Show simple item record

โครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา สถานีอนามัยหาดทนง และองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

dc.contributor.authorพรรณภัทร ใจเอื้อen_US
dc.coverage.spatialอุทัยธานีen_US
dc.date.accessioned2009-05-07T09:45:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:52:08Z
dc.date.available2009-05-07T09:45:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:52:08Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1490en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2434en_US
dc.description.abstractการศึกษาสรุปบทเรียน ติดตามผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ กระบวนการการจัดตั้งกลไก และการดำเนินงานถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับหลักการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำคัญที่มีการกำหนดไว้ รวมทั้งติดตามผลผลิต ผลที่ได้และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ เพื่อวิเคราะห์และสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการถ่ายโอนโดยเปรียบเทียบความคาดหวังกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไก โครงสร้าง เงื่อนไข และองค์ประกอบการถ่ายโอนฯ พื้นที่ตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องที่ทำการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาอยู่ในการดูแล การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการที่หลากหลาย (Multi-instrumental Methods) ด้วยการผสมผสานการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Study) เพื่อใช้เป็นกระบวนการในการตอบคำถามให้ครอบคลุมทุกประเด็นและถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้ คือ การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจงานด้านสาธารณสุขให้มาอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปตามพรบ. กำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้กับอบต. ปี 2542 บัญญัติขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งมีการกำหนดให้ท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนในการจัดการด้านสาธารณสุขของชุมชน โดยการตั้งคณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลักเกณฑ์และวิธีประเมินความพร้อมของอปท. ที่อาศัยทางสาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด และทางโรงพยาบาลเป็นผู้ช่วยเหลือคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการควบคุมโรคระบาดและการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรคที่จะเกิดในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาพยาบาลในระดับที่เกินขีดความสามารถของสถานีอนามัย ก่อนที่จะมีการถ่ายโอนภารกิจมาให้อบต.ดูแลได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบถึงความต้องการที่จะให้ทางอบต.เป็นผู้ที่จะดูแลงานในส่วนของสถานีอนามัยหรือไม่ ซึ่งจากการออกแบบสำรวจความคิดเห็น ผลปรากฏว่าประชาชนในพื้นที่จากการสุ่มตัวอย่าง 334 ชุด ร้อยละ 98.58 อยากที่จะให้ทางสถานีอนามัยมาอยู่ในการดูแลของอบต. นอกจากนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ ด้านบุคลากรของสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนเข้ามาอยู่กับทางอบต. ด้านสถานที่สำหรับให้การบริการ ด้านงบประมาณเมื่อโอนงานมาอยู่กับ อปท. ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การทำงานร่วมกันระหว่างอบต. และสถานีอนามัยมีแนวโน้มไปในทางที่ดี เพราะต่างฝ่ายก็ต่างมีการเรียนรู้งานซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนและนำเสนอผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในที่ประชุมสภาของอบต. ทุกเดือน ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นสามารถแก้ปัญหาการเสริมสร้างสุขภาพได้ตรงจุด สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ซึ่งได้จากการติดตามศึกษาและถอดบทเรียนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย เห็นว่าควรมีการถ่ายโอนงานด้านสาธารณสุขมาให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นดูแล เพราะท้องถิ่นมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งงบประมาณ โครงสร้าง และการวางแผนงานเพื่อรองรับการบริการประชาชนในพื้นที่ทางด้านสาธารณสุข แต่ต้องมีการประเมินผลและติดตามเป็นระยะ และควรที่จะสร้างเกณฑ์ในการประเมินให้เป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาคุณภาพในการให้บริการประชาชน และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอน สำหรับพื้นที่อบต. หาดทนงที่รับการถ่ายโอนภารกิจ พบว่า ทีมผู้บริหารมีความตั้งใจจริงในการที่จะรับภารกิจงานด้านสาธารณสุขไปดูแล มีการศึกษาข้อมูลและเตรียมการรองรับ ทั้งในส่วนของโครงสร้าง งบประมาณ และแผนการดำเนินงานที่จะดำเนินการในอนาคต ในขณะเดียวกันข้อด้อยของการถ่ายโอนภารกิจการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เห็นว่าทางส่วนกลางขาดความชัดเจน โดยเฉพาะการสื่อสาร การประสานงานระหว่างกับระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความลังเลไม่กล้าที่จะถ่ายโอนมาอยู่กับท้องถิ่น การสร้างความเข้าใจระหว่างกันทั้งในระดับกระทรวง และในหน่วยงานระดับพื้นที่ และในระดับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเป็นปัญหาอยู่ในระดับหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้บรรลุภารกิจงานของการกระจายอำนาจ คงจะใช้เวลาสักประมาณ 1 - 2 ปีข้างหน้าคงจะเข้าระบบมากขึ้น ทั้งนี้สังคมไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนระบบการทำงานโดยเฉพาะงานสาธารณสุข ที่ต้องดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจะให้ส่วนกลางดูแลคงไม่ทั่วถึง และไม่ทันสถานการณ์จำเป็นต้องกระจายให้กับหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม จุดเด่นของพื้นที่ในการถ่ายโอนภารกิจในส่วนของพื้นที่อบต. หาดทนง คือ ผู้บริหารมีความตั้งใจจริงในการที่จะรับภารกิจงานด้านสาธารณสุขไปดูแล มีการศึกษาข้อมูลและเตรียมการรองรับ ทั้งในส่วนของโครงสร้าง งบประมาณ และแผนการดำเนินงานที่จะดำเนินการในอนาคต จุดด้อย ของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เห็นว่ามีความไม่ชัดเจนในช่วงแรก โดยเฉพาะการต่อเชื่อม การประสานงานระหว่างส่วนกลางลงมาในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความลังเลไม่กล้าที่จะถ่ายโอนมาอยู่กับท้องถิ่น ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งในระดับกระทรวงและในหน่วยงานระดับพื้นที่ และในระดับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุภารกิจงานของการกระจายอำนาจ คงจะใช้เวลาสักประมาณ 1 - 2 ปีข้างหน้าคงจะเข้าระบบมากขึ้น ทั้งนี้สังคมไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนระบบการทำงานโดยเฉพาะงานสาธารณสุข ที่ต้องดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจะให้ส่วนกลางดูแลคงไม่ทั่วถึง และไม่ทันสถานการณ์จำเป็นต้องกระจายให้กับหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2648541 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectสาธารณสุข--นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา สถานีอนามัยหาดทนง และองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 พ265ค หาดทนง 2551en_US
dc.identifier.contactno50ข055-10en_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordสถานีอนามัยหาดทนงen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทนงen_US
.custom.citationพรรณภัทร ใจเอื้อ. "โครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา สถานีอนามัยหาดทนง และองค์การบริหารส่วนตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2434">http://hdl.handle.net/11228/2434</a>.
.custom.total_download48
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1490.pdf
Size: 2.685Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record