แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความเปราะบางและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค (I-walk) และโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุไทยในจังหวัดปทุมธานี (ปีที่ 2)

dc.contributor.authorพัชรี คุณค้ำชูth_TH
dc.contributor.authorPatcharee Kooncumchooth_TH
dc.contributor.authorกรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorKornanong Yuenyongchaiwatth_TH
dc.contributor.authorปิยาภา แก้วอุทานth_TH
dc.contributor.authorPiyapa Keawutanth_TH
dc.date.accessioned2025-04-28T03:16:06Z
dc.date.available2025-04-28T03:16:06Z
dc.date.issued2568-03
dc.identifier.otherhs3252
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6260
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ: ภาวะเปราะบางเป็นภาวะถดถอยของร่างกายที่สามารถพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บป่วยได้ง่าย ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม มีปัญหาทางความจำและการรู้คิด การออกกำลังกายเป็นวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงต่อภาวะเปราะบางได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพร่างกายจึงเป็นข้อจำกัดในการออกกำลังกายหรือการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวและลดภาวะเนือยนิ่ง ทำให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมหรือความสามารถในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันลดลง การเข้าถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระและลดภาวะพึ่งพาผู้อื่น ลดความเสี่ยงต่อความพิการและปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ในการศึกษา: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์คและการออกกำลังกายที่บ้านต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวสมรรถภาพทางกาย ความจำและการรู้คิด ภาวะซึมเศร้า และภาวะโภชนาการภายหลังจากออกกำลังกาย 12 สัปดาห์ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง วิธีการศึกษา: อาสาสมัครที่เป็นผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีแรงบีบมือต่ำและมีความเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง จำนวน 53 คน ถูกสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มควบคุม (n=18) กลุ่มออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค (n=17) และกลุ่มออกกำลังกายที่บ้าน (n=18) โดยกลุ่มออกกำลังกายจะออกกำลังกายเป็นเวลา 60 นาที/วัน 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย ความจำและการรู้คิด สัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ภาวะซึมเศร้าและภาวะโภชนาการจะถูกประเมินก่อนและภายหลังออกกำลังกาย ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ สถิติ twoways mixed model (3x2) และ post-hoc analysis ด้วย Bonferroni test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างก่อนและหลังการออกกำลังกาย รวมถึงศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษา โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการศึกษา: ภายหลังการออกกำลังกาย 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค มีความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดและการเดินทรงตัวดีกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.05, p < 0.05 ตามลำดับ) ความสามารถในการเดินทรงตัวร่วมกับการคำนวณดีขึ้นหลังจากการฝึกเฉพาะในกลุ่มออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค (p < 0.05) ความสามารถในการเดินทรงตัวร่วมกับการนึกชื่อดีขึ้นหลังจากการฝึกในกลุ่มออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์คและกลุ่มออกกำลังกายที่บ้าน (p < 0.05, p < 0.01 ตามลำดับ) หลังออกกำลังกายกลุ่มควบคุมมีความเร็วในการเดินที่เพิ่มขึ้น (p < 0.01) และมีแรงบีบมือมากขึ้น (p < 0.01) อีกทั้งยังพบว่ากลุ่มควบคุมมีความเร็วในการเดินมากกว่ากลุ่มออกกำลังกายที่บ้าน (p < 0.05) อีกทั้งยังพบว่ากลุ่มออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์คสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้า (p< 0.01) และกล้ามเนื้องอและสะโพกมีความแข็งแรงลดลง (p < 0.05) ในขณะที่กลุ่มออกกำลังกายที่บ้านสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อขาทั้งกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและเหยียดสะโพก ( p < 0.01) และกล้ามเนื้องอและสะโพก (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าความจำและการรู้คิดดีขึ้นภายหลังจากการออกกำลังกายในทั้ง 3 กลุ่ม (p < 0.001, p < 0.001, p < 0.001; ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา: การออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์คและการออกกำลังกายที่บ้านสามารถเพิ่มการทรงตัวขณะที่มีการประมวลความคิดและสามารถเพิ่มความจำและการรู้คิดได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์คสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้า ในขณะที่การออกกำลังกายที่บ้านสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้องอและเหยียดขาในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเปราะบางth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectการออกกำลังกาย--ในวัยชราth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสมรรถภาพทางกายth_TH
dc.subjectHealth Promotionth_TH
