Show simple item record

Monitoring Surveys on the Use and Access to Cannabis and Other Drugs, and the Access, Effects, Awareness, and Attitude Towards Cannabis-related Measures in the General Population

dc.contributor.authorวิทย์ วิชัยดิษฐth_TH
dc.contributor.authorWit Wichaiditth_TH
dc.date.accessioned2025-02-19T08:15:46Z
dc.date.available2025-02-19T08:15:46Z
dc.date.issued2568-01
dc.identifier.otherhs3230
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6233
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: โครงการวิจัยนี้เป็นการสำรวจภาคตัดขวาง 3 รอบ (3 waves) โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อบรรยายแบบแผนของพฤติกรรมการใช้กัญชา 2) เพื่อบรรยายวิธีการเข้าถึงกัญชา 3) เพื่อบรรยายผลกระทบจากการใช้กัญชาต่อตนเองและครัวเรือน 4) เพื่อบรรยายการรับรู้โฆษณา-การตลาดของกัญชา การรับรู้และความคิดเห็นต่อกัญชา และมาตรการด้านกัญชาในประเทศไทย 5) เพื่อบรรยายความแตกต่างของความชุกของพฤติกรรมการใช้กัญชา การเข้าถึง ผลกระทบ และการได้รับโฆษณา-การรับรู้-ความคิดเห็นต่อกัญชา ตามลักษณะประชากรศาสตร์และเศรษฐสังคม ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้วิจัยสุ่มพื้นที่ตัวอย่างแบบ stratified two-stage cluster sampling โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของพื้นที่ที่ได้รับการสุ่มเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการติดต่อประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับการสุ่ม ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง (ในกลุ่มอาสาสมัครที่อ่านเขียนภาษาไทยได้) และการสัมภาษณ์แบบต่อหน้า (ในกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้) ผลการสำรวจ: การวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมการสำรวจประมาณรอบละ 2,200 คน จำนวน 3 รอบ รวมประมาณ 6,600 คน ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 30 เคยใช้กัญชาในช่วงชีวิต และร้อยละ 15 เคยใช้กัญชาในช่วง 12 เดือนก่อนการสำรวจ (ผู้ใช้กัญชาปัจจุบัน) วิธีการใช้กัญชาที่พบบ่อยที่สุดในประชากรไทยคือการกินหรือดื่ม ตามด้วยการสูบ ประชาชนไทยร้อยละ 90 สนับสนุนให้มีมาตรการควบคุมกัญชาในลักษณะคล้ายกับมาตรการควบคุมสุรา (เช่น ห้ามใช้กัญชาก่อนขับรถยนต์-รถจักรยานยนต์ ห้ามข้าราชการใช้กัญชาระหว่างปฏิบัติหน้าที่) อภิปรายและสรุปผล: ข้อดีของการวิจัยนี้คือการได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนประชากรไทยโดยทั่วไป การใช้กัญชาในการสำรวจนี้สูงกว่าสมัยสงครามยาเสพติดเป็นอย่างมาก แต่ผลการวิจัยยังขาดรายละเอียดเรื่องการวัด dose ของกัญชา รายละเอียดของวิธีการใช้กัญชา และอิทธิพลของ social desirability bias ในผลการวิจัยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้ การเข้าถึงกัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น ผลกระทบจากการใช้ การรับรู้และความคิดเห็นต่อมาตรการด้านกัญชาในประชากรทั่วไปth_TH
dc.title.alternativeMonitoring Surveys on the Use and Access to Cannabis and Other Drugs, and the Access, Effects, Awareness, and Attitude Towards Cannabis-related Measures in the General Populationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: This project consisted of 3 waves of cross-sectional studies with the following objectives: 1) To describe patterns of cannabis use; 2) To describe access to cannabis; 3) To describe effects of cannabis use to self and households; 4) To describe the exposure to marketig, awareness, and opinions pertaining to cannabis and cannabis control measures in Thailand; 5) To describe differences in prevalence of cannabis use and attitude according to demographic characteristics Methods: Investigators sampled study areas using stratified two-stage cluster sampling. Village health volunteers from primary care centers in sampled areas facilitated the investigators' access to the population aged 20 years or over in sampled areas. Data collectors either asked the participants to self-administer the questionnaires (among those who were literate in the Thai language) and face-to-face interview (among those illiterate in the Thai language). Results: The surveys included approximately 2,200 participants per round in 3 rounds (total = approximately 6,600 participants). Approximately 30 percent of participants used cannabis in their lifetime, and 15 percent used cannabis within 12 months prior to the survey (i.e., current users). The most common method of cannabis use in the Thai population was eating or drinking, followed by smoking. Approximately 90 percent of the participants supported cannabis control measures akin to alcohol control measures (e.g., no driving after cannabis use, prohibition of use by civil servants during duty hours). Discussion and Conclusion: The strength of this study was the population representativeness of the study participants. The cannabis use in this study was significantly higher than the selfreported prevalence during the war on drugs. However, lack of details regarding measurement of cannabis dosage, details regarding use, and the influence of social desirability bias are limitations in the study findings.th_TH
dc.identifier.callnoQV77.7 ว579ก 2568
dc.identifier.contactno66-027
.custom.citationวิทย์ วิชัยดิษฐ and Wit Wichaidit. "การเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้ การเข้าถึงกัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น ผลกระทบจากการใช้ การรับรู้และความคิดเห็นต่อมาตรการด้านกัญชาในประชากรทั่วไป." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6233">http://hdl.handle.net/11228/6233</a>.
.custom.total_download6
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs3230.pdf
Size: 412.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record