Show simple item record

Kidney Replacement Therapy Policy of Universal Care Scheme in Thailand: Lessons Learned and The Way Forward

dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonth_TH
dc.contributor.authorจิรัฏฐ์ พรรณจิตต์th_TH
dc.contributor.authorJeerath Phannajitth_TH
dc.contributor.authorวิรุฬ ลิ้มสวาทth_TH
dc.contributor.authorWirun Limsawartth_TH
dc.contributor.authorนัชชา ยงพิพัฒน์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorNatcha Yongphiphatwongth_TH
dc.contributor.authorChavarina, Kinanti Khansath_TH
dc.contributor.authorBotwright, Siobhanth_TH
dc.contributor.authorDabak, Saudaminith_TH
dc.contributor.authorจิราธร สุตะวงศ์th_TH
dc.contributor.authorJiratorn Sutawongth_TH
dc.contributor.authorนาตาชา ชวาลาth_TH
dc.contributor.authorNatasha Chawlath_TH
dc.contributor.authorธนัยนันท์ ชวนไชยะกูลth_TH
dc.contributor.authorTanainan Chuanchaiyakulth_TH
dc.contributor.authorจุฬาทิพย์ บุญมาth_TH
dc.contributor.authorChulathip Boonmath_TH
dc.contributor.authorวรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัยth_TH
dc.contributor.authorWanrudee Isaranuwatchaith_TH
dc.contributor.authorธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวีth_TH
dc.contributor.authorThunyarat Anothaisintaweeth_TH
dc.contributor.authorเด่นหล้า ปาลเดชพงศ์th_TH
dc.contributor.authorDenla Paladechpongth_TH
dc.contributor.authorจุฑามาศ ปิยะวงษ์th_TH
dc.contributor.authorJutamas Piyawongth_TH
dc.contributor.authorสุพิชชา ถิตย์เจือth_TH
dc.contributor.authorSupichcha Thitjueath_TH
dc.date.accessioned2025-03-05T03:38:37Z
dc.date.available2025-03-05T03:38:37Z
dc.date.issued2568-01
dc.identifier.otherhs3245
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6242
dc.description.abstractหลักการและเหตุผล : ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage kidney disease, ESKD) เป็นโรคที่คุกคามชีวิตผู้คนจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้มีชีวิตยืนยาว ประเทศไทยเริ่มให้สิทธิในการบำบัดทดแทนไต ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2551 โดยผู้ป่วย ESKD ที่ขอรับบริการล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis; PD) เป็นทางเลือกแรกจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยบางรายที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องร่วมจ่ายค่าล้างไต จน พ.ศ. 2565 กองทุนสุขภาพปรับนโยบายบำบัดทดแทนไตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ป่วยสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาได้ไม่ว่าจะเลือกล้างไตวิธีใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่เกิดขึ้นชวนให้เกิดข้อสงสัยถึงเหตุผลของการปรับนโยบายที่จะสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการได้จริง รวมไปถึงผลกระทบที่จะตามมา วัตถุประสงค์ : เพื่อถอดบทเรียนจากนโยบายบำบัดทดแทนไตของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2551-2565 เพื่อให้เข้าใจถึงสภาวะแวดล้อมและการดำเนินงานของนโยบายบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย สามารถนำไปอ้างอิงเพื่อการวิเคราะห์นโยบายในอนาคตสำหรับประเทศไทยและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางอื่น ๆ อีกทั้งเพื่อสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับสิ่งที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการบรรจุบริการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระเบียบวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) การทบทวนวรรณกรรม 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม 3) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้บริการบำบัดทดแทนไต 4) การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และ 5) การจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อการเรียนรู้นโยบายบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย สำหรับพิจารณาร่างข้อเสนอต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผลการศึกษา : นโยบายบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยการฟอกเลือด (hemodialysis; HD) มากขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วย ESKD เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเดิม 50,478 คน เป็น 68,238 คน เกิดหน่วยบริการ HD ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนมากขึ้น จำนวนและอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตจากการล้างไตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเสียชีวิตในระยะเวลา 90 วัน หลังเริ่มล้างไตด้วยวิธี HD ภาระงบประมาณในการให้บริการบำบัดทดแทนไตของกองทุนสุขภาพเพิ่มขึ้น ขีดความสามารถในการให้บริการ PD ลดลงอย่างรวดเร็ว การเกิดแรงจูงใจทางการเงินที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของอายุรแพทย์โรคไตในการแนะนำเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตและการเลือกหน่วยบริการให้แก่ผู้ป่วย สรุปผลการศึกษา : การปรับเปลี่ยนนโยบายบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 สร้างผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการแพทย์ เศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย สถานพยาบาล และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ อีกทั้งเป็นนโยบายที่ใช้ทรัพยากรมากกว่าแต่ได้ประโยชน์ทางสุขภาพโดยรวมต่ำกว่านโยบาย พ.ศ. 2551 ข้อดีของนโยบายใหม่ประการเดียวคือ การให้โอกาสผู้ป่วยเลือกวิธีการล้างไตได้ทั้ง HD และ PD ตามที่ผู้ป่วยต้องการและตัดสินใจสอดคล้องกับหลักการเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย (patient autonomy) และสามารถลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวิธีการบำบัดทดแทนไตเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิการรักษาของกองทุนการรักษาพยาบาลอื่น ๆ ในประเทศth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Insuranceth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemsth_TH
