Show simple item record

The Role and Structure of Primary Care Service System: in the Context of Health Professional and Health Services: Dental Case Study in 5 Areas

dc.contributor.authorสุณี ผลดีเยี่ยมth_TH
dc.contributor.authorSunee Poldeeyiamen_US
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:50Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:34Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0915en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1326en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพทันตกรรม โดยใช้พื้นที่ 5 แห่ง ประกอบด้วย อำเภอเมืองและอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกรณีศึกษา วิธีการศึกษาเป็นการประเมินและศึกษาการดำเนินการจากเอกสาร ร่วมกับการใช้แบบสอบถามความเห็นของวิชาชีพ ผลการศึกษาพบว่า 1. ความหมายและคำจำกัดความ จากกรณีศึกษาทั้ง 5 แห่งพอจะสรุปความคิดเห็นได้ว่า เป็นการให้บริการเบื้องต้นในระดับง่าย เป็นบริการระดับพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนมากนัก เน้นการสร้างสุขภาพที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้เอง ยังขาดในเรื่องเป็นบริการที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่องให้แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม โดยมีระบบการส่งต่อและเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม 2. บทบาทและขอบเขตของวิชาชีพ จากการวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ของวิชาชีพ อาจแบ่งได้เป็นบทบาทใน PCU ทันตแพทย์ที่เวียนออกไปให้บริการเน้นให้บริการถอนฟัน และการจ่ายยาระงับความเจ็บปวด ส่วนทันตาภิบาลที่ประจำใน PCU ให้บริการถอนฟันอย่างง่าย ขูดหินปูน อุดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน เน้นบทบาทด้านการส่งเสริมป้องกันเฉพาะกลุ่มเป้าหมายคือ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็กในศูนย์เด็ก และนักเรียนประถมศึกษา 3. โครงสร้างและรูปแบบของระบบบริการ จากการวิเคราะห์ อาจแบ่งเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ (1) PCU ใน ร.พ. ให้บริการทันตกรรมครอบคลุมทุกอย่าง มีทันตแพทย์เฉพาะทางปฏิบัติงานในบางสาขา (2) PCU ที่มีทันตาภิบาลปฏิบัติงานประจำ ให้บริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟันและเคลือบฟลูออไรด์ และการส่งเสริมป้องกันเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย (3) PCU ที่มีหน่วยจาก ร.พ. เวียนไปให้บริการถอนฟัน ซึ่งการบริหารจัดการที่พบทั้ง 3 รูปแบบนี้ จะขึ้นกับจำนวนเครื่องมือ อุปกรณ์ทันตกรรม และบุคลากรที่มี 4. ชนิดงานบริการสุขภาพช่องปากในระดับปฐมภูมิ ขึ้นกับทรัพยากรและรูปแบบของการจัดบริการปฐมภูมิในพื้นที่ จากผลการปฏิบัติงานของกรณีศึกษาทั้ง 5 แห่ง พบว่ามีการดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายทั้งหญิงมีครรภ์ เด็กในศูนย์เด็กเล็ก นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีข้อสังเกตว่าในระดับ PCU ที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ไม่มีบริการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ตามที่กำหนดไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ ส่วน PCU ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล จะไม่มีบริการใส่ฟันปลอมฐานพลาสติก รักษารากฟันน้ำนม และใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับกลไกและการกำกับมาตรฐานบริการ ส่วนใหญ่ขึ้นกับวิชาชีพ (Clinical Practice Guideline) และตามมาตรฐาน HA ของโรงพยาบาล 5. ความเชื่อมโยงระหว่างวิชาชีพและองค์กรต่างๆ บทบาทการทำงานของทันตกรรมมีบทบาทเชื่อมโยงกับวิชาชีพอื่นในการบริการปฐมภูมิน้อย มีเพียงการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในการการทำงานอนามัยโรงเรียน และมีโรงพยาบาล 1 แห่งที่มีการประสานเรื่องงบประมาณกับ อบต. 6. ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการการจัดบริการ (1) CUP จำเป็นจะต้องจัดให้ทันตบุคลากรทั้งหมดที่รับผิดชอบปฏิบัติงานใน PCU ได้เข้าใจแนวคิดการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน (2) ข้อเสนอเรื่องการให้บริการสุขภาพช่องปากที่ PCU ควรทำ ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมป้องกันเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตัวเอง และต้องมีการดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็กในศูนย์เด็ก และนักเรียนประถมศึกษา ส่วนด้านการรักษาอย่างน้อยควรประกอบด้วย การถอนฟันกรณีปกติ การอุดฟัน และการขูดหินปูน (3) บทบาทของ CUP ด้านบริการสุขภาพช่องปาก รับผิดชอบในการจัดบริการทันตกรรมแก่ประชาชนในความดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ รับการส่งต่อจาก PCU หรือส่งต่อไปสถานบริการที่สูงขึ้น มีการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพช่องปากในเขตรับผิดชอบ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรใน PCU 7.ข้อเสนอบทบาท PCU ด้านบริการสุขภาพช่องปาก (1) ดำเนินการร่วมกับประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพ มีรายละเอียดวิธีการที่หลากหลาย แตกต่างตามพื้นที่ แต่หลักการคือ ต้องรู้จักประชาชนและชุมชน ร่วมเรียนรู้กับประชาชนและชุมชนเรื่องสภาพปัญหา หาสาเหตุและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก สนับสนุนวิชาการ การบริการ การประสานงาน ดำเนินการตามแผนแก้ปัญหาที่ตัดสินใจเลือกจากประชาชนและชุมชน ร่วมประเมินผลการดำเนินการกับประชาชนและชุมชน (2) บริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ หญิงมีครรภ์ เด็กในศูนย์เด็กเล็ก และนักเรียนประถม เน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นผลการปฏิบัติงาน (3) บริการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคในช่องปาก เป็นบริการทันตกรรมขั้นพื้นฐานที่ผสมผสานกับการส่งเสริมป้องกันรายบุคคล ได้แก่ การให้ฟลูออไรด์เสริมในคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การเคลือบหลุมร่องฟัน การทำความสะอาดฟันและขูดหินปูน การอุดฟันชนิดไม่ซับซ้อนและไม่ทะลุโพรงประสาทด้วยวัสดุอุดชนิดถาวร การถอนฟันที่ไม่ซับซ้อน และการบริการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการป้องกันและควบคุมโรคในช่องปาก (4) การปฏิบัติตามบทบาทดังกล่าวควรยืดหยุ่นตามสภาพพื้นที่ และหลายวิธีตามความเหมาะสม 8.ข้อเสนอบทบาท CUP ด้านบริการสุขภาพช่องปาก (1) รับผิดชอบในการจัดบริการทันตกรรมแก่ประชาชนในความดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ ได้แก่ รับการส่งต่อจาก PCU ส่งต่อไปสถานบริการที่สูงขึ้น ในกรณีที่เกินขีดความสามารถตามมาตรฐานสถานบริการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความสะดวก ความจำเป็น ความพึงพอใจของประชาชน และความเหมาะสมในทางเทคนิค (2) การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพช่องปาก รับผิดชอบในการบริหารจัดการบริการสุขภาพช่องปากให้แก่ประชาชนในความรับผิดชอบของ CUP และ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรใน PCU ให้สามารถดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการฝึกอบรมก่อนและระหว่างประจำการ นิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงาน ให้การสนับสนุนทางวิชาการ ศึกษาดูงาน และอื่นๆ 9. ข้อเสนอรูปแบบของการจัดระบบบริการสุขภาพช่องปาก คือ รูปแบบหลักให้มีการจัด CUP เป็นเครือข่ายบริการ ประกอบด้วย หน่วยบริการสุขภาพช่องปากใน ร.พ. และหน่วยบริการสุขภาพช่องปากใน PCU ทั้งนี้ หน่วยบริการดังกล่าวจะมีบทบาทที่ชัดเจน มีการกำหนดบุคลากร เครื่องมือ แนวทางการปฏิบัติงาน การประเมินผล และตัวชี้วัดผลงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพช่องปากทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ ในพื้นที่ที่ยังไม่พร้อม ให้มีรูปแบบอื่นตามความเหมาะสม แต่ประชาชนจะต้องได้รับบริการสุขภาพช่องปากทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นผู้วางแผนและมองในภาพรวม เป็นการวางแผนในระดับประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างกันมากนักในแต่ละพื้นที่ เป็นผู้พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการดำเนินงานในระบบสุขภาพใหม่ ในการนี้จำเป็นต้องพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร มาตรฐานงานและสถานบริการ ระบบบริหารจัดการ ระบบประเมินผลงาน ตัวชี้วัดผลงานและระบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent6281 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPrimary Careen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectบริการปฐมภูมิen_US
dc.subjectทันตกรรม -- ปากen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพทันตกรรม : กรณีศึกษา 5 แห่งth_TH
dc.title.alternativeThe Role and Structure of Primary Care Service System: in the Context of Health Professional and Health Services: Dental Case Study in 5 Areasen_US
dc.identifier.callnoW84.6 ส819ก 2545en_US
dc.identifier.contactno45ค060en_US
.custom.citationสุณี ผลดีเยี่ยม, Sunee Poldeeyiam and วีระศักดิ์ พุทธาศรี. "การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพทันตกรรม : กรณีศึกษา 5 แห่ง." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1326">http://hdl.handle.net/11228/1326</a>.
.custom.total_download195
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs0915.pdf
Size: 15.16Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record