dc.contributor.author | สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Somtanuek Chotchoungchatchai | th_TH |
dc.contributor.author | จิณณพัต สุวรรณเกตกะ | th_TH |
dc.contributor.author | Jinnapat Suvannakatka | th_TH |
dc.contributor.author | วรณัน วิทยาพิภพสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Woranan Witthayapipopsakul | th_TH |
dc.contributor.author | ธนินทร์ พัฒนศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Thanin Pattanasiri | th_TH |
dc.contributor.author | ฉัตรพศ หลายรุ่งเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Chatpot Lairungruang | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-13T03:38:13Z | |
dc.date.available | 2025-01-13T03:38:13Z | |
dc.date.issued | 2567-11 | |
dc.identifier.other | hs3223 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6223 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติติดตามและประเมินผลสถานการณ์ระบบสุขภาพ และมีการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยการเงินการคลังสุขภาพเป็นหนึ่งในสิบสองสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานการณ์ด้านการเงินการคลังสุขภาพตามตัวชี้วัดที่เสนอไว้ในเอกสารแนบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และทบทวนพัฒนาตัวชี้วัดเหล่านี้เพื่อจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพต่อไป ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) โดยการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากข้อมูลทุติยภูมิด้านการเงินการคลังสุขภาพ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การเงินการคลังสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มสามารถลงทุนได้อย่างยั่งยืน แต่รายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเทียบกับรายจ่ายของรัฐบาลในด้านอื่น ๆ สัดส่วนรายจ่ายสุขภาพนอกภาครัฐสูงกว่าที่คาดหวัง โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายจ่ายจากประกันสุขภาพภาคสมัครใจโดยบริษัทเอกชนเพิ่มมากขึ้น รายจ่ายจากครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์เล็กน้อยแต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่ออุบัติการณ์ครัวเรือนล้มละลายหรือการกลายเป็นครัวเรือนยากจนเพิ่มขึ้น การคลังสุขภาพมีลักษณะก้าวหน้า และกลุ่มคนจนยังได้รับประโยชน์จากการอุดหนุนงบประมาณด้านสุขภาพของภาครัฐมากกว่ากลุ่มคนรวย ยังมีความเหลื่อมล้ำภายในและระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐโดยเฉพาะด้านนโยบายการร่วมจ่าย อัตราและวิธีการจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาล และรายจ่ายเฉลี่ยต่อหัว มีเพียงแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในระบบการจ้างงานอย่างเป็นทางการเท่านั้นที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพภาคบังคับ ส่วนมาตรการด้านประสิทธิภาพอื่น ๆ มีในทุกระบบประกันสุขภาพ แต่มีการปฏิบัติแตกต่างกัน การทบทวนตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพที่ระบุในธรรมนูญฯ พบว่ายังมีข้อจำกัด ซึ่งผู้วิจัยได้มีข้อเสนอให้ปรับตัวชี้วัดเชิงปริมาณให้สอดคล้องกับระบบการรายงานสากล ให้ตั้งเป้าหมายเมื่อมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ปรับปรุงตัวชี้วัดด้านคุณภาพให้มีความชัดเจนมากขึ้น และเสนอตัวชี้วัดใหม่ตามเป้าหมายที่ยังไม่มีการติดตาม ผู้วิจัยเสนอให้มีตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพทั้งหมด 21 ตัวชี้วัด | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Status Indicators | th_TH |
dc.subject | Health Policy--Economics | th_TH |
dc.subject | Health Services--Economics | th_TH |
dc.subject | ตัวชี้วัด | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาตัวชี้วัดและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องการเงินการคลังด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Indicators and Preparation of a Report on the Situation of the Thai Healthcare System According to the National Health Act B.E. 2550 on Health Financing | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research follows the process outlined in the National Health Act B.E. 2550 (2007)
and the Third Statute on the National Health System (2022), which mandates the National
Health Commission to monitor and evaluate Thailand’s health system and revise the Statute
every five years. A key focus of the Third Statute is health financing. The study aimed to assess
the current state of health financing in Thailand using the Statute’s indicators, refine them,
and provide recommendations for improvement. A mixed-methods approach was used,
including a literature review, analysis of quantitative data from secondary sources, and
stakeholder consultations.
The findings indicate that Thailand’s health financing situation reflects a generally
sustainable trend in health investment, but government health spending remains below
expectations compared to other expenditures. Non-governmental expenditure exceeded
established levels, partly due to increased health spending through voluntary private health
insurance. Household expenditure on health was slightly above established thresholds, but
did not significantly contribute to the incidence of catastrophic health expenditure or healthrelated impoverishment. The financial incidence analysis revealed a progressive distribution
of health expenditures. Low-income groups benefitted more from government subsidies on
health than higher-income groups. However, disparities exist both within and between public
health insurance schemes especially on cost-sharing policies, provider payment methods and
rate, and per capita health spending. There are significant disparities within and between public
health insurance schemes, particularly cost-sharing policies, provider payment methods and
rates, and per capita health spending. Additionally, mandatory health insurance has only been
implemented for migrant workers in the formal employment sector. While all health insurance
schemes have mechanisms in place to improve efficiency, the practices vary.
The review of health financing indicators in the Third Statute identified several
limitations. We propose adjustments to align them with international standards, including
removing unsupported quantitative targets, clarifying qualitative indicators, and adding new
indicators to address unmonitored objectives. These revisions result in 21 refined health
financing indicators. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 ส255ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 67-125 | |
dc.subject.keyword | ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | การคลังสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 | th_TH |
.custom.citation | สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, Somtanuek Chotchoungchatchai, จิณณพัต สุวรรณเกตกะ, Jinnapat Suvannakatka, วรณัน วิทยาพิภพสกุล, Woranan Witthayapipopsakul, ธนินทร์ พัฒนศิริ, Thanin Pattanasiri, ฉัตรพศ หลายรุ่งเรือง and Chatpot Lairungruang. "การพัฒนาตัวชี้วัดและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องการเงินการคลังด้านสุขภาพ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6223">http://hdl.handle.net/11228/6223</a>. | |
.custom.total_download | 1 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |