Show simple item record

Human Resources for Health: Core Indicators for the National Health Act B.E.2550

dc.contributor.authorฑิณกร โนรีth_TH
dc.contributor.authorThinakorn Noreeth_TH
dc.date.accessioned2025-03-04T08:01:54Z
dc.date.available2025-03-04T08:01:54Z
dc.date.issued2567-12
dc.identifier.otherhs3244
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6241
dc.description.abstractจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 มีเป้าหมายในระยะ 5 ปี เพื่อให้มีการกระจายบุคลากรระหว่างพื้นที่มีความเป็นธรรม มีการปรับการทำงานจากเชิงกายภาพสู่ดิจิทัล และมีระบบการศึกษา การผลิต และการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศ ตลอดจนมีระบบติดตามประเมินผลนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ และการกำหนดมาตรการในการเปลี่ยนแปลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดทำ “ชุดตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพ” ตามธรรมนูญสุขภาพ การจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้ใช้หลักการ AAAQ ได้แก่ 1) มิติความเพียงพอ (Availability) 2) มิติทางด้านการการะจาย (Accessibility) 3) คุณลักษณะความสามารถการให้บริการ (Acceptability) และ 4) คุณภาพ (Quality) และใช้การทบทวนวรรณกรรม การรวบรวบข้อมูล วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของตัวชี้วัดระดับองค์กร ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงใช้กระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Consultative meeting) โดยการศึกษาครั้งนี้กำหนดตัวชี้วัดออกเป็น 4 หมวด รวมจำนวน 13 ตัวชี้วัด จากข้อมูลตัวชี้วัดทำให้สามารถประเมินสถานการณ์แนวโน้มที่เกี่ยวกับกำลังคนด้านสุขภาพ ดังนี้ ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 1 สถานการณ์การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพในปัจจุบัน ศักยภาพของสถาบันการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการผลิตบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายงานพยาบาลและสาธารณสุข ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 2 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ พบถึงความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลตัวเลขผู้สอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือ อัตราการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพไม่เต็ม 100% ของจำนวนบัณฑิตที่จบมาในแต่ละปี ซึ่งสามารถสะท้อนคุณภาพของกระบวนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 3 ปัจจุบันฐานข้อมูลทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพของสภาวิชาชีพ ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าบุคลากรเหล่านั้นยังประกอบวิชาชีพอยู่หรือไม่ (active status) หรือ ทำงานอยู่ที่ไหน การใช้ฐานข้อมูลจากหน่วยบริการ (Facility-based data) และความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายบุคลากรทางภูมิศาสตร์ (Geographical mal-distribution) ยังคงปรากฏอยู่ ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 4 ตัวชี้วัดเชิงมาตรการ หลายมาตรการมีการดำเนินงานอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข แต่อาจจะขาดการบูรณาการจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเอกชน ทั้งในการจัดตั้งกลไกอภิบาลนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ และคณะกรรมการปฏิรูปกำลังคนด้านสุขภาพในภาพรวม รวมถึง Digital platform ในการเชื่อมโยงข้อมูล ที่ผ่านมาแต่ละสภาวิชาชีพมีการพัฒนาฐานข้อมูลสมาชิกของตนเอง ในขณะที่ในระยะ 2-3 ปี ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขพยายามพัฒนาระบบฐานข้อมูลทั้งการบริการ การเงินการคลัง รวมถึงกำลังคนด้านสุขภาพ บนแนวคิด Facility-based ที่ใช้หน่วยบริการเป็นผู้นำเข้าข้อมูล (Input data) ข้อเสนอในเชิงการจัดกลไกการจัดการ ดังนี้ กลไกที่ 1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิชาชีพ (Health workforce registry) โดยการพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานวิชาชีพ (Minimal dataset) กลไกที่ 2 การจัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลหลักระหว่างหน่วยงาน (Data sharing platform) และกลไกที่ 3 การพัฒนาระบบอภิบาลนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่ ที่สามารถดำเนินการได้ในระยะยาว คือ กระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาจัดเก็บ และควบคุมกำกับตัวชี้วัด ให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงข้อมูล (Data sharing platform) และจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลกลางกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ ภายใต้หลักการในการรักษาความลับ (Confidentiality) ของข้อมูล และให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสภาวิชาชีพ เป็นเจ้าภาพหลักในการกำหนดข้อมูลจำเป็นพื้นฐาน (Minimal data-set) และพัฒนามาตรฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับระดับนานาชาติ รวมถึงให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พัฒนาระบบการรายงานข้อมูลผู้ปฏิบัติงานจริงในสถานบริการเอกชน ทั้งในระดับโรงพยาบาลและคลินิก ให้สภาวิชาชีพกำหนดเงื่อนไขคำว่า Active workforce ของตนเอง และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก (Registry) และจัดทำมาตรฐานข้อมูลเฉพาะทาง (Specialty classification) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติ รวมถึงข้อเสนอต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ให้พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลของทุกหลักสูตรในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในทุกมหาวิทยาลัยและในทุกระบบการรับ (Admission) และพัฒนาระบบฐานข้อมูลรายบุคคล (Individual data) รวมถึงให้นำข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ไปวางแผนการผลิตบัณฑิต ให้เกิดความเพียงพอทั้งด้านจำนวนและสมรรถนะที่เหมาะสมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectHealth Personnelth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectHuman Resourcesth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.titleการวิจัยเชิงสังเคราะห์ : การพัฒนาชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพ ติดตาม ประเมินผล เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeHuman Resources for Health: Core Indicators for the National Health Act B.E.2550th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAccording to National Health System Act No. 3 B.E. 2565, the objective is to equally distribute personnel among areas, transition from physical to digital work, and have a system for training, developing, and producing health personnel that can meet the needs of the nation. In addition, there currently should be a system for monitoring and assessing health personnel policies and deciding on corrective measures. The objectives are to provide a report on the state of the Thai health system, develop policy recommendations and initiatives, and create a "set of health personnel indicators" in accordance with the health charter. The AAAQ principle: 1) accessibility, 2) availability, 3) service capability traits (acceptability), and 4) quality was implemented in this project. To analyze the objectives of organizational indicators, strategies, plans, projects, and related activities both domestically and internationally, we utilized the following procedures: examining the literature, gathering data, and listening to expert perspectives. This study divided indicators into 4 categories, totaling 13 indicators. The following assessment of the health workforce's state and trends was made possible through the indicator data: Group 1 Indicator: Current state of health workforce output the country's capacity to produce health workers is growing steadily, and the private sector will contribute more to the recruitment of staff, particularly in the fields of public health and nursing. Group 2 Indicator: Professional registration; there was insufficient information available regarding the number of applicants for the professional registration examination. However, one fact is that the professional registration examination rate is not 100% of the number of graduates each year, which can reflect the quality of the production process to some extent. Group 3 Indicator: The professional council's health professional registration database is currently unable to provide information on these employees' current employment situation or if they are still actively practicing their professions. There is still inequity in the geographic distribution of workers (geographical mal-distribution) and the usage of databases from service units (facility-based data). Group 4 Indicator: The Ministry of Public Health is implementing a number of measures, although it's possible that several associated sectors particularly the private sector are not fully integrated into them. In addition to the general health workforce reform committee, this also entails the creation of digital platforms for data linking and governance mechanisms for health workforce policies at the local and national levels. Since the last two to three years, the Ministry of Public Health has been working to create a database system for services, finance, and the health workforce based on the facility-based concept, where service units are the data input providers. Previously, each professional council created its own member database. The following are the suggested management mechanisms: Mechanism 1: Development of a data system to have a minimum dataset and then building a health workforce registration database system. Mechanism 2: Establishment of a system for a data-sharing platform that can be implemented in the long term. The Ministry of Public Health's Office of the Permanent Secretary's Information Technology Center shall be the primary source of technical assistance in creating a data sharing platform and a central data collection system for the nation's health workforce while adhering to the principle of data confidentiality. The Ministry of Public Health and professional councils will be the primary hosts in defining the minimal data set, or basic essential data, and creating data standards that meet international standards. Including developing a system for reporting actual worker data in private service establishments, both at the hospital and clinic levels, having professional councils set their own terms for the term “active workforce,” developing a registry of member database systems and creating specialist information standards (specialty categorization). Having all professional councils jointly design a method for studying the annual loss rate as a standard, including a proposal to the Ministry of Higher Education, Science, Research, Science and Innovation (MHESI) to develop a data linking system for all curricula in health sciences. In every university and every admission system, develop an individual data database system. Bringing information about user needs is part of it. utilized for graduate production planning in order to generate adequate numbers and suitable performanceth_TH
dc.identifier.contactno67-120
dc.subject.keywordธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3th_TH
dc.subject.keywordตัวชี้วัดด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationฑิณกร โนรี and Thinakorn Noree. "การวิจัยเชิงสังเคราะห์ : การพัฒนาชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพ ติดตาม ประเมินผล เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องกำลังคนด้านสุขภาพ." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6241">http://hdl.handle.net/11228/6241</a>.
.custom.total_download10
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year10

Fulltext
Thumbnail
Name: hs3244.pdf
Size: 5.663Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record