แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

หน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี พ.ศ. 2567

dc.contributor.authorสมธนึก โชติช่วงฉัตรชัยth_TH
dc.contributor.authorSomtanuek Chotchoungchatchaith_TH
dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrith_TH
dc.contributor.authorศศิวิมล อ่อนทองth_TH
dc.contributor.authorSasivimol Ontongth_TH
dc.contributor.authorภัทรจิราพร สุโอสถth_TH
dc.contributor.authorPatjirapohn Suosotth_TH
dc.contributor.authorธนพร แพงศรีth_TH
dc.contributor.authorThanaporn Phangsrith_TH
dc.contributor.authorธนินทร์ พัฒนศิริth_TH
dc.contributor.authorThanin Pattanasirith_TH
dc.date.accessioned2025-04-08T03:08:16Z
dc.date.available2025-04-08T03:08:16Z
dc.date.issued2568-03
dc.identifier.otherhs3256
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6258
dc.description.abstractการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ และรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) จัดทำข้อมูลวิชาการ แสดงสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ 2) จัดทำแผนที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจฯ 3) สื่อสารข้อมูลวิชาการให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านกลไก Health System Intelligent Unit (HSIU) และ 4) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย วิธีการดำเนินการโครงการ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาวิจัย ซึ่งมี 2 กิจกรรม คือ (1) การจัดทำแผนที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจของ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. และ (2) การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนบริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หลังการถ่ายโอนภารกิจฯ และ 2) กิจกรรมเพื่อสื่อสารข้อมูลวิชาการผ่านกลไก HSIU มี 4 กิจกรรม คือ การประชุมทีมมดงาน 14 ครั้ง การประชุมคณะทำงาน HSIU 2 ครั้ง การประชุมเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน 2 ครั้ง และการปรับปรุงข้อมูลการถ่ายโอนภารกิจใน Dashboard HSIU ให้เป็นปัจจุบัน ผลการจัดทำแผนที่งานวิจัย พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 67 ฉบับ แบ่งเป็น บทความจากฐานข้อมูล Thai Journal Online (ThaiJO) (28 บทความ) และรายงานการวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) (39 รายงาน) พบว่ากลุ่มประเด็นที่มีการศึกษามากที่สุด ได้แก่ การอภิบาลระบบ 30 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 44.8) รองลงมาคือ ระบบกำลังคนและระบบบริการสุขภาพ กลุ่มประเด็นละ 21 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 31.3) ระบบการคลังสุขภาพ 11 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 16.4) และระบบยา 8 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 11.9) ในขณะที่กลุ่มประเด็นที่มีการศึกษาน้อยที่สุดคือ ระบบข้อมูล จำนวน 6 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 9.0) ประเด็นที่ศึกษาให้ความสำคัญกับโครงสร้าง ปัจจัยนำเข้า และรูปแบบการดำเนินงาน มากกว่าผลลัพธ์ของระบบสุขภาพ เช่น ความมั่นคงทางสุขภาพ ความเป็นธรรมทางสุขภาพ และการตอบสนองของระบบสุขภาพ เป็นต้น จากบทความ/รายงาน 67 ฉบับ ทำการศึกษาใน 55 จังหวัดที่มีการถ่ายโอน โดยมี 8 จังหวัด ที่ยังไม่มีการศึกษา ได้แก่ จันทบุรี นราธิวาส ตรัง ตาก พังงา เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน และยโสธร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบริการของ สอน. รพ.สต. และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนการถ่ายโอน พบว่า จำนวนบริการผู้ป่วยนอก (OP) และ จำนวนบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) ของ สอน. และ รพ.สต. มีแนวโน้มลดลงหลังการถ่ายโอน โดยเฉพาะในปีแรกของการถ่ายโอน โดยกลุ่ม รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ในปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2567 มีจำนวนบริการ OP ลดลงมากกว่าร้อยละ 15 และมีจำนวนบริการ PP ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 ในขณะที่จำนวนบริการ OP และ PP ของ รพช. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม ทั้งที่มี รพ.สต. ในพื้นที่ถ่ายโอนทั้งหมด ถ่ายโอนบางส่วน และไม่ถ่ายโอน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของบริการ ซึ่งอาจมีความแตกต่างหลากหลายไปตามบริบทพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้วิเคราะห์สาเหตุของจำนวนบริการของสอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ที่ลดลงทั้งบริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อพัฒนาระบบการบริการในอนาคต รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพระดับพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินการด้านสาธารณสุขและและผลลัพธ์ของระบบสุขภาพต่อไป และมีข้อเสนอแนะต่อแหล่งทุนวิจัยและนักวิจัย ในการมุ่งเน้นประเด็นวิจัยเกี่ยวกับผลลัพธ์ของระบบสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นความเป็นธรรมด้านสุขภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectPublic Health--Thailandth_TH
dc.titleหน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี พ.ศ. 2567th_TH
