิวาสนา, Nipaporn Apisitwasana, พรพรรณ มนสัจจกุล, Pornpun Manasatchakun, นงนุช วงศ์สว่าง and Nongnuch Wongsawang. "ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของศูนย์วิชาการในการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6221">http://hdl.handle.net/11228/6221</a>.
.custom.total_download2
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs3226.pdf
Size: 2.151Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record