DSpace at Health Systems Research Institute (HSRI): Recent submissions
Now showing items 61-80 of 5431
-
ทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ระยะที่ 3
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-06)การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นการรักษาทางเลือกเดียวในปัจจุบัน ซึ่งมุ่งแก้ไขความพิการทางการได้ยินของผู้ที่มีปัญหาการได้ยินทั้งสองข้างในระดับหูหนวกสนิทได้ แต่เนื่องจากการผ่าตัดชนิดนี้โดยเฉพาะอุปกรณ์ประสาทหูเทียมมีค่าใช้จ่าย ... -
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการทำ Managed Entry Agreement (MEA)
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05)เมื่อยาที่มีราคาแพงหรือยาใหม่ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาที่ยังไม่สมบูรณ์ออกสู่ตลาด จะมีผลกระทบต่อผู้ซื้อบริการสุขภาพในฐานะที่เป็นผู้จ่ายเงินในระบบสุขภาพ การทำข้อตกลงในรูปแบบ managed entry agreement หรือ MEA ... -
การศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการกระจายแพทย์ไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ขาดแคลนหรือห่างไกลในชนบท
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-08-09)เป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษที่รัฐบาลดำเนินนโยบายเพิ่มการผลิตและการทำสัญญาบังคับชดใช้ทุนกับแพทย์ที่จบจากสถาบันของรัฐ แม้ว่าแพทย์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดนโยบายควบคุมการเคลื่อนย้ายแพทย์ที่ได้ผล เป็นเหตุให้มี ... -
การศึกษาหารหัสพันธุกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการติดกัญชาในกลุ่มประชากรไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)จุดประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องการหาการเปลี่ยนแปลงในยีนที่มีความสัมพันธ์กับการติดกัญชาในคนไทย โดยศึกษาในคนไทยที่ติดกัญชา จำนวน 144 คน และคนที่มีประวัติการใช้กัญชาแต่ไม่ติด จำนวน 20 คน ซักประวัติและเก็บเลือดหรือน้ำลายเพื่อไปสกัด ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติในครรภ์ก่อนคลอดในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05)ประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคโครโมโซมผิดปกติ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ในทารกแรกเกิดอยู่ระหว่าง 1 : 800 ถึง 1 : 1,000 โดยพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุของมารดา อย่างไรก็ตามร้อยละ 75-80 ของทารกแรกเกิดที่มีอาการดาวน์นั้นพบว่า ... -
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05)ความชุกของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด โดยมีผู้ที่เป็นพาหะของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 30-40 จึงสามารถประมาณการได้ว่าจะพบผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงรายใหม่ 5,125 คน ... -
ผลระยะยาวของการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิด และวัคซีนรวมที่มีวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ด้วย ในเด็กอายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน ศึกษาในเด็กอายุ 4 และ 5 ปี และการศึกษาระดับภูมิต้านทานและการตอบสนองของภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี หลังให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิด และวัคซีนรวม DTPw-HiB-HB+OPV ที่ 2, 4, 6 เดือน ในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-07)ประเทศไทยเริ่มให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กแรกเกิดทั่วทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2535 และต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนตารางการให้วัคซีนแก่เด็กและในอนาคตองค์การอนามัยโลกจะยกเลิกการให้วัคซีนโปลีโอแบบหยอดเป็นแบบฉีด ... -
รายงานประจำปี 2564 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : สร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนาระบบสุขภาพไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)ถึงแม้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะยังอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดและมีการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง แต่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ก็ยังคงมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านสุขภาพ ... -
ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-08)การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลเมือ ... -
การถอดบทเรียนการดำเนินนโยบายคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-08)นโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน หรือนโยบายสามหมอ เริ่มในปี พ.ศ. 2563 โดยมุ่งเป้าให้คนไทยมีหมอดูแลสุขภาพประจำครอบครัวตั้งแต่ในหมู่บ้าน สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลชุมชนใน ... -
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2565
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2565 ประกอบด้วย บทบรรณาธิการ เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย โดย นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินธ์ โตมาชา และศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย นิพนธ์ต้นฉบับ ... -
สัดส่วนงานของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)จำนวนทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีเพิ่มขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังขาดข้อมูลในแง่ลักษณะงานที่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องรับผิดชอบ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจสัดส่วน ... -
สาเหตุของการส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่องของผู้ประกันตนตามมาตรา 40: การศึกษาเชิงคุณภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบหรือส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง โดยเก็บข้อมูล 2 วิธี คือ 1) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับอาสาสมัครแรงงานและเครือข่ายประกันสังคมตามมาตรา ... -
การบริหารจัดการภาวะวิกฤตในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)โควิด-19 (COVID-19) เป็นวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ของประเทศไทยและของโลก ส่งผลกระทบต่อสถานะสุขภาพของประชาชนไทยทั้งประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลไกและกระบวนการบริหารจัดการของรัฐที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์สำคัญระหว่าง ... -
กรอบบริการฟื้นฟูโดยคนพิการและครอบครัวในศูนย์บริการคนพิการทั่วไปสำหรับความพิการทางสติปัญญา ออทิสติกและการเรียนรู้
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบบริการฟื้นฟูโดยคนพิการและครอบครัวในศูนย์บริการคนพิการทั่วไปสำหรับความพิการทางสติปัญญา ออทิสติก และการเรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาบริการอื่นๆ ที่จำเป็น ... -
รูปแบบการรักษาและประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนสในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์: การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการรักษาของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (tyrosine kinase inhibitors) โดยใช้ข้อมูลจากสถานการณ์จริง และนำมาเปรียบเทียบกับแนวทางก ... -
การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับสิ่งแวดล้อมและนโยบายในประเทศไทย: การทบทวนเชิงวิเคราะห์
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก โดยไม่เพียงลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคไม่ติดต่อ แต่ยังส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มคุณภาพชีวิต ... -
การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้บริโภคในร้านก๋วยเตี๋ยว ภายในอำเภอเมืองลำปาง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพในร้านก๋วยเตี๋ยว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ ประเมินความต้องการโดยส ... -
การแทรกแซงนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศไทยโดยอุตสาหกรรมอาหารผ่านหน่วยงานภาครัฐ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การแทรกแซงของภาคอุตสาหกรรม (industrial interference) เพื่อผลประโยชน์ของตน มีทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลับๆ ในหลายรูปแบบและหลายช่องทาง ทั้งผ่านนักการเมืองระดับสูง สื่อสาธารณะและสถาบันการศึกษา ตลอดจนการติดต่อโดยตรงกับผู้ปฏิบ ... -
การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09)การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use; RDU) คือ การที่ประชาชนได้รับยาที่เหมาะสมกับความจำเป็นด้านสุขภาพในขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง เกิดเป็นค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดต่อตัวผู้ป่วยและสังคม การพัฒนาแนวคิด RDU ให้เป็นนโยบายที่นำ ...