dc.title.alternativeHealth System Intelligent Unit (HSIU): the Devolution of Sub-district Health Promoting Hospital to Provincial Administrative Organizations in 2024th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe transfer of the Chaloem Phrakiat 60th Anniversary Nawamintharachini Health Centers (CHCs) and Sub-district Health Promoting Hospitals (HPHs) to Provincial Administrative Organizations (PAOs) marks a significant shift in the primary healthcare system, involving multiple stakeholders. This study aims to monitor the situation of the mission transfer and compile relevant research. The specific objectives include compiling academic data to illustrate the transfer situation, developing a research mapping on the transfer, communicating academic findings to stakeholders through the Health System Intelligent Unit (HSIU) mechanism, and formulating policy recommendations. The study comprises two main components: research and academic communication. The research component involves two key activities: developing a research mapping on the transfer of CHCs and HPHs to PAOs and analyzing outpatient service and health promotion and disease prevention services data following the transfer. The academic communication component supports knowledge sharing through the HSIU’s activities, including 14 meetings with the core working group, two meetings of the HSIU working group, two practitioner network meetings, and continuous updates on the HSIU Dashboard to reflect the latest data on the mission transfer. The research mapping identified 67 relevant studies, including 28 articles from the Thai Journal Online (ThaiJO) database and 39 research reports from the Health Systems Research Institute (HSRI). The most studied topic was health governance, covered in 30 studies (44.8%), followed by human resources and health service systems, each with 21 studies (31.3%). Health financing was examined in 11 studies (16.4%), while pharmaceutical systems were covered in 8 studies (11.9%). The least studied area was health information systems, with only 6 studies (9.0%). Most research has focused on health system components in aspects of structural, input, and operational models rather than health system outcomes, such as health security, health equity, and system responsiveness. Among the 67 studies, research has been conducted in 55 provinces, whereas eight provinces Chanthaburi, Narathiwat, Trang, Tak, Phang Nga, Phetchaburi, Mae Hong Son, and Yasothon have not yet been studied. The analysis of CHCs', HPHs' and community hospitals’ out-patient (OP) and disease prevention and health promotion (PP) visits compared to the pre-transfer period found that OP and PP visits tended to decline after the transfer, particularly in the first year. Specifically, groups of HPHs transferred to the PAO in 2023 and 2024 have shown a reduction in OP visits by more than 15% and a reduction in PP visits by more than 30%. Meanwhile, the number of OP and PP visits at community hospitals has shown an increasing trend across all groups, regardless of whether HPHs in the area were fully transferred, partially transferred, or not transferred. However, further studies are needed to understand the causes and factors contributing to this decline, which may vary depending on the local context. This study recommends that relevant agencies analyze the reasons behind the decline in service volume at transferred HPHs to PAOs, particularly in terms of outpatient services and health promotion and disease prevention services, to improve the healthcare service system in the future. Additionally, it suggests developing a local health information system to monitor public health operations and health system outcomes. Furthermore, recommendations are provided for research funding agencies and researchers to focus on studying health system outcomes, particularly in relation to health equity.th_TH
dc.identifier.contactno67-167
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Administrationth_TH
dc.subject.keywordLocal Administrative Organizationth_TH
dc.subject.keywordProvincial Administrative Organizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
.custom.citationสมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, Somtanuek Chotchoungchatchai, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, ศศิวิมล อ่อนทอง, Sasivimol Ontong, ภัทรจิราพร สุโอสถ, Patjirapohn Suosot, ธนพร แพงศรี, Thanaporn Phangsri, ธนินทร์ พัฒนศิริ and Thanin Pattanasiri. "หน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี พ.ศ. 2567." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6258">http://hdl.handle.net/11228/6258</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month15
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year15

ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3256.pdf
ขนาด: 6.120Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย