Show simple item record

การประเมินการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลen_US
dc.contributor.authorวิชุดา โค้วธนพานิชen_US
dc.contributor.authorไท ชาญกลen_US
dc.contributor.authorชัชวาล สิมะสกุลen_US
dc.contributor.authorปาริชาติ พัฒนะเมฆาen_US
dc.contributor.authorอัมรินทร์ ทักขิญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-25en_US
dc.date.accessioned2008-04-17T00:51:19Z
dc.date.available2008-10-25en_US
dc.date.available2008-04-17T00:51:19Z
dc.date.issued2551-10-25en_US
dc.identifier.otherhs1397-1en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/624en_US
dc.descriptionสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.abstractในปี พ.ศ.2535 ประเทศไทยได้ก้าวกระโดดใหญ่อีกครั้งในการปฏิรูประบบการคลังสุขภาพกล่าวคือ การประกาศใช้ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยมีเจตนารมย์เพื่อให้ความมั่นใจว่าประชาชนจำนวนกว่าหนึ่งล้านที่ได้รับบาดเจ็บจากการใช้รถใช้ถนน (ราว100,000 รายต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล) จะได้รับการรักษาพยาบาล ในจำนวนคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งต้องกลายเป็นคนพิการ (กว่า10,000 รายต่อปี) หรือ เสียชีวิต (13,000-15,000 รายต่อปี) พวกเขาและครอบครัวก็จะได้รับการชดเชย ตามกฎหมาย ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บเบี้ยประกันจากเจ้าของรถยนต์ และจ่ายค่าชดเชยให้แก่โรงพยาบาลที่รักษาผู้ประสบภัย ผู้สูญเสียสมรรถภาพ และครอบครัวที่สูญเสียญาติ บทบาทและหน้าที่นี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการประกันภัย กระทรวงการพาณิชย์ การชดเชยให้ผู้ประสบภัยแต่ละกรณีจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะจ่ายให้โดยหลักการที่ไม่คำนึงถึงความถูกผิด และอีกส่วนหนึ่งจะจ่ายให้โดยคำนึงถึงหลักการพิสูจน์ถูกผิด นั่นคือ ผู้ประสบภัยที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุในครั้งนั้นจึงจะมีสิทธิได้รับการชดเชยในส่วนที่สอง การจ่ายค่าชดเชยแบบแรกคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด รายงานฉบับนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งในส่วนของงานทางวิชาการซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2538 เพื่อประเมินสมรรถนะของกฎหมายนี้ ซึ่งต้องใช้วิธีการเข้าถึงหลายอย่างร่วมกันได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การสำรวจหาข้อมูลจากผู้ประสบภัยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้พิการ โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และข้อมูลการดูแลผู้บาดเจ็บ รวมถึงการสอบถาม พูดคุยกับบรรดาเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประสบภัย 16 ปี นับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ค่าเฉลี่ยของการจ่ายค่ารักษาพยาบาลชดเชยให้แก่โรงพยาบาลหรือผู้ประสบภัย(ที่ต้องนอนรพ.) เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 10% ในปี พ.ศ.2538 เป็น 35% ในปีพ.ศ.2551 ในปีเดียวกัน 46% ของผู้พิการได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ประสบภัยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล อุปสรรคในการใช้สิทธิรับค่าชดเชยของผู้ประสบภัย ได้แก่ ความไม่รู้ว่าตนมีสิทธิ ความยากลำบากในการรวบรวมเอกสารเพื่อยื่นขอค่าชดเชย ความหวาดกลัวความผิดทางกฎหมายเพราะตนไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ หรือไม่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตามกฎหมาย ในส่วนของการบริหารจัดการด้านการเงิน หลักฐานจากกรมการประกันภัย เผยให้เห็นว่าตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ผลประกอบการมีกำไรสะสมถึง 10,759 ล้านบาท (ระหว่างปีพ.ศ.2540-2549) ในขณะที่สัดส่วนการจ่ายค่าชดเชยเทียบกับมูลค่าเบี้ยประกันที่เก็บได้สูงเพียง 46% ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานที่ชี้อย่างชัดแจ้งว่าเงินไม่ใช่ปัญหาในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ประสบภัยตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย นอกจากนี้ยังพบว่า 40%ของเบี้ยประกันภัยรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ จึงทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการดำเนินการตามเจตนารมย์ของพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อาจบางทีในเรื่องของประสิทธิภาพการจ่ายค่าชดเชยนี้จะเป็นสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างเมื่อเปรียบเทียบผลประกอบการกับ 1) กองทุนอุบัติภัยทางถนนของประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการเพียง 1/3 ของค่าใช้จ่ายชนิดนี้ในฝ่ายไทย อีกทั้งสัดส่วนการจ่ายค่าชดเชยเทียบกับรายได้ของกองทุนสูงถึง 109% ในปีพ.ศ. 2546 หรือ 2) เปรียบเทียบกับสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการเพียง 0.6% ของรายจ่าย 129,627 ล้านบาทสำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชน 48 ล้านคนในปีงบประมาณ 2551 จึงเป็นที่ชัดเจนว่ายังมีช่องว่างในการพัฒนากฎหมายอีกมาก ซึ่งรายงานนี้ได้เสนอทางเลือกไว้ 2 ทางดังนี้ ทางที่หนึ่งคือการปฎิรูปกฎหมายชนิดถอนรากถอนโคน โดยการยกร่างกฎหมายใหม่แทนฉบับเดิมซึ่ง คณะรัฐมนตรีของอดีตนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ จุลานนท์ ได้ให้ความเห็นชอบ โดยเนื้อแท้แล้ว ข้อเสนอใหม่มีความคาดหวังที่จะนำแนวคิดในระบบการไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดมาใช้โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ดำเนินการเก็บเบี้ยประกัน และกรมบัญชีกลางเป็นผู้ดูแลการจ่ายค่าชดเชยการรักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาล และค่าสินไหมอื่นๆแก่ผู้ประสบภัยหรือครอบครัว เนื่องจากที่ผ่านมากรมบัญชีกลางมีประสบการณ์เกี่ยวกับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลในส่วนของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการที่เสนอนี้คาดว่าจะทำให้ค่าดำเนินการด้านบริหารจัดการลดลงไปเหลือเพียงแค่ 6% ของค่าเบี้ยประกันเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีเงินเหลือมากขึ้นสำหรับจ่ายค่าชดเชยให้ครอบคลุมจำนวนผู้ประสบภัยได้มากขึ้นรวมถึงมูลค่าการชดเชยก็จะได้มากขึ้นอย่างก้าวกระโดดในแต่ละรายด้วย ทางเลือกที่สองคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการตาม พรบ.ฉบับปัจจุบันโดย 1)ตัดทอนค่าบริหารจัดการโดยการเปลี่ยนการเก็บเบี้ยประกันมาเป็นการเก็บภาษีน้ำมันทำนองเดียวกับของประเทศแอฟริกาใต้ และ 2) ก่อตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า หน่วยจัดการค่าชดเชย เหมือนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อสะสางหนี้ค่าชดเชยให้แก่สถานพยาบาลโดยผู้ประสบภัยและสถานพยาบาลไม่ต้องมีภาระด้านเอกสารยุ่งยากดังเช่นในปัจจุบันen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent4482225 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectประกันอุบัติเหตุen_US
dc.subjectผู้ประสบภัยจากรถen_US
dc.subjectผู้ประสบภัยจากรถ--ค่าใช้จ่ายen_US
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535en_US
dc.subjectConsumer Empowermenten_US
dc.subjectInsurance, Accidenten_US
dc.subjectAccident, Traffic--Evaluation Studieen_US
dc.subjectExpenditure, Healthen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeIn 1992 Thailand made another big step in reforming her health care financing system i.e., the promulgation of the Act on Road Accident Victim Protection. This was aimed to ensure that over a million of people suffering from road traffic injuries(100,000 cases need hospitalization) would be promptly taken care of; those becoming disabled(10,000 cases per year) or families of the deceased(13,000-15,000 cases per year) from the injury would be compensated. According to the law, auto-insurance industry was assigned to collect premium from all motor vehicle owners and to pay compensation to hospitals caring for the victims, the disabled and families of the deceased. These roles and functions of the industry were under supervision of the Department of Insurance, Ministry of Commerce. The compensation for each case was divided into 2 parts. The first was paid on no-fault basis. The rest was on fault-basis which meant only victims not found to be responsible for the accident were entitled to the second part. For each type of compensation, the amount of money for the first part was about 1/3 that of the second part. This report is another step of on-going academic contributions commenced in 1995 to shed light on the performance of the law. To do so, it employed a combined approach comprising literature review; cross-sectional surveys on hospitalized victims and on disabled accessed through telephones; analysis of in-patient dataset submitted to the National Health Security Office and injury surveillance dataset; and informal interviews with hospital officers dealing with the compensation for medical care of the victims. 