Show simple item record

The evaluation service system and following up the HIV patient therapy result

dc.contributor.authorรัตนา พันธ์พานิชth_TH
dc.contributor.authorRatana Phanphaniten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:51Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:25:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:51Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:25:11Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1179en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1477en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) ทบทวนกระบวนการนโยบาย และการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขในการขยายบริการยาต้านไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2) ประเมินคุณภาพของระบบบริการยาต้านไวรัสเอดส์ในโรงพยาบาล 3) ประเมินผลที่เกิดขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ทั้งทางด้านคลินิกและด้านสังคมและพฤติกรรม และ 4) ศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผล ของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ เปรียบเทียบโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลระดับจังหวัด การศึกษากระบวนการนโยบายและการดำเนินโครงการ เป็นการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ การประเมินคุณภาพระบบบริการในโรงพยาบาล ใช้วิธีการเยี่ยมสำรวจพื้นที่ โดยสุ่มเลือกเขตละ 1 จังหวัด รวมเป็น 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอยุธยา ลพบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ สุโขทัย น่าน เชียงใหม่ กระบี่ และสงขลา ในแต่ละจังหวัดเลือกโรงพยาบาลประจำจังหวัด 1 แห่ง และสุ่มเลือกโรงพยาบาลชุมชน/ทั่วไปอีก 2 แห่ง รวมโรงพยาบาลทั้งสิ้น 36 แห่ง เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา เจ้าหน้าที่ชันสูตร รวมทั้งการใช้แบบบันทึกและการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลที่เกิดขึ้นในผู้รับยาต้านไวรัสเอดส์ ในด้านสังคมและพฤติกรรม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 การศึกษาผลที่เกิดขึ้นด้านคลินิก ได้แก่ การเกิดโรคฉวยโอกาส การตาย การหยุดยา ปริมาณ CD4 เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกและเวชระเบียนโรงพยาบาล ส่วนการศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ เป็นกรณีศึกษาในโรงพยาบาล 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ต้นทุนรวมของการรักษาในโครงการ ATC ได้แก่ ต้นทุนการบริการที่คลินิกยาต้านไวรัส ต้นทุนยาต้านไวรัสเอดส์ และต้นทุนของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลจากบันทึกรายงานของโรงพยาบาล และการสัมภาษณ์ และคำนวณสัดส่วนต้นทุน-ร้อยละประสิทธิผล จากข้อมูลดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าการจัดสรรยาต้านไวรัสเอดส์ภายใต้โครงการ ATC ในปีงบประมาณ 2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายบริการแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยได้กำหนดเป้าหมายจำนวน 50,000 ราย พบว่า ในระยะเวลา 7 เดือนแรกของการดำเนินนโยบาย มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เข้ามารับยาใหม่ ในอัตราผู้รับยาใหม่แต่ละเดือนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว จำนวน 33,381 ราย หรือร้อยละ 66.7 เมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขสะสมของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ซึ่งพบว่าหลังจากนั้นต่อมา มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีเหตุให้ต้องหยุดยาและออกจากโครงการ ทำให้จำนวนผู้ที่รับยาจริงมีอยู่ 29,549 ราย หรือร้อยละ 59 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย ผลการศึกษาต้นทุนพบว่า ต้นทุนค่ายาต้านไวรัสเอดส์ เป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 60-80 ของต้นทุนรวมทั้งหมดของการบริการ ยาสูตรพื้นฐานที่ใช้ในโครงการ ATC ซึ่งได้แก่ GPO-Vir จะมีต้นทุนค่ายาที่ต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับยาต้านไวรัสสูตรอื่นๆth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipกรมควบคุมโรคen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectQuality of Health Careen_US
dc.subjectHealth Services Accessibilityen_US
dc.subjectAcquired Immunodeficiency Syndromeen_US
dc.subjectCost and Cost Analysisen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพบริการen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectการประเมินผลen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลการพัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe evaluation service system and following up the HIV patient therapy resulten_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to 1) to review the policy and process of implementation for provision of antiretroviral therapy, 2) to assess quality and adequacy of hospital services for ARV provision. 3) to assess the effects on health and behavior of people with HIV/AIDS receiving ARV and 4) to study costs and cost-effectiveness for provision of ARV therapy comparing between provincial and district hospitals. The study conducts the documents relevant to national HIV policy was analyzed, and in-depth interview was performed with people responsible for ATC project. The 12 provinces stratified by region were randomly selected: Ayutthaya, Lopburi, Prajinburi, Prajuabkeyrekhun, Surin, Udonthani, Aumnartchareon, Sukothai, Nan, Chiang Mai, Krabi and Songkla. In each province, a provincial hospital was purposively selected and two district hospitals were randomly selected. The total numbers was 36 hospitals. The hospital visits was performed by the research team to assess quality of services for ARV. Practice guidelines, record form, and documents relevant to ATC project were reviewed. Focus group discussions and individual interviews were conducted with hospital personnel including doctors, nurses, counselor and laboratory technician, who provide care for people with HIV/AIDS. The hospital records of people enrolled in the ATC project during the fiscal year 2003 were reviewed. Survivals, incidence of opportunistic infections, clinical failure, changes of CD4 cell count at six months after treatment initiated, were analyzed. People with HIV/AIDS who currently receives ARV treatment were interviewed for their perceptions on health status, adherence, social and behavior impacts of ARV medication. The costs and cost-effectiveness study was conducted in three hospitals in Chiang Mai province. The overall cost of ARV provision was a combination of provider cost at ARV clinic, laboratory cost, ARV drug cost and patients cost. The overall costs/person/year and cost-effectiveness were analyzed. Results found that at present, after seven months of expansion of existing ATC project to reach the target of 50,000 in the year 2004, an average enrollment of new cases was 5 percent per month. The 33,381 people with HIV/AIDS were enrolled and this was about 66.7 percent of the project target. However, a number of people were with some reason dropout from the project and 29,549 people remained in the project during this period of time The cost of ARV drugs was approximately 60-80 percent of overall costs of ARV services. The fundamental ARV formula in the ATC project was GPO-Vir which was cheapest compared to the others.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ร375ก 2547en_US
dc.identifier.contactno47ค004en_US
dc.subject.keywordAntiretroviral Therapyen_US
dc.subject.keywordHIV patient therapyen_US
dc.subject.keywordระบบบริการen_US
dc.subject.keywordยาต้านไวรัสเอดส์en_US
.custom.citationรัตนา พันธ์พานิช and Ratana Phanphanit. "การประเมินผลการพัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1477">http://hdl.handle.net/11228/1477</a>.
.custom.total_download156
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1179.pdf
Size: 1.463Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record