Show simple item record

Health seeking behavior and health promotive development model for temporary constructing labors in Samuthrprakarn province (Under UC Health Assurance Policy) Phase I

dc.contributor.authorอุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorUdomsak Mahaveerawaten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:24Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:24Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1156en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1460en_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางของกลุ่มแรงงานก่อสร้างเคลื่อนที่แบบชั่วคราวที่มีบัตรทอง (30 บาท รักษาทุกโรค) จำนวน 457 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของจำนวนผู้ใช้แรงงานที่กระจายอยู่ตามสถานที่ก่อสร้าง ในแต่ละอำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วง ปี 2546 พบว่าเป็นชาย (71.33%) มากกว่าหญิง (28.68%) อายุส่วนมากอยู่ระหว่าง 21-45 ปี ส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้างในสนามบินสุวรรณภูมิ (55.80%) หมู่บ้านจัดสรร (19.91%) และ โรงงาน (8.75%) ระดับการศึกษาส่วนมากจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (41.23%) ประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 (28.29%) และชั้นมัธยมต้น (17.76%) ค่าแรงที่ได้รับอยู่ระหว่างวันละ 100-200 บาท เหตุที่มาทำงานก่อสร้างเคลื่อนที่ ส่วนมากเป็นเพราะที่บ้านไม่มีงานทำ (48.83%) รายได้ดีกว่าเดิม (33.26%) ว่างจากการทำการเกษตร (20.57%) และมาตามคำชักชวน (14.44%) สถานะทางสุขภาพของตนเองในรอบปีคิดว่ามีสุขภาพดี (73.85%) เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ (16.92%) เช่น เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย และปวดหัว สภาพที่พักอาศัยเป็นห้องเดี่ยวไม่แยกส่วนห้องนอนและห้องครัว เป็นเรือนพักสองชั้น (55.80%) เพิงสังกะสี (33.70%) บริเวณรอบๆ จะมีน้ำขัง มีกลิ่น และเสียงรบกวน มีแมลงและสัตว์นำโรค ร้อนและค่อนข้างอบอ้าว ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง (55.36%) เหล้าและยาดอง (53.61%) ยาชุดจากร้านของชำ (30.42%) และยาซองแก้ปวดเมื่อย (16.85%) เมื่อมีอาการเจ็บป่วยในรายที่ป่วยส่วนมากไปรับบริการและซื้อยาจากโรงพยาบาลใกล้เคียง (59.4%) สถานีอนามัย (21.1%) นอกนั้นเป็นคลีนิกและร้านยาเอกชน ส่วนมากมีความไม่พึงพอใจในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ระยะเวลารอรับบริการนาน และคิดว่าคุณภาพของยาไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ใช้แรงงานส่วนมากมีภาวะโภชนาการดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (71.74%) ภาวะเกิน (17.6%) และภาวะโภชนาการต่ำเล็กน้อย (11.0%) การประกอบอาหารจะทำเองในมื้อเช้าและมื้อเย็น (63.76%, 69.78%) ที่เหลือจะเป็นการซื้ออาหารสำเร็จรูป ผู้ชาย (49.8%) และหญิงบางส่วน (26.9%) มักจะรับประทานอาหารดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ ประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (P=0.03) การพักผ่อนนอนหลับของผู้ใช้แรงงานยอมรับว่าส่วนมากจะเพียงพอ (84.46%) และไม่มีความวิตกกังวลใจ (52.52%) ส่วนมากจะนันทนาการด้วยการดูโทรทัศน์ (63.7%) เกือบทุกวัน ในกรณีที่ไม่สบายใจจะมีที่ใช้ผ่อนคลายคือ เฉยๆ (33.9%) ไปเที่ยวสถานเริงรมย์ กินเหล้าสูบบุหรี่ (24.1%) ส่วนมากไม่ได้ออกกำลังกาย (65.65%) แต่จะมีการทำกิจกรรมตามเทศกาลทางศาสนา (66.52%) อุบัติเหตุในการทำงานส่วนมาก จะเป็นวัตถุของแข็งชนหรือกระแทก (56.52%) ของมีคมบาด (26.96%) และเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา (12.17%) การรับรู้การใช้บริการโดยทั่วไปตามสถานบริการที่สามารถใช้สิทธิรับบริการรักษา (บัตรทอง 30 บาท) เมื่อมาทำงานที่สมุทรปราการทราบว่าสามารถใช้สิทธิได้ที่โรงพยาบาล (53.85%) ไม่ทราบว่าใช้ที่ไหน (21.10%) สถานีอนามัย (13.19%) ส่วนมากไม่เคยใช้บริการรักษาพยาบาล (78.10%) เคยใช้บริการที่โรงพยาบาล (15.71%) สถานีอนามัย (6.19%) ซึ่งในบรรดาที่ใช้บริการไม่มีโอกาสใชัสิทธิ์ 30 บาท เพราะอยู่นอกเขต (44.57%) ไม่ทราบเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ (22.17%) แนวคิดการจัดการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการประชุมระดมสมอง (ZOPP technique) และสนทนากลุ่ม พบว่า น่าจะมีการจัดรูปแบบผสมผสานกันทั้งเชิงรุกและเชิงรับ โดยการมีส่วนร่วมทั้งนายจ้าง ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานประกันสังคม และชุมชน โดยร่วมกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม ตามแต่สถานการณ์และสภาพของพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ การค้นหาและจัดทำระบบทะเบียนแหล่งก่อสร้างและที่พักอาศัยรวมถึงผู้ใช้แรงงาน ระบบการจัดสวัสดิการการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมแบบเชิงรุก การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิ์ของการใชัระบบประกันสุขภาพ สถานที่ที่จะได้รับการบริการตามสิทธิ์ ทั้งในกรณีปกติและจำเป็นเร่งด่วน และสุดท้ายคือการร่วมมือกันเพื่อพยายามผลักดันให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานด้อยโอกาส (Marginal Group) เข้าสู่ระบบประกันสุขภาพที่ควรจะเป็นไปได้และมีอยู่แล้ว เช่น ประกันสังคม และจัดสรรด้านงบประมาณ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ โดยใช้ภาคีร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกันสังคมจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด นายจ้าง และผู้ใช้แรงงาน ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีการระดมทุนเฉพาะกิจเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาเบื้องต้น ในเชิงรุก สำหรับแรงงานก่อสร้างเคลื่อนที่ชั่วคราวเหล่านี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3223022 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาสารคามen_US
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Behavioren_US
dc.subjectSamuthrprakarnen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectสมุทรปราการen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleพฤติกรรมและการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างเคลื่อนที่ในเขตก่อสร้าง จ.สมุทรปราการภายใต้นโยบายการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ระยะที่ 1th_TH
dc.title.alternativeHealth seeking behavior and health promotive development model for temporary constructing labors in Samuthrprakarn province (Under UC Health Assurance Policy) Phase Ien_US
dc.description.abstractalternativeThis cross-sectional survey was conducted among 457 temporary constructing labors in Samuthprakharn province of Thailand to reveal the labors migration movement factors and their health status, health seeking behavior and places, health promotion, health care services utilities, and stake holders brain-storming provision idea for appropriate semi-package model of health promotion. (under Universal Coverage Health Assurance Policy of Thailand) 457 subjects with (UC) golden card provided were proportional random sampling through each six districts of Samuthprakhan Province in 2004. Found that most of labors were males(71.33%)higher amount than females(28.68%), major of age range between 21-45 years, most of them as the labors constructing in Suwannaphume International Airport(55.80%), residential real-estate(19.91%), various type factory/plant(8.75%). The labors educational level were mostly primary school (Prathom 6 = 41.23%, Prathom 4 = 28.29%) and secondary school level(17.76%). Most of income range 100-200 bath per day. Major factors of migration movement to be labors is no employment in their home town(48.83%), higher income (33.26%), leave from after agricultural harvested season(20.57%), and motivated(14.14%). Their self health perception for a year rounded were healthy(73.58%), mild-moderate illness (16.92%) eg. cold, muscle body pain, and headache. Housing style are single compartment rooms (non separation for bedroom and kitchen) in two level stair row house(55.80%), one level stair with zinc-metal-sheet roofing(33.70%). Residential environment condition still being water sewage flood, smelling, insect and other disease animal vehicles, ambient temperature/air seem to be wormy and less ventilation. Labors self medication and drinking were tonic drink(M-150 and Red bull Brand) (55.36%), alcohol and alcoholic herb(53.61%), glossary combined medicine(30.42%) and envelop anti pain(salicylic acid)(16.85%). Incase of sickness, mostly hospital utilization(59.4%), health center(21.1%), other left do the private clinic visiting, and quite unsatisfactory for remedy cost, long waiting time, and less quality of drugs. Labors nutritional status (Body mass Index) mostly be normal level(71.74%), over nutrition(17.6%), and a few are lower than actual status(11.0%). Breakfast and dinner’s labors were self cooking(63.76% and 69.78%), the left were ready cooked purchasing. Males(49.8%) and some of females(26.9%) eat raw and semi-cooked food for 1-2 time weekly(p=0.03). Most labors(84.46%)well enough sleeping, and less anxieties(52.52%) with watching television(63.7%). Incase of bad feeling and stress they do nothing(33.9%) almost every day, go outing to entertainment place and drinking club and smoking (24.1%). 66.65 per-cent of labors did not do physical exercise but seasonal religion practices(66.52%). The most of working accident is pierced/tackled by pieces of material(56.52%), injured by sharpness matters(26.96%), and eye attacked by bouncing matters(12.17%). Their general perception for health services utilization and enable to privilege when being in Samuthrprakhan are Hospital(53.85%), do not know where is(21.10%), village health center(13.19%), but most of them never(78.10%) vise-versa ever for hospital(15.17%), village health center(6.19%), all ever subjects had no chance to golden card declaration(44.57%) due to out of area registered, and do not know about this privilege declaration(22.17%). Brain-storming provision idea among stake-holders by ZOPP Technique session for health promotive modeling and the theme which categorized are : should be setting model of health promotion through all integration sectors and both pertain active and passive activities by counterpart of employer, health services providers, labors, local thambol bureau, social insurance provincial office, and community participatory. The local area status appropriated health promotive modeling such as : constructing area and labors housing finding and registering system, health promotion and active environment management welfare system, UC and golden card privilege information and efficiency communication system included indicate setting area of health services place in case of urgent situation. Finally budget sharing responsibility and fund raising should be responsible with all related sectors above mentioned.en_US
dc.identifier.callnoWA590 อ786พ [2547]en_US
dc.identifier.contactno46ค071en_US
dc.subject.keywordTemporary constructing laborsen_US
dc.subject.keywordThirty Baht Health Care Schemeen_US
dc.subject.keywordกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างเคลื่อนที่en_US
dc.subject.keyword30 บาท รักษาทุกโรคen_US
.custom.citationอุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์ and Udomsak Mahaveerawat. "พฤติกรรมและการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างเคลื่อนที่ในเขตก่อสร้าง จ.สมุทรปราการภายใต้นโยบายการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ระยะที่ 1." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1460">http://hdl.handle.net/11228/1460</a>.
.custom.total_download162
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1156.pdf
Size: 1.667Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record