Show simple item record

การทบทวนสถานการณ์เพื่อนำสู่การร่างธรรมนูญสุขภาพมาตรา 47 (7) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก

dc.contributor.authorประพจน์ เภตรากาศen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-10-25T13:30:41Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:27Z
dc.date.available2008-10-25T13:30:41Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:27Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.issn9789742991210en_US
dc.identifier.otherhs1398en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/626en_US
dc.description.abstractการขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การกำหนดเป็นสาระบัญญัติในธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ได้เริ่มอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการอย่างมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยยึดแนวความคิดสามเหลี่ยมเขยี้อนภูเขาของนายแพทย์ ประเวศวะสี การขับเคลื่อนเริ่มต้นด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ในช่วง พ.ศ. 2542-2544 การเคลื่อนไหวทางสังคมโดยผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพในช่วง พ.ศ. 2544-2548 การยกร่างธรรมนูญแห่งชาติและรับฟังความคิดเห็น ในช่วง พ.ศ.2544-2548 และจากสมัชชาสุขภาพสู่การขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพโดยเครือข่ายหมอพื้นบ้าน ในช่วง พ.ศ. 2544-2550 เมื่อพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550 สาระสำคัญในธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 46 ว่า “ให้ คสช. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ” โดยให้มีสาระสำคัญมาตรา 47(7) ว่า “ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ” เมื่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเตรียมการยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติตามกรอบมาตรา 47 เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพ ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งคณะกรรมการได้แต่งตั้งอนุกรรมการยกร่างสาระสำคัญฯ ตามมาตรา 47(7) เพื่อยกร่างสาระบัญญัติเดี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ การศึกษาและทบทวนสถานการณ์ในบทความนี้ นำเสนอสถานการณ์สำคัญ 2 ส่วน คือ สถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก และสถานการณ์การขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทยแผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2544-2548 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการยกร่างสาระสำคัญฯ ตามมาตรา 47(7) สถานการณ์ทั้ง 2 ส่วน ได้ทำให้เห็นข้อสรุป สภาพปัญหาของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก คือ ระบบสุขภาพของประเทศไทยได้เคลื่อนตัวเข้าสู่การยอมรับระบบการแพทย์แบบพหุลักษณ์ การเติบโตและความเข้มแข็งของระบบสุขภาพภาคประชาชนในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา การฟื้นฟูและการเคลื่อนตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกมีความแตกต่างกัน สุดท้ายได้นำเสนอ หลักกการ ทิศทาง มาตรการ และกลไกในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ซึ่งทั้งหมดมีหลักการร่วมเดียวกัน แต่มีทิศทางและมาตรการแตกต่างกันตามสภาพปัญหาของแต่ละระบบen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.language.isothen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectร่างธรรมนูญสุขภาพมาตรา47 (7)en_US
dc.subjectธรรมนูญสุขภาพen_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพen_US
dc.subjectConsumer Empowermenten_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการทบทวนสถานการณ์เพื่อนำสู่การร่างธรรมนูญสุขภาพมาตรา 47 (7) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB50 พ979กท 2551en_US
dc.identifier.contactno51-027en_US
dc.subject.keywordการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordการขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordสมัชชาสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550en_US
.custom.citationประพจน์ เภตรากาศ. "การทบทวนสถานการณ์เพื่อนำสู่การร่างธรรมนูญสุขภาพมาตรา 47 (7) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/626">http://hdl.handle.net/11228/626</a>.
.custom.total_download114
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1398.pdf
Size: 2.252Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record