Show simple item record

การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawatsen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:33Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:00Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:33Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:00Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1383en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1156en_US
dc.description.abstractสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เจียดเงินเหมาจ่ายรายหัวในหมวดงบลงทุนเพื่อการทดแทนส่วนหนึ่งมาพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูงด้านโรคมะเร็ง หัวใจ และการบาดเจ็บ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2455 โดยได้ลงทุนในโครงการดังกล่าวไปกว่า 2,000 ล้านบาทในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา (2545-2549) ขณะเดียวกันเพื่อแก้ปัญหากำลังคนในระบบได้มีการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งของงบดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและการจ่ายค่าตอบแทนแก่แพทย์บุคลากรที่ให้บริการโดยตรง จากที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งนานพอสมควรแล้วจึงเห็นควรต้องมีการติดตามประเมินการพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและยุทธศาสตร์ต่อไป การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมิน (1) การบริหารนโยบายและพัฒนาระบบที่ระยะเวลาที่ผ่านมา (2) ศักยภาพและผลผลิตการให้บริการของสถานพยาบาลที่เป็นศูนย์ฯแต่ละด้าน (3) ความเป็นธรรมในการได้รับบริการ และ (4) ผลของการจ่ายค่าตอบแทนโดยตรงแก่บุคลากรของโครงการ โดยอาศัยระเบียบวิธีการประเมินหลายอย่างประกอบกัน คือ การทบทวนเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ การสำรวจเชิงปริมาณ และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารในส่วนกลางและสถานพยาบาล และสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารนโยบายและพัฒนาระบบในระยะเวลาที่ผ่านมาขาดเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหาร ขาดงบประมาณด้านการลงทุน ขาดแคลนบุคลากร (2) ศักยภาพและผลผลิตการให้บริการของสถานพยาบาลที่เป็นศูนย์ฯแต่ละด้านพบว่า การดำเนินงานพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูงด้านโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และการบาดเจ็บ เป็นการพัฒนาศักยภาพของตัวสถานพยาบาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์เฉพาะด้านของทั้งสามโรคเป็นหลัก ทั้งในด้านบุคลากรและเทคโนโลยี ในขณะที่การพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น(3) ความเป็นธรรมในการได้รับบริการพบว่าส่วนใหญ่ใช้บริการในศูนย์ที่ตั้งในเขตเป็นหลัก(4) ผลของการจ่ายค่าตอบแทนโดยตรงแก่บุคลากรของโครงการพบว่าการบริหารงบค่าตอบแทนนั้งยังไม่ชัดเจนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectอนามัย, การบริการth_TH
dc.subjectการบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.identifier.callnoW84 ส616ช 2551en_US
dc.identifier.contactno50-010en_US
dc.subject.keywordExcellence Centeren_US
dc.subject.keywordระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordระบบบริการตติยภูมิชั้นสูงth_TH
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ and Samrit Srithamrongsawats. "การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิชั้นสูง (Excellence Center) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1156">http://hdl.handle.net/11228/1156</a>.
.custom.total_download214
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1383.pdf
Size: 1.832Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record