dc.subjectไตth_TH
dc.subjectบริการทดแทนไตth_TH
dc.subjectRenal Replacement Therapyth_TH
dc.subjectUniversal Coverage Scheme--Thailandth_TH
dc.subjectUniversal Coverage Health Insuranceth_TH
dc.subjectUniversal Coverageth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรังth_TH
dc.titleการถอดบทเรียนเพื่อนําไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนานโยบายการบําบัดทดแทนไตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeKidney Replacement Therapy Policy of Universal Care Scheme in Thailand: Lessons Learned and The Way Forwardth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground End- stage kidney disease ( ESKD) is a life- threatening condition that affects many individuals, requiring kidney replacement therapy ( KRT) to prolong their lives. Thailand began offering KRT under the National Health Security System in 2008. Patients with ESKD who chose peritoneal dialysis ( PD) as their first treatment option received it at no cost, which increased access to KRT for many. However, some patients who did not meet the criteria were required to co- pay for dialysis. By 2022, the healthcare fund revised its KRT policy, allowing patients to claim treatment costs regardless of the dialysis method selected. This policy change raises questions about whether it truly improves service accessibility and its potential impacts. Objective The aim of this study is to draw lessons from Thailand’s KRT policy from 2008 to 2022 to understand the policy environment and its operations. The findings may provide valuable insights for future policy analysis in Thailand and other low- and middle-income countries. Additionally, the study seeks to identify factors that support or hinder the inclusion of KRT services in the National Health Security System. Methods This research adopts a mixed- method approach, combining both qualitative and quantitative techniques. It is divided into five sections: a literature review, in-depth interviews and focus group discussions, analysis of KRT service utilization data, the development of policy recommendations, and the organization of committee meetings to learn from Thailand’ s KRT policy and draft proposals in alignment with the study’ s objectives. Results The 2022 KRT policy resulted in increased access to hemodialysis ( HD) , with the number of ESKD patients rising from 50,478 to 68,238. More private- sector HD service units were established. However, the number and rate of dialysis- related deaths, particularly within 90 days of starting HD, also increased. The financial burden on the healthcare fund for providing KRT services grew, while the capacity to deliver PD services declined rapidly. Financial incentives influenced nephrologists’ decisions in recommending KRT methods and service units to patients. Conclusion The 2022 KRT policy changes had both positive and negative impacts across medical, economic, social, and ethical dimensions, affecting patients, healthcare facilities, and other stakeholders. While it is a resource-intensive policy with fewer overall health benefits compared to the 2008 policy, the main advantage is that it allows patients to choose between HD and PD, aligning with the principle of patient autonomy and reducing disparities in access to KRT when compared to other healthcare schemes in the country.th_TH
dc.identifier.callnoWJ300 ย152ก 2568
dc.identifier.contactno67-067
dc.subject.keywordKidney Replacement Therapyth_TH
dc.subject.keywordESKDth_TH
dc.subject.keywordEnd Stage Kidney Diseaseth_TH
dc.subject.keywordไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายth_TH
.custom.citationยศ ตีระวัฒนานนท์, Yot Teerawattananon, จิรัฏฐ์ พรรณจิตต์, Jeerath Phannajit, วิรุฬ ลิ้มสวาท, Wirun Limsawart, นัชชา ยงพิพัฒน์วงศ์, Natcha Yongphiphatwong, Chavarina, Kinanti Khansa, Botwright, Siobhan, Dabak, Saudamini, จิราธร สุตะวงศ์, Jiratorn Sutawong, นาตาชา ชวาลา, Natasha Chawla, ธนัยนันท์ ชวนไชยะกูล, Tanainan Chuanchaiyakul, จุฬาทิพย์ บุญมา, Chulathip Boonma, วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย, Wanrudee Isaranuwatchai, ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, Thunyarat Anothaisintawee, เด่นหล้า ปาลเดชพงศ์, Denla Paladechpong, จุฑามาศ ปิยะวงษ์, Jutamas Piyawong, สุพิชชา ถิตย์เจือ and Supichcha Thitjuea. "การถอดบทเรียนเพื่อนําไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนานโยบายการบําบัดทดแทนไตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6242">http://hdl.handle.net/11228/6242</a>.
.custom.total_download5
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Thumbnail
Name: hs3245.pdf
Size: 6.313Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record