แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจโดยการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยสารสาธารณะ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

dc.contributor.authorรภัทภร เพชรสุขth_TH
dc.contributor.authorRaphatphorn Petchsukth_TH
dc.contributor.authorศศิภาส์ อริสริยวงศ์th_TH
dc.contributor.authorSasipa Arisariyawongth_TH
dc.contributor.authorชาญฤทธิ์ ค้าขายth_TH
dc.contributor.authorChanrit Kakhaith_TH
dc.contributor.authorอรนุช พรวรธำรงค์th_TH
dc.contributor.authorOranuch Phornworathamrongth_TH
dc.contributor.authorนิยม มาชมภูth_TH
dc.contributor.authorNiyom Machompooth_TH
dc.date.accessioned2025-02-04T04:26:36Z
dc.date.available2025-02-04T04:26:36Z
dc.date.issued2568-01
dc.identifier.otherhs3232
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6229
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำผลที่ได้ไปออกแบบกระบวนการในการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy, HL) ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ 2) เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสิทธิประโยชน์ การยกระดับการดูแลตามแนวทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ 3) นำผลที่ได้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยสารสาธารณะ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 350 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ตรวจวัดสัญญาณชีพ และตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง Spirometer และวัดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วยเครื่อง Smokerlyzer ประเมินระดับความเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (mMRC) และประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD Assessment Test : CAT score) ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.8 – 1 และวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างใช้อุปกรณ์ในการป้องกันมลพิษโดยสวมหน้ากากอนามัยมากถึงร้อยละ 65.71 2) ระดับความเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความรู้สึกเหนื่อยร้อยละ 76.00 รองลงมามีอาการเหนื่อยง่าย เมื่อเดินเร็วๆ หรือเดินขึ้นทางชัน ร้อยละ 23.71 และมีอาการเหนื่อยเมื่อเดินในพื้นราบช้ากว่าคนที่อายุใกล้เคียงกัน เพียงร้อยละ 0.29 3) พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจร้อยละ 97.14 แต่พบว่าการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ และสัมพันธ์กับจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ดังนั้น ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรนำผลการวิจัยมาใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectทางเดินอากาศหายใจ, โรคth_TH
dc.subjectRespiratory Diseaseth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการตรวจคัดโรคth_TH
dc.titleการประเมินความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจโดยการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยสารสาธารณะ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeThe Risk Assessment of Respiratory Disease by Primary Diseases Screening Test in Motorcycle Taxi Drivers Thanyaburi District Pathum Thani Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aims to: Utilize the findings to design a process for building health literacy (HL) that can effectively promote health behavior changes, Contribute to the formulation of policy benefits and the systematic enhancement of occupational health and safety management, and Provide policy recommendations to relevant agencies. The study sample consisted of 3 5 0 public motorcycle taxi drivers in Thanyaburi District, Pathum Thani Province, selected through systematic random sampling. The research tools included: A personal factor questionnaire, Vital sign measurements, Lung function testing using a spirometer, Carbon monoxide measurement using a Smokerlyzer, Assessment of activity-related fatigue using the modified Medical Research Council (mMRC) scale, and Assessment of daily activity performance for chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients using the COPD Assessment Test (CAT score). The tools were validated, with content validity ranging from 0 . 8 to 1. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and correlation analysis. The research findings revealed that: A significant portion of the sample group, 65.71%, used face masks to protect against pollution. Regarding activity-related fatigue: The majority of participants, 76.00%, reported no fatigue during daily activities.23.71% experienced mild fatigue when walking quickly or uphill. Only 0.29% felt fatigued when walking on flat ground at a slower pace than peers of similar age.Most participants, 97.14%, had no history of respiratory diseases. However, smoking was found to correlate with carbon monoxide levels and the number of cigarettes smoked per day. Therefore, it is recommended that administrators and relevant agencies utilize these findings as a basis for policy recommendations.th_TH
dc.identifier.contactno67-038
.custom.citationรภัทภร เพชรสุข, Raphatphorn Petchsuk, ศศิภาส์ อริสริยวงศ์, Sasipa Arisariyawong, ชาญฤทธิ์ ค้าขาย, Chanrit Kakhai, อรนุช พรวรธำรงค์, Oranuch Phornworathamrong, นิยม มาชมภู and Niyom Machompoo. "การประเมินความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจโดยการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยสารสาธารณะ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6229">http://hdl.handle.net/11228/6229</a>.
.custom.total_download0
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3232.pdf
ขนาด: 14.41Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย