Show simple item record

Sexual knowledge, attitude and behavior of primary and secondary education school students

dc.contributor.authorวัชระ เอี่ยมรัศมีกุลen_US
dc.contributor.authorWatchara Aiumrasamikulen_US
dc.contributor.authorประทุม หงศาลาen_US
dc.contributor.authorบังอร สิมสีแก้วen_US
dc.contributor.authorจุรีรัตน์ สุขประเสริฐen_US
dc.contributor.authorละเมียด สิงห์ธีร์en_US
dc.contributor.authorชุติมา ปัตลาen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:26Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:42Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:26Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0707en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1595en_US
dc.description.abstractความรู้ เจตคติและพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ เจตคติและพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมและมัธยมศึกษา ประชากรที่ศึกษาคือนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ป.5) ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2542 จำนวน 5956 คน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ป.5-6 ม.1-3 และ ม.4-6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามที่จัดทำขึ้น 2 ชุดซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศึกษา 2 ท่านและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา 2 ท่าน เพื่อใช้สำหรับ ป.5-6 และสำหรับ ม.1-6 และ (2) แนวคำถามสำหรับการสัมมนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก 3 ชุดสำหรับ ป.5-6 ม.1-3 และ ม.4-6 เลือกตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถามโดยวิธีการเลือกตัวอย่างกลุ่มหลายชั้น จำนวนตัวอย่าง ป.5-6 จำนวน 358 คน ม.1-3 จำนวน 372 คน ม.4-6 จำนวน 343 คน รวม 1073 คน คิดเป็นร้อยละ 18.0 ของประชากรและเลือกตัวอย่างสำหรับสัมมนากลุ่มย่อยและสัมภาษณ์เชิงลึกโดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบหลายมิติ จำนวนตัวอย่างสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ ป.5-6 จำนวน 24 คน ม.1-3 จำนวน 12 คน และ ม.4-6 จำนวน 12 คน รวม 48 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 41.8 เพศหญิงร้อยละ 58.2 อายุเฉลี่ย 14.0 ปี คะแนนความรู้ด้านเพศศึกษาของ ป.5-6 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.5 (95%CI: 46.8-52.3) ม.1-3 ร้อยละ 44.3 (95%CI: 40.2-48.4) และ ม.4-6 ร้อยละ 61.8 (95%CI: 58.6-64.9) โดยความรู้ของ ป.5-6 ที่น้อยที่สุดคือความรู้ด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์ ส่วนความรู้ของ ม.1-3 และ ม.4-6 ที่น้อยที่สุดเหมือนกันคือความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เจตคติทางเพศในประเด็นว่าใครควรเป็นผู้สอนเรื่องเพศศึกษามาก ที่สุด พบว่า ป.5-6 เห็นว่าแพทย์พยาบาลควรเป็นผู้สอนมากที่สุดร้อยละ 68.4 (95%CI: 61.5-75.4) ม.1-3 เห็นว่าแพทย์พยาบาลควรเป็นผู้สอนมากที่สุดร้อยละ 62.1 (95%CI: 55.2-69.0) ม.4-6 เห็นว่าแพทย์พยาบาลควรเป็นผู้สอนมากที่สุดร้อยละ 56.9 (95%CI: 51.5-62.2) รวมนักเรียนเห็นว่าแพทย์พยาบาลควรเป็นผู้สอนมากที่สุดร้อยละ 62.5 (95%CI: 58.8-66.3) เจตคติทางเพศเกี่ยวกับรูปแบบบริการคุมกำเนิดที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น (เฉพาะ ม.1-6) พบว่า ม.1-3 เห็นว่าไม่ควรมีร้อยละ 53.2 เห็นว่าควรมีร้อยละ 18.0 ม. 4-6 เห็นว่าไม่ควรมีร้อยละ 59.2 เห็นว่าควรมีร้อยละ 23.6 รวมนักเรียนเห็นว่าไม่ควรมีร้อยละ 56.1 เห็นว่าควรมีร้อยละ 20.7 และความคิดเห็นต่อรูปแบบบริการอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น (เฉพาะ ม.1-6) นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบการให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์พยาบาลเหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 64.1, 95%CI: 60.5-67.7) เจตคติทางเพศในประเด็นว่าถ้าวัยรุ่นตั้งครรภ์ในขณะไม่พร้อมหรือไม่ตั้งใจจะดำเนินการอย่างไร (เฉพาะ ม.1-6) พบว่า ม.1-3 เห็นว่าควรปรึกษาบิดามารดาผู้ปกครองร้อยละ 49.7 รองลงมาคือแพทย์พยาบาลร้อยละ 25.5 ม. 4-6 เห็นว่าควรปรึกษาบิดามารดาผู้ปกครองร้อยละ 58.6 รองลงมาคือแพทย์พยาบาลร้อยละ 23.0 รวมนักเรียนเห็นว่าควรปรึกษาบิดามารดาผู้ปกครองร้อยละ 54.0 รองลงมาคือแพทย์พยาบาลร้อยละ 24.3 ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมทางเพศพบว่า ป.5-6 เคยมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 1.1 ม.1-3 ร้อยละ 1.1 และ ม.4-6 ร้อยละ 5.2 รวมนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 2.4 โดยสัดส่วนของนักเรียนหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์เมื่อระดับชั้นสูงขึ้นมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น จากผลการศึกษานี้ชี้บ่งว่าควรมีการปรับปรุงการสอนเพศศึกษาในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก การจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์ในลักษณะการให้คำปรึกษาอาจมีความเหมาะสมและควรมีการสำรวจความพร้อมของบิดามารดาผู้ปกครองในการให้คำปรึกษากรณีเด็กวัยรุ่นตั้งครรภ์ในขณะไม่พร้อมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent4605211 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectSex Behavioren_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.titleความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeSexual knowledge, attitude and behavior of primary and secondary education school studentsen_US
dc.description.abstractalternativeSexual knowledge, attitude and behavior of primary and secondary education school studentsThis survey aimed to explore knowledge, attitude and behavior of primary and secondary education school students. The sampled population was the students from "pathom" or "po" 5 (late primary school-about 11 years old) through "matayom" or "mo" 6 (late secondary school-about 18 years old) at Phanomphrai district, Roi-Et province, Northeast of Thailand, in academic year 1999. The subjects were stratified into 3 groups, according to education levels, i.e. po 5-6, mo 1-3 and mo 4-6. Two multiple-choice questionaries were, after approved by 4 experts in sexology and in education, used separately, one for po 5-6 and another for mo 1-6 group, for quantitative survey. Three discussion guidelines were developed and used for each group. Among a total of 5956 students, 1073 (18.0) : The result of attitude towards who is the most suitable for teaching sexual education reveals that most po 5-6 group prefered a doctor or a nurse. This result corresponds to mo 1-3 (62.1%, 95%Cl: 55.2-69.0)and mo 4-6Z56.9%, 95%Cl:51.5-62.2), and 62.5%Z95%Cl: 58.8-66.3) of all students think so.The attitude towards should school reproductive health services be provided, survey only among mattayom students (mo 1-6), reveals that 53.2 % of mo 1-3, 59.2 % of mo 4-6 and 56.1 % of all mattayom students did not agree. On the other hand, 18.0 % of mo 1-3, 23.6 % of mo 4-6 and 20.7 % of all mattayom students agreed. Most of the students agree that counselling clinic in school by a doctor or nurse or health personnel would be most suitable (64.1 %, 95%CI: 60.5-67.7). The attitude towards what to do first if unwanted pregnancy occurs, survey only among mo 1-6, reveals that 49.7 % of mo 1-3 group would tell their parents and 25.5 % would consult a doctor or a nurse. The same attitude was found among mo 4-6 group, 58.6 % would tell their parents and 23.0 % would consult a doctor or a nurse. For the total of mo 1-6 students, 54.0 % would tell their parents and 24.3 % would consult a doctor or a nurse. The sexual experience was 1.1 % among po 5-6 students, 1.1 % among mo 1-3 and 5.2 % among mo 4-6, and the overall experience was 2.4 %. This study suggests sexual education in school be adjusted according to the student needs. School reproductive health services by means of counselling clinic may be appropriate and there should be a survey for parental readiness in counselling an adolescent with unplanned pregnancy.en_US
dc.identifier.callnoWS462 ว212ค 2543en_US
dc.subject.keywordSexualityen_US
dc.subject.keywordSexual Knowledgeen_US
dc.subject.keywordSexual Attitudeen_US
dc.subject.keywordSexual Practiceen_US
dc.subject.keywordPrimarital Sexen_US
dc.subject.keywordSchool reproductive health servicesen_US
dc.subject.keywordเพศศึกษาen_US
dc.subject.keywordเจตคติทางเพศen_US
dc.subject.keywordเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรen_US
dc.subject.keywordการวิจัยเชิงสำรวจen_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมทางเพศen_US
.custom.citationวัชระ เอี่ยมรัศมีกุล, Watchara Aiumrasamikul, ประทุม หงศาลา, บังอร สิมสีแก้ว, จุรีรัตน์ สุขประเสริฐ, ละเมียด สิงห์ธีร์ and ชุติมา ปัตลา. "ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1595">http://hdl.handle.net/11228/1595</a>.
.custom.total_download383
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0707.PDF
Size: 4.649Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record