dc.contributor.author | ปรีชา เปรมปรี | en_US |
dc.contributor.author | ฉันทนี บูรณะไทย | en_US |
dc.contributor.author | เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย | en_US |
dc.contributor.author | ถนอม น้อยหมอ | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-11-05T07:12:28Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:14:17Z | |
dc.date.available | 2008-11-05T07:12:28Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:14:17Z | |
dc.date.issued | 2549 | en_US |
dc.identifier.other | hs1405 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/641 | en_US |
dc.description.abstract | การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์และคนตั้งแต่ปลายปี 2546 จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลถึงมกราคม 2549) ได้มีการแพร่ระบาดได้เกิดขึ้นจำนวนสามรอบ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและนานาประเทศเป็นอย่างมาก โดยที่ประเทศไทยมีการสูญเสียด้านการส่งออกสัตว์ปีกมากกว่า 60,000 ล้านบาท และมีผู้ป่วยจำนวน 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย ผลกระทบด้านอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมีความเสียหายเป็นจำนวนมาก มีการทำลายไก่ไปมากกว่า 60 ล้านตัว
ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่ามีความสำเร็จในการดำเนินการควบคุมป้องการแพร่ระบาด องค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จนี้จากการทุ่มเทของภาครัฐ และความร่วมมือของภาคประชาชนในการระบบเฝ้าระวังอย่างเข้มแข็งและมาตรการควบคุมที่จริงจัง
ระบบการเฝ้าระวังในสัตว์นั้นในการระบาดรอบแรกนั้นมุ่งเน้นในการยืนยันเชื้อไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก และการสำรวจสุ่มตัวอย่าง เพื่อใช้ข้อมูลในการควบคุมและการทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่ติดเชื้อ โดยที่การตรวจเชื้อนั้นสามารถทำได้เฉพาะที่ส่วนกลางเท่านั้น เมื่อเกิดการระบาดในรอบที่สองได้มีการเปลี่ยนแนวทางในการเฝ้าระวังโดยใช้ลักษณะทางอาการและการตายมากกว่าร้อยละ 10 ของสัตว์ปีกในพื้นที่ ในการกำหนดพื้นที่การออกมาตรการควบคุมและทำลาย และได้มีการเพิ่มศักยภาพทางห้องปฏิบัติการในระดับภูมิภาคสามารถตรวจสอบยืนยันเชื้อไข้หวัดนกได้ รวมทั้งได้มีการกำหนดมาตรการ x-ray ทุกพื้นที่เพื่อค้นหาแหล่งการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อของไข้หวัด
ระบบการเฝ้าระวังในคน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้จัดทำระบบรายงานเร่งด่วน 24 ชั่วโมงขึ้นเพื่อให้มีการรายงานผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนกได้ทันที โดยที่ทีมเฝ้าระวังเคลื่อนที่เร็วของแต่ละอำเภอจะทำการสอบสวนและควบคุมโรค พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการและรายงานให้ส่วนกลางทราบทันที การเฝ้าระวังเชิงรุกนั้นได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขในทุกพื้นที่ออกสำรวจผู้ป่วยในหมู่บ้าน และการตายผิดปกติของสัตว์ปีกในบ้านที่รับผิดชอบ และรายงานให้กับศูนย์ปฏิบัติการไข้หวัดนกระดับอำเภอ เพื่อการวางแผนควบคุม เนื่องจากโรคไข้หวัดนกได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยแล้ว และยังมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน ซึ่งจะก่อให้เกิดการระบาดที่รุนแรงก่อให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องมีพัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยที่สามารถตรวจการกลายพันธุ์นั้นได้ และต้องมีความถูกต้อง ทันเวลาของข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนควบคุมป้องกัน และความร่วมมือของภาคประชาชน และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.format.extent | 2343560 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรค | en_US |
dc.subject | ไข้หวัดน--การป้องกันและควบคุมโรค | en_US |
dc.subject | การเฝ้าระวังโรค | en_US |
dc.subject | Health Prevention and Control | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | SF 995.6.I6 ป467ก 2549 | en_US |
dc.identifier.contactno | 49ข008-3 | en_US |
dc.subject.keyword | โรคไข้หวัดนก | en_US |
dc.subject.keyword | โรคประจำถิ่น | en_US |
.custom.citation | ปรีชา เปรมปรี, ฉันทนี บูรณะไทย, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย and ถนอม น้อยหมอ. "การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/641">http://hdl.handle.net/11228/641</a>. | |
.custom.total_download | 106 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |