dc.contributor.author | อนรรฆ พิทักษ์ธานิน | th_TH |
dc.contributor.author | Anuk Pitukthanin | th_TH |
dc.contributor.author | ศุภเสก วิโรจนาภา | th_TH |
dc.contributor.author | Supasaek Virojanapa | th_TH |
dc.contributor.author | ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย | th_TH |
dc.contributor.author | Kwanpracha Chiangchaisakulthai | th_TH |
dc.contributor.author | ภาสกร สวนเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Passakorn Suanrueang | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-06-30T07:06:44Z | |
dc.date.available | 2025-06-30T07:06:44Z | |
dc.date.issued | 2568-04 | |
dc.identifier.other | hs3268 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6277 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “สถานการณ์และข้อจำกัดเชิงระบบในการดูแลคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อจำกัดเชิงระบบ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มประชากรเปราะบางนี้อย่างเป็นองค์รวม การศึกษาอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง บ้านกึ่งวิถี 2 แห่ง และโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต 10 แห่ง ผ่านการทบทวนข้อมูลเชิงปริมาณและสัมภาษณ์เชิงลึกเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง มีผู้รับบริการรวม 4,047 คน โดยร้อยละ 75 มีภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต และร้อยละ 42 มีปัญหาสุขภาพกายร่วมด้วย การประเมินศักยภาพการฟื้นฟูตามเกณฑ์ Individual Rehabilitation Program (IRP) พบว่าผู้รับบริการร้อยละ 32.99 ต้องการการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (ระดับ C) และมีเพียงร้อยละ 5.78 ที่มีศักยภาพสูงพร้อมคืนสู่ชุมชน (ระดับ A) ข้อมูลจากบ้านกึ่งวิถีสะท้อนว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดด้านทักษะชีวิตและการเข้าสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่าจำนวนผู้ป่วยไร้ที่พึ่งที่ขาดการติดต่อญาติเกิน 30 วันเพิ่มขึ้นจาก 526 คนในปี พ.ศ. 2563 เป็น 1,059 คนในปี พ.ศ. 2567 หรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในระยะเวลา 5 ปี สาเหตุหลัก ได้แก่ การไม่มีผู้ดูแล (ร้อยละ 40.0) การมีคดีความหรือติดสารเสพติด (ร้อยละ 17.7) และการขาดการรักษาต่อเนื่อง (ร้อยละ 13.3) งานวิจัยนี้เสนอแนวทางเชิงนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมระบบวินิจฉัยและคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผ่านการพัฒนาเครื่องมือสังเกตอาการสำหรับครอบครัวและชุมชน การพัฒนาระบบคัดกรองและประเมินศักยภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด การสร้างระบบสนับสนุนระยะหลังและพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนพร้อมการให้บริการ Respite Care เพื่อบรรเทาภาระผู้ดูแล การเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลระยะยาว และการพัฒนาฐานข้อมูลกลางเพื่อการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | คนไร้ที่อยู่อาศัย | th_TH |
dc.subject | Homeless Persons | th_TH |
dc.subject | Homelessness | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช | th_TH |
dc.subject | Psychiatric | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาสถานการณ์และข้อจำกัดเชิงระบบในการดูแลคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | A study of Situations and System Limitations in Caring for Homeless People with Psychiatric Disorders in Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research, titled “The Situational Analysis and Systemic Limitations in the Care of
Homeless or Destitute Individuals with Psychiatric Disorders in Thailand,” aims to study the
current situation, analyze systemic limitations, and propose a comprehensive development
framework for the care of this vulnerable population. The study utilized both quantitative and
qualitative analyses, drawing data from 11 homeless shelters, two halfway houses, and 10
psychiatric hospitals under the Department of Mental Health.
The findings revealed that the homeless shelters accommodated a total of 4,047
individuals, of whom approximately 75% had mental health conditions and 42% had comorbid
physical health problems. The assessment based on the Individual Rehabilitation Program (IRP)
indicated that 32.99% of service users required intensive assistance (Level C), while only 5.78%
demonstrated high potential for reintegration into the community (Level A). Data from the
halfway houses reflected that the majority of residents still had significant limitations in life skills
and social functioning. In psychiatric hospitals, the number of patients classified as "without
family contact for over 30 days" increased from 526 in 2020 to 1,059 in 2024, more than
doubling within five years. The main contributing factors included the absence of caregivers
(40.0%), involvement in legal cases or substance abuse (17.7%), and discontinuation of
psychiatric treatment (13.3%).
This research proposes key policy recommendations, including promoting early diagnosis
and screening of psychiatric patients through the development of simple observation tools for
families and communities; enhancing the system for detailed screening and assessment of
patient capabilities; establishing aftercare support systems and community-based housing
integrated with respite care services to alleviate caregiver burdens; strengthening the capacity of
families and communities for long-term care; and developing a centralized database for
continuous patient tracking and care coordination. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 67-056 | |
dc.subject.keyword | คนไร้บ้าน | th_TH |
dc.subject.keyword | กลุ่มเปราะบาง | th_TH |
.custom.citation | อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, Anuk Pitukthanin, ศุภเสก วิโรจนาภา, Supasaek Virojanapa, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, Kwanpracha Chiangchaisakulthai, ภาสกร สวนเรือง and Passakorn Suanrueang. "การศึกษาสถานการณ์และข้อจำกัดเชิงระบบในการดูแลคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6277">http://hdl.handle.net/11228/6277</a>. | |
.custom.total_download | 19 | |
.custom.downloaded_today | 17 | |
.custom.downloaded_this_month | 17 | |
.custom.downloaded_this_year | 19 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 19 | |