การศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต
dc.contributor.author | ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chanyawee Chaiwong | th_TH |
dc.contributor.author | ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา | th_TH |
dc.contributor.author | Tatchalerm Sudhipongpracha | th_TH |
dc.contributor.author | กุลธิดา กุลประฑีปัญญา | th_TH |
dc.contributor.author | Kunthida Kulprateepunya | th_TH |
dc.contributor.author | อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Atchara Meenasantirak | th_TH |
dc.contributor.author | แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chaemchan Thessingha | th_TH |
dc.contributor.author | เกิดสิริ หงษ์ไทย | th_TH |
dc.contributor.author | Kerdsiri Hongthai | th_TH |
dc.contributor.author | นภชา สิงห์วีรธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Noppcha Singweratham | th_TH |
dc.contributor.author | ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Parun Rutjanathamrong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-02-18T02:42:04Z | |
dc.date.available | 2025-02-18T02:42:04Z | |
dc.date.issued | 2567-12 | |
dc.identifier.other | hs3234 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6231 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในระยะเปลี่ยนผ่านอาจส่งผลให้การดำเนินงานของ กสพ. ในแต่ละพื้นที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่และบทบาทที่พึงประสงค์ของ กสพ. 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์และการดำเนินงานของ กสพ. ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานของ กสพ. ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ใช้กรอบวิธีวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research Method) คัดเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วยจังหวัดน่าน ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของ กสพ. ทั้งจาก อบจ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 106 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาบทบาทหน้าที่ของ กสพ. ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. โดยใช้แนวคิดการประเมิน Modified CIPP Model ในการประเมินกระบวนการทำงานของ กสพ. โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย (Six Building Blocks Plus One:) 6BB+1) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 3 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานของ กสพ. ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. โดยการทบทวนเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา: 1. บทบาทหน้าที่ของ กสพ. พบว่า 1) โครงสร้าง องค์ประกอบ กสพ. แต่ละพื้นที่ปฏิบัติตามตามแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ของสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี 2) บทบาทหน้าที่ ขึ้นอยู่กับแต่ละ กสพ. ตีความตามแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ทั้งฝั่งของ อบจ. และ สสจ. ส่งผลให้แต่ละพื้นที่ปฏิบัติไปตามความเข้าใจของแต่ละพื้นที่ รวมถึงวาระการประชุมที่ไม่ชัดเจน 3) บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of understanding: MOU) ของแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละ กสพ. จึงส่งผลให้การจัดบริการปฐมภูมิแตกต่างกัน 4) กสพ. ยังขาดการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และประเมินผลการปฏิบัติงานของ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอน อย่างไรก็ตามพบว่าบางจังหวัดมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยเข้ามาสนับสนุนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ผลการประเมิน Modified CIPP Model ในการประเมินกระบวนการทำงานของ กสพ. โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย (Six Building Blocks Plus One:) 6BB+1) สำหรับการปฏิบัติที่ดี แต่ละด้าน พบว่า 1) ระบบบริการสุขภาพ (Service Delivery) มีนวัตกรรมการจัดบริการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทรัพยากร มีการจัดสรรงบประมาณในการซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รวมถึงครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการทำงานให้กับ รพ.สต. รวมถึงการกำหนดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นตัวชี้วัดในการดำเนินงานในภาพรวมและของส่วนตัว 2) กำลังคนด้านสุขภาพ (Health workforce) มีคณะอนุกรรมการมาบริหารจัดการด้านบุคลากร มีแผนการพัฒนากรอบอัตรากำลังและการจ้างบุคลากรที่ไม่ได้มีกรอบใน รพ.สต. เข่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดบริการปฐมภูมิได้ 3) ระบบข้อมูลข่าวสาร (Health information system) มีการนำฐานข้อมูลของ รพ.สต. มาสรุปข้อมูลทุกอย่าง (Dashboard) โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการใช้ควบคุมกำกับติดตาม และนำไปสู่การประเมินความดีความชอบ 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Access to essential medicines) ไม่มีความเด่นชัดในการบริหารจัดการ อาจจะเป็นเพราะเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน 5) การเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health financing) มีงบประมาณใน รพ.สต. เพิ่มขึ้น มีการจัดให้มีคณะอนุกรรมการเข้ามาร่วมในการดำเนินการจัดสรรเงินต่อหัวประชากร ด้วยระบบการเงินของ อบจ. ส่งผลให้มีเอกสารและขั้นตอนการดำเนินการที่เป็นไปตามระเบียบของ อบจ. ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในบางประเด็น 6) ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล(Leadership/Governance) การบริหารจัดการขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้นำและบุคคลหลัก (Key person) ของแต่ละพื้นที่ ร่วมกับ อบจ. และ สสจ. มีความคุ้นเคยในการร่วมทำงานกันมาก่อนการถ่ายโอน จึงสามารถผลักดันให้ กสพ. มีการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และ 7) กระบวนการมีส่วนร่วม (Participation) ตามโครงสร้างของ กสพ. ได้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงโดยเฉพาะในภาคประชาชน 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อบทบาทหน้าที่ของ กสพ. ที่สำคัญ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี กรณีที่ 1 อบจ. สามารถดำเนินการได้เอง (มีการระบุให้สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ.) 1. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน 6 คณะการทำงาน ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการด้านบุคลากร 2) คณะอนุกรรมการด้านการเงินการคลัง 3) คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานและการจัดสรรทรัพยากร 4) คณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์ แผนงาน ติดตามและประเมินผล 5) คณะอนุกรรมการด้านบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และ 6) คณะอนุกรรมการด้านการจัดบริการปฐมภูมิ ทั้งนี้สามารถดำเนินได้ตามข้อ (11) ตามแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. โดยให้มีจำนวนคณะกรรมการที่มีสัดส่วนที่เท่าเทียมกันจากทั้ง อบจ. และ สสจ. 2. การตั้งกลุ่มพื้นที่สุขภาพเพื่อรับผิดชอบการประสานงานและกำกับดูแล เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจให้กับผู้ปฏิบัติงาน คณะกรรมการ กสพ. สามารถจัดตั้งขึ้นได้ตามแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ กรณีที่ 2 อบจ. ไม่สามารถดำเนินการได้เอง (ไม่ได้ระบุให้สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ.) ด้านโครงสร้างของ กสพ. ในการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนของคณะกรรมการ กสพ. เพิ่มสำหรับตัวแทนภาคประชาชน ควรให้เป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ด้านสาธารณสุข และตัวแทนที่มาจาก ผอ. รพ.สต. ควรมีเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน รพ.สต. ที่ถ่ายโอน เพื่อให้เกิดการสะท้อนปัญหาได้มากขึ้น และเกิดความเหมาะสมในการบริการจัดการ กรณีที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ 1) ควรมีคู่มือหรือแนวทางการดำเนินงานของ กสพ. ที่ชัดเจนและครอบคลุมการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ และเตรียมความพร้อมรองรับหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินงานที่ได้รับการถ่ายโอน และ 2) ควรมีหลักสูตรฝึกอบรม กสพ. เพื่อการซักซ้อมความเข้าใจของ กพส. เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการไปในทิศทางเดียวกัน สามารถให้มีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันได้ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.title | การศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต | th_TH |
dc.title.alternative | The Roles of the Local Health Committee after Transfer to Sub-district Health Promotion Hospital under the Provincial Administrative Organization: Case Study of Nan, Rayong, Prachinburi, Nakhon Ratchasima, Songkhla and Phuket Provinces | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: The Local Health Committee (LHC) has the duty to promote, support, supervise, and evaluate the performance of the 60th Anniversary Queen Sirikit Health Center (SHC) and the Sub-district Health Promoting Hospital (SHP) that have transferred their responsibilities to the Provincial Administrative Organization (PAO). During the transition period, the operations of the LHC in each area may not be in accordance with the intention of decentralization. Objectives: 1) to examine the roles and desired functions of LHCs; 2) to analyze the current situation and operations of LHCs following the transfer of THPH to PAOs, using case studies in Nan, Rayong, Prachinburi, Nakhon Ratchasima, Songkhla, and Phuket provinces; and 3) to develop policy recommendations for the operations of LHCs after the transfer of THPH to PAOs. Methods: The study employed a case study research design with purposive sampling to select six provinces: Nan, Rayong, Prachinburi, Nakhon Ratchasima, Songkhla, and Phuket. The research was conducted in three stages: (1) a document review of decentralization policies and LHCs roles, involving input from 106 stakeholders and analyzed using content analysis; (2) an assessment of LHCs roles post-transfer, using the Modified CIPP Model and Six Building Blocks Plus One (6BB+1) framework to evaluate work processes and external factors; and (3) the development of policy recommendations for improving LHC operations based on content analysis. Research Findings: 1. The result of the study of the roles and functions of Local Health Committees (LHCs) reveal that: 1) The structure and composition of LHCs in each area adhered to the guidelines provided by the Office of the Decentralization to Local Government Organization Committee, under the Office of the Prime Minister, for transferring the CPHC and THPH to PAOs; 2) the roles and functions of LHCs varied by area, depending on the interpretation of the transfer guidelines by PAOs and Provincial Health Offices (PHOs). This resulted in differing practices across regions, including unclear meeting agendas; 3) The Memorandum of Understanding (MOU) differed across areas, leading to varied practices in primary healthcare service delivery; 4) LHCs lacked consistent promotion, support, supervision, and performance evaluation for CPHC and THPH. However, it was found that some provinces have appointed subcommittees to support the work to make it more efficient. 2. The evaluation results using the Modified CIPP Model to assess the operational processes of the Local Health Committees (LHCs), with an analysis of external factors through the Six Building Blocks Plus One (6BB+1). For good practices in each area, it was found that: 1) The health service delivery system has various innovative service arrangements depending on the readiness of the area, which is influenced by experience and resources. Budget allocation for the purchase of medicines, non-drug medical supplies, and equipment to support the operations of the THPH is provided. Including specifying health services that are consistent with the indicators of the Ministry of Public Health as indicators for overall and personal operations. 2) Health Workforce: Subcommittees managed personnel-related tasks, including workforce planning and hiring of additional staff such as physicians, dentists, and pharmacists to enhance primary healthcare services; 3) Health Information System: Data from THPHs was centralized into a dashboard for monitoring, evaluation, and performance assessment; 4) Access to Essential Medicines: There was limited clarity in managing medical technology during the transition phase; 5) Health Financing: THPH budgets increased, and subcommittees were formed to manage population-based financial allocations using PAO financial systems. However, compliance with PAO regulations caused delays in some processes; 6) Leadership and Governance: Management relied on the experience of key personnel and leaders from PAOs and PHOs, who had prior collaboration experience. This facilitated practical and concrete LHC operations; 7) Participation: While the LHC structure encouraged multi-sectoral participation, public involvement, particularly from community members, remained limited. 3. Policy Recommendations for the Roles and Functions of Local Health Committees (LHCs) Scenario 1: PAOs Can Operate Independently 1) Establishment of 6 sub-committees to support operations, consisting of (1) Personnel Management, (2) Financial and Budget, (3) Infrastructure and Resource Allocation, (4) Strategic Planning, Monitoring, and Evaluation, (5) Management of Medicines and Non-Medicine Supplies, and (6) Primary Health Service Provision. This can be done according to item (11) according to the guidelines for transferring the mission of the Subdistrict Health Promotion Hospital to the PAOs by having an equal number of committee members from both the PAOs and the Provincial Public Health Office. 2) Establishment of health zone groups to be responsible for coordination and supervision in order to promote decentralization of workers. The LHCs can be established according to the guidelines for performing duties in item (2). Scenario 2: PAOs Cannot Operate Independently The structure and composition of the LHCs should be adjusted. Specifically, the qualifications and number of committee members should be clearly defined, with an emphasis on including representatives from the public who possess relevant knowledge or experience in public health. Furthermore, the proportion of sub-district health promotion hospital directors included in the committees should be increased, reflecting the number of transferred health facilities. This would ensure that local issues are adequately represented and addressed, leading to more effective and context-appropriate management. Additional Recommendations: 1) A comprehensive operational manual for the LHCs should be developed. This manual should clearly outline procedures for preparing local health development plans and support the committees in fulfilling their responsibilities, including promoting, supporting, supervising, and evaluating the transferred health services. and 2) training programs for LHCs members should be introduced to standardize understanding and ensure alignment with key principles. Such training should also accommodate the flexibility to adapt management approaches based on the unique contexts of each locality. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 67-064 | |
dc.subject.keyword | คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ | th_TH |
dc.subject.keyword | กสพ. | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | Local Administrative Organization | th_TH |
dc.subject.keyword | Provincial Administrative Organization | th_TH |
.custom.citation | ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, Chanyawee Chaiwong, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Tatchalerm Sudhipongpracha, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, Kunthida Kulprateepunya, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, Atchara Meenasantirak, แจ่มจันทร์ เทศสิงห์, Chaemchan Thessingha, เกิดสิริ หงษ์ไทย, Kerdsiri Hongthai, นภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ and Parun Rutjanathamrong. "การศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา สงขลา และภูเก็ต." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6231">http://hdl.handle.net/11228/6231</a>. | |
.custom.total_download | 7 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 7 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 7 |
![]() | ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2447]
งานวิจัย