dc.contributor.author | ปรีดา แต้อารักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Preeda Taearak | th_TH |
dc.contributor.author | วิรุฬ ลิ้มสวาท | th_TH |
dc.contributor.author | Wirun Limsawart | th_TH |
dc.contributor.author | ปรานอม โอสาร | th_TH |
dc.contributor.author | Pranom Aosan | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล | th_TH |
dc.contributor.author | Siriwat Tiptaradol | th_TH |
dc.contributor.author | พรฤดี นิธิรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pornruedee Nitirat | th_TH |
dc.contributor.author | วีรบูรณ์ วิสารทสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Weeraboon Wisartsakul | th_TH |
dc.contributor.author | จารึก ไชยรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jaruek Chairak | th_TH |
dc.contributor.author | นวพร ดำแสงสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nawaporn Damsangsawat | th_TH |
dc.contributor.author | แสงดาว จันทร์ดา | th_TH |
dc.contributor.author | Saengdao Janda | th_TH |
dc.contributor.author | ปิ่นนเรศ กาศอุดม | th_TH |
dc.contributor.author | Pinnarate Gadudom | th_TH |
dc.contributor.author | จักรินทร์ สีมา | th_TH |
dc.contributor.author | Jakkarin Seema | th_TH |
dc.contributor.author | นันทพร เตชะประเสริฐสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nantaporn Techaprasertsakul | th_TH |
dc.contributor.author | นภินทร ศิริไทย | th_TH |
dc.contributor.author | Napintorn Sirithai | th_TH |
dc.contributor.author | จุฑามาศ ปิยะวงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jutamas Piyawong | th_TH |
dc.contributor.author | ฐปพร เกษกำจร | th_TH |
dc.contributor.author | Thapaporn Keskamjorn | th_TH |
dc.contributor.author | สุภาภรณ์ ดำรงพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Supaporn Damrongphan | th_TH |
dc.contributor.author | ช่อฉัตร สุนทรพะลิน | th_TH |
dc.contributor.author | Chorchat Soonthornpalin | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-29T08:41:32Z | |
dc.date.available | 2025-01-29T08:41:32Z | |
dc.date.issued | 2567-12 | |
dc.identifier.other | hs3216 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6227 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมพลังชุมชนให้มีศักยภาพในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เชื่อมโยงเป็นระบบสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Health System) และเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจบริบทเฉพาะของชุมชนเมือง ความต้องการด้านสุขภาพ ทุนทางสังคมและกระบวนการที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ระเบียบวิธีการศึกษา โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ใช้ระยะเวลา 18 เดือน (มี.ค. พ.ศ. 2566 - ส.ค. พ.ศ. 2567) ดำเนินการในชุมชนเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวน 17 ชุมชน โดยร่วมกับหน่วยงานองค์กรที่ทำงานใกล้ชิดกับพื้นที่และมีหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนชุมชน (โหนดพี่เลี้ยง) จำนวน 10 โหนด ผลการศึกษา ภายหลังวิกฤตโควิด-19 ชุมชนมีความกระตือรือร้นในการจัดการกับปัญหาความต้องการด้านสุขภาพที่ชุมชนจัดเป็น “วิกฤตสุขภาพ” ที่เป็นปัญหาสุขภาพที่หลากหลายที่ส่งผลต่อสุขภาวะของคนในชุมชน โดยทุนทางสังคม 3 กลุ่ม ที่ชุมชนใช้ในการพัฒนานวัตกรรมระบบบริการปฐมภูมิโดยชุมชน คือ ทุนทางสังคมภายในของชุมชน ได้แก่ ศักยภาพผู้นำและความศรัทธา สำนึกรับผิดชอบร่วมต่อปัญหาของคนในชุมชน และทุนภายในของชุมชน, ทุนทางสังคมภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายภายนอก แหล่งประโยชน์ภายนอกชุมชน, และบริบทที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของคนในชุมชน และวัฒนธรรมความเชื่อพื้นฐาน ทั้งนี้ มีเงื่อนไขที่เป็นปัจจัยสำคัญของศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพของชุมชน คือ ความเข้มแข็งชุมชน โหนดพี่เลี้ยง และ ความร่วมมือและเชื่อมโยงกับหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ โดยที่โหนดพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญ 3 ประการ คือ การพิทักษ์สิทธิ (advocacy) การเอื้ออำนวย (facilitation) และการสนับสนุนในทางเทคนิค (technical assistant) วิจารณ์ ในการยกระดับศักยภาพของชุมชนในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อรับมือกับวิกฤตสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศใหม่ ที่มีจุดเน้นที่เป็นแกนกลางคือ การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนเพื่อชุมชน โดยกลไกความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยพี่เลี้ยงชุมชน หน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีระบบสนับสนุน 5 ระบบ ที่เกิดขึ้นจากการหนุนเสริมของหน่วยงานองค์กรทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ได้แก่ (1) ระบบข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกัน (2) ระบบนโยบายสาธารณะเพื่อการรับมือวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (3) ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่สนับสนุนการร่วมจัดการโดยชุมชน (4) ระบบการพัฒนาศักยภาพชุมชนและพี่เลี้ยงที่สอดคล้องกับความต้องการ และ (5) ระบบสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของแต่ละชุมชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุขมูลฐาน | th_TH |
dc.subject | บริการสุขภาพชุมชน | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Primary Health Care | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | Enhancing the Community’s Capacity to Deal with Health Crises with the Innovations of Primary Care System Management by the Community: Case Study of Communities in Bangkok and Other Provinces | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: The COVID-19 pandemic crisis emphasizes the crucial role of community
empowerment in enabling communities to participate in the Integrated Health System (IHS) and
prepare for dealing with present and future health crises. Thus, it's essential to understand the
context of urban communities, health needs, social capital, and the appropriate processes to
develop the community-led primary care system so communities can encounter local health
crises.
Methodology: This unique Research and Development project, employing Participatory
Action Research over 18 months (March 2023-August 2024), is set in 17 urban communities in
Bangkok and other provinces. It involves 10 organizations, all dedicated to acting as "facilitator
nodes" for communities in their work area.
Result: In the post-COVID-19 era, communities are enthusiastic about dealing with specific
health needs, aka "health crises," which are wide-ranging problems affecting the communities'
well-being. Three groups of social capital enable communities to develop primary care
innovation: internal capital, including leader and trust, community awareness, and community
resources; external capital, including social network and external resources; and the enabling
factors, including the close-knit relationship between the community and the community's
culture and beliefs. Three key factors enhance the community's ability to develop social
innovation: community strength, facilitator node, and collaboration with local primary care units.
The facilitator nodes have three crucial roles: advocacy, facilitation, and technical assistance.
Discussion: A new ecosystem is needed to enhance the communities' capacity to
participate in IHS and engage in present and future health crises. It focuses on providing primary
care service by the community and for the community with the collaboration of the community,
facilitator node, the local primary care units, and the local government. It surrounded by the five
supporting systems provided by the national and local organizations: (1) a system of interoperable
data and information, (2) a system of public policy process for participatory encountering with
health crises, (3) a system of primary care that enhance communities' participation, (4) a system
of human resource development of the communities and facilitator nodes that responsive to
specific needs, and (5) a system of financial and resources support that fit with need and context
of each community. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 66-110 | |
.custom.citation | ปรีดา แต้อารักษ์, Preeda Taearak, วิรุฬ ลิ้มสวาท, Wirun Limsawart, ปรานอม โอสาร, Pranom Aosan, ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล, Siriwat Tiptaradol, พรฤดี นิธิรัตน์, Pornruedee Nitirat, วีรบูรณ์ วิสารทสกุล, Weeraboon Wisartsakul, จารึก ไชยรักษ์, Jaruek Chairak, นวพร ดำแสงสวัสดิ์, Nawaporn Damsangsawat, แสงดาว จันทร์ดา, Saengdao Janda, ปิ่นนเรศ กาศอุดม, Pinnarate Gadudom, จักรินทร์ สีมา, Jakkarin Seema, นันทพร เตชะประเสริฐสกุล, Nantaporn Techaprasertsakul, นภินทร ศิริไทย, Napintorn Sirithai, จุฑามาศ ปิยะวงษ์, Jutamas Piyawong, ฐปพร เกษกำจร, Thapaporn Keskamjorn, สุภาภรณ์ ดำรงพันธ์, Supaporn Damrongphan, ช่อฉัตร สุนทรพะลิน and Chorchat Soonthornpalin. "ยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6227">http://hdl.handle.net/11228/6227</a>. | |
.custom.total_download | 17 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 16 | |
.custom.downloaded_this_year | 17 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 17 | |