16 years after the law came into effect, coverage of the compensation to the hospitalized victims had increased from under 10% in 1995 to 35% (an estimate for the best case scenario) in 2008. 46% of the disabled were compensated for medical care in 2008. Among hospitalized victims, the barriers to full coverage were identified as ignorance of the entitlement, difficulties in gathering documents demanded for compensation, perceived threats of legal actions on failure to renew vehicle license or to pay the premium. With regard to financial performance, evidence from the Department of Insurance revealed that since the law was in operation a surplus had been accumulated to 10,759 million baths (1997-2006). Regrettably, a loss ratio of 46% on average was recorded for the period. This strongly indicated that the money had been far from adequate to fulfill the aims of the law. In addition, it was found that 40% of the premium went to administration. As a result, it raises a serious question about efficiency in compensating the victims. Probably, the concern on efficiency could be more alarming when the financial performance of the law was compared to 1) that of the Road Accident Fund of South Africa which spent just 1/3 the administrative cost of the Thai counterpart, yet with a loss ratio of 109% in 2003 or to 2) that of the National Health Security Office spending just 0.6% on administration to disburse 129,627 million baths for health care of 48 million people in 2007. Rooms for improvement of the law were, thus, clear. Two alternative approaches were offered. One is a radical approach to replace the existing law with a new proposal endorsed by the Government of former PM Surayut Chulanont. In essence, the new proposal hoped to install a virtually no-fault system in which the premium would be collected by the Department of Land Transport and the payment to be made by the Comptroller General’s Department currently overseeing compensation to hospitals under the Civil Servant Medical Benefit Scheme. Under the proposed system, overall administrative cost would be cut down to just 6% of the premium. As a result, more money would be available to compensate the victims to a much larger extent in terms of % of victims being covered and the amount of compensation in each case. The other approach is to improve efficiency of the operation of the existing law through: 1) cutting down administrative cost by switching to fuel levy instead of the premium collection; and 2) setting up so-called “compensation recovery unit” similar to that of the U.K. to act as a clearing house for the compensation to victims and health care providers.en_US
dc.identifier.callnoWA275 พ979กป 2551en_US
dc.identifier.contactno50ค008en_US
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถen_US
dc.subject.keywordอุบัติเหตุen_US
dc.subject.keywordการจ่ายค่าชดเชยen_US
dc.subject.keywordค่ารักษาพยาบาลen_US
.custom.citationไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชุดา โค้วธนพานิช, ไท ชาญกล, ชัชวาล สิมะสกุล, ปาริชาติ พัฒนะเมฆา and อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร. "การประเมินการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/624">http://hdl.handle.net/11228/624</a>.
.custom.total_download111
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1397-1.pdf
Size: 3.823Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record