dc.subjectการออกกำลังกายth_TH
dc.titleความเปราะบางและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค (I-walk) และโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุไทยในจังหวัดปทุมธานี (ปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeFrailty and Its Associated Risk Factors, the Effectiveness of Walking Exercise with I-walk and Home-based Exercise Program on Functional Mobility in Thai Elderly in Pathum Thani Province (Year 2)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeRational and Background: Frailty is a physical decline that can be observed in older adults aged 65 years or older. It results in an increased risk of illness, reduced ability to perform daily activities independently, a higher risk of falling, and potential cognitive issues such as memory and cognitive problems. Exercise is one effective method to reduce the risk of frailty. However, due to physical limitations, older adults often face difficulties in exercising or movement, leading to a sedentary lifestyle. This restricts their opportunities to participate in social activities, impacts their mobility, and reduces their ability to perform daily self-care tasks. Access to appropriate exercise equipment or programs suitable for the older adults’ physical condition can help them live independently, decrease dependence on others, and lower the risk of disability, including health issues related to non-communicable diseases, thereby improving their quality of life. Objectives: To investigate the effectiveness of exercise using the I-walk training machine and home-based exercises on mobility, physical fitness, memory and cognition, depression, and nutritional status after 12 weeks of exercise in older adults with pre-frailty. Method: Thai participants with aged 65 and above, with pre-frailty status, and low grip strength (n = 53), were randomly assigned into 3 groups: the control group (n=18), the I-walk group (n=17), and the home-based exercise group (n=18). The exercise groups participated in 60 minutes of exercise per day, 3 days per week, for 12 weeks. Data on mobility, physical fitness, memory and cognition, body composition, respiratory muscle strength, depression, and nutritional status were assessed before and after the exercise intervention. The data collected were analyzed using a two-way mixed model (3x2) and post-hoc analysis with the Bonferroni test to examine differences before and after exercise, as well as between groups. Statistical significance was set at 0.05. Result: After 12 weeks of exercise, the I-walk group had better cardiovascular endurance and balance compared to the control group (p < 0.05, p < 0.05, respectively). The walking balance with dual-tasks (calculation) improved after training only in the I-walk group (p < 0.05). The walking balance with dual-tasks (word recall) improved after training in both the I-walk group and the home-based exercise group (p < 0.05, p < 0.01, respectively). After the exercise, the control group showed increased walking speed (p < 0.01) and higher grip strength (p < 0.01). Furthermore, the control group had a faster walking speed than the home-based exercise group (p < 0.05). Additionally, the I-walk group showed an increase in inspiratory muscle strength (p < 0.01), whereas hip flexor muscle strength decreased (p < 0.05). The home-based exercise group showed an increase in both knee extensor and hip extensor muscles strength (p < 0.01) and hip flexor muscles (p < 0.05). Moreover, memory and cognition improved after exercise in all three groups (p < 0.001, p < 0.001, p < 0.001, respectively). Conclusion: Exercise using the I-walk training machine and home-based exercises can improve balance during dual-tasks (processing thoughts, enhance memory and cognition). Additionally, exercise with the I-walk training machine can increase inspiratory muscle strength, while homebased exercise can improve the strength of the knee flexor and extensor muscles in older adults with pre-frailty.th_TH
dc.identifier.contactno66-114
dc.subject.keywordI-Walkth_TH
dc.subject.keywordไอวอร์คth_TH
.custom.citationพัชรี คุณค้ำชู, Patcharee Kooncumchoo, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์, Kornanong Yuenyongchaiwat, ปิยาภา แก้วอุทาน and Piyapa Keawutan. "ความเปราะบางและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเครื่องฝึกเดินไอวอร์ค (I-walk) และโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุไทยในจังหวัดปทุมธานี (ปีที่ 2)." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6260">http://hdl.handle.net/11228/6260</a>.
.custom.total_download7
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3252.pdf
ขนาด: 1.316Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย