Show simple item record

Social organization and the development of Tambon Civil Society : a case study on Ubonrat District, Khon Kaen Province

dc.contributor.authorนงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์en_US
dc.contributor.authorNongluck Suphanchaimaten_US
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำen_US
dc.contributor.authorธนพรรณ ธานีen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:08Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:41Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:08Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:41Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0712en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1514en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกระบวนการเกิดประชาคมตำบลและองค์กรทางสังคมในชุมชนตำบลทุ่งโป่งและตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ปฏิบัติงานพัฒนาในพื้นที่ สนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน และสัมภาษณ์ประชาชนโดยใช้แบบสอบถาม โดยเลือกประชาชนจากครัวเรือนที่มีฐานะแตกต่างกันในชุมชนและไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ องค์กรในชุมชน สัมภาษณ์ทุกหมู่บ้าน ๆ ละ 9 ครอบครัว จำนวนรวม 180 ครอบครัว พบว่าวิถีชีวิตชุมชนชนบทมีความเป็นประชาคมในระดับหมู่บ้าน ความเชื่อมโยงของชุมชนตามแนวประชาคมในระดับตำบลโดยพื้นฐานในมิติของศาสนาวัฒนธรรมและเครือญาติ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการเกิดประชาคมตำบลเกิดขึ้นไม่นาน ได้แก่ การกระจายอำนาจการปกครองและการจัดการทรัพยากรสู่ชุมชน ปัจจัยภายในชุมชนที่เอื้อต่อการเกิดประชาคมตำบลคือ ระบบเครือญาติโดยเฉพาะทางญาติฝ่ายหญิง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีเศรษฐกิจพอเพียง การรวมกลุ่มชาวบ้าน เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีผู้นำชุมชนดี ในทั้งสองชุมชนมีประชาคม แต่เป็นคนละระดับ องค์กรทางสังคมในชุมชนส่วนใหญ่จัดตั้งโดยรัฐเหมือนกันทั้งสองตำบล องค์กรที่มีเครือข่ายทำงานชัดเจนเหนือระดับหมู่บ้านคือ อสม. และ อบต. ลักษณะการทำงานของทั้งสององค์กรเป็นไปตามกรอบของทางราชการ ในปัจจุบันแม้องค์กรเหล่านี้จะเป็นที่ยอมรับของชุมชน แต่ยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านการใช้ทรัพยากรของชุมชน เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนจากการเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ความขัดแย้งและการขาดการประสานงานระหว่างกลุ่มเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ประชาคมตำบลอ่อนแอดังเช่นกรณีตำบลโคกสูง ส่วนตำบลทุ่งโป่งมีปัจจัยที่ช่วยให้เกิดประชาคมที่ชัดเจนกว่า เช่น สภาพชุมชนที่ยังคงเป็นภาคเกษตร ไม่มีความขัดแย้งเรื่องการใช้ทรัพยากรรุนแรง อบต.สามารถประสานงานในแนวราบได้ดี เนื่องจากผู้นำ อบต.และสมาชิกได้รับประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์กรภายนอก เช่น โครงการพัฒนาชุมชนยั่งยืนฯ และเครือข่าย ทำให้ อบต.มีการประชุมต่อเนื่อง มีการกำหนดกิจกรรมและประสานผลงาน จัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะของชุมชน ทำให้เกิดการประสานงานในแนวราบได้ จนสามารถแก้ปัญหาแหล่งน้ำของตำบลได้โดยประชาชน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเกิดประชาคมในตำบลทุ่งโป่ง จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า พื้นฐานประเพณีวัฒนธรรมอีสาน และระบบเครือญาติเป็นพื้นฐานสำคัญที่เอื้อให้เกิดประชาคมตำบลในสภาวะปกติของชุมชนเกษตร แต่กลับไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งของชุมชนได้ องค์กรชุมชนต้องสร้างระบบการทำงานที่มีการประสานงานในแนวราบ มีการบริหารจัดการและโปร่งใส กระบวนการตัดสินใจแบบประชาธิปไตย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ดีก็เมื่อประชาชนสำนึกว่ากิจการสาธารณะคือภารกิจของตนด้วยen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectประชาสังคมด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.titleองค์กรทางสังคมกับการพัฒนาประชาคมตำบล : กรณีศึกษาอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นen_US
dc.title.alternativeSocial organization and the development of Tambon Civil Society : a case study on Ubonrat District, Khon Kaen Provinceen_US
dc.description.abstractalternativeSocial organization and the development of tambol civil society:a case study on Ubonrat district , Khon kean provinceThis study is a comparative study of the development of civil society in two sub-districts, Tung Pong and Kong Sung in Ubonrat District Khon kane Thailand. Using an analytic research approach, data were gathered by key informant interviews, community leaders' group discussion and compact questionnaires. It was found that civil society have been existed at village level and closely related to cultural and mythical belief. Civil action and linkge at the sub-district or "Tambon" level were also existed through kinship and cultural beliefs. External factors which facilitate civil society at tambon level are the country's administrative reform of decentralization and the new constitution which recognize the community rights in resource management. Internal factors are undamentally endowed and related to matri-archal kinship system, indigenous knowledge, sufficient economy, people organization, good leader and interactive learning. In both tambons, there were similar formal groups supported by the government. Tambon organization and a group of village health volunteers were foremost accepted by the people. The two groups appeared to have good communication network above village level. Both organizations were dependent on external funding and bureaucratically supervised. The change from agricultural to industrial based community as found in Tambon Kok Sung became an importance condition the weaken traditional civil society in the area.There are exists conflicts of land and water uses. This conflict has not been concertedly solved by existing people organizations including Tambon Administrative Organization. In contrary, Tambon Tung Pong has remained agricultural based without serious resource management problem and socially knitted by kinship. Tambon civil society in this case was strengthened by interactive learning process, people participation and progressive leaders. Experiences learned from working with the NGO in the community enable Tambon leaders to modify their way of communication through series of meeting planning and evaluation. Water management system which has been totlally run by villagers was a unique example of people civil society of this Tambon. As a result it was found that Tambon Tung Pong were more serene and self sufficient as compared to Tambon Kok Sung. Example drawn from this study suggested that existing culture and mythical belief as well as kinship were supporting civil society in the rural community under normal and agricultural condition but it was not enough to tackle emerging conflicts along the path of development. Existing people organization and interest groups need to develop interactive communication systems, good management and transparency and democratic decising making. All these can only come about when people realized that public issues are, in deed, individual concernsen_US
dc.identifier.callnoHM101 น12อ 2542en_US
dc.subject.keywordCivil Societyen_US
dc.subject.keywordTambon Administrative Organizationen_US
dc.subject.keywordCommunity Empowermenten_US
dc.subject.keywordCommunity Organizationen_US
dc.subject.keywordประชาคมen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนตำบลen_US
.custom.citationนงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์, Nongluck Suphanchaimat, ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ and ธนพรรณ ธานี. "องค์กรทางสังคมกับการพัฒนาประชาคมตำบล : กรณีศึกษาอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1514">http://hdl.handle.net/11228/1514</a>.
.custom.total_download40
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0712.PDF
Size: 4.531Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record