Show simple item record

สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ตอนที่ 1สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ

dc.contributor.authorพัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์en_US
dc.contributor.authorดวงฤดี ลาศุขะen_US
dc.contributor.authorพีรศักดิ์ เลิศตระการนนท์en_US
dc.contributor.authorนฤมนัส คอวนิชen_US
dc.contributor.authorทศพร คำผลศิริen_US
dc.coverage.spatialลำพูนen_US
dc.date.accessioned2009-10-12T06:58:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:23:45Z
dc.date.available2009-10-12T06:58:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:23:45Z
dc.date.issued2551-12en_US
dc.identifier.otherhs1604en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2746en_US
dc.description.abstractโครงการการศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาดัชนีวัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน เป็นโครงการความร่วมมือของเครือข่ายนักวิชาการและผู้ที่ทำงานด้านผู้สูงอายุหรือทำงานในองค์กรด้านผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับนักวิชาการสาธารณสุข และผู้ดูแลระบบสารสนเทศจากจังหวัดลำพูน โครงการนี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนที่สองเป็นการพัฒนาดัชนีวัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน คณะผู้ศึกษาได้กำหนดประเด็นหลักในการศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลกเป็นฐานในการศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ สวัสดิการ เศรษฐกิจและสังคม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการศึกษาเริ่มจากการทบทวนตัวระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ทบทวนองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรจากงานวิจัยและเอกสารต่างๆ จากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ การเก็บข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานและผู้ที่รับผิดชอบในเครือข่าย การเก็บข้อมูลมีการประสานงานกับสาธารณสุขอำเภอแม่ทา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน และเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมด้วย รวมทั้งหน่วยงานในระดับพื้นที่ในอำเภอแม่ทาและองค์กรที่เกี่ยวข้อง การจัดประชุมเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้าใจและนำเสนอข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านระบบข้อมูลสุขภาพ การศึกษาเฉพาะอำเภอแม่ทาเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีบุคลากรทางสาธารณสุขที่เข้มแข็ง อยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ที่มีปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อผู้สูงอายุหลากหลาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ประเด็นหลักในการวิเคราะห์ได้แก่ การมีระบบข้อมูลสุขภาพ ชนิดของข้อมูล ผู้เก็บข้อมูล ความสมบูรณ์ของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล ปัญหาอุปสรรคในการใช้ข้อมูล พบว่ามีการจัดเก็บข้อมูลหลายระบบในหลายหน่วยงาน หน่วยงานระดับพื้นที่ส่วนใหญ่ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานระดับจังหวัด ไม่ได้มีฐานข้อมูลที่หน่วยงานตนเองที่สามารถสืบค้น หรือนำมาวางแผนหรือประเมินผลงานได้ ผู้เก็บข้อมูลระดับเล็กสุดเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์สาธารณสุขชุมชนมีภาระในการเก็บข้อมูลให้หลายหน่วยงาน ปัญหาของระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในปัจจุบันในระดับผู้ปฏิบัติพบว่าเกิดจากภาระงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บที่มาก ความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลจากหน่วยจัดเก็บ การขาดเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ยังไม่มีการนำข้อมูลที่จัดเก็บไปใช้ตามความต้องการของเจ้าของข้อมูล บัญชีรายงานในระบบมีมากเกินไป การปรับเปลี่ยนนโยบายและตัวชี้วัด ตลอดจนความต้องการข้อมูลที่หลากหลายของกรม กอง สำหรับความต้องการในการพัฒนาระบบ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความต้องการสร้างระบบสารสนเทศที่สามารถสนับสนุนงานประจำได้ พร้อมทั้งสามารถให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ภายนอกตามความจำเป็นและเหมาะสม ระบบข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ได้มาตรฐานและตรวจสอบได้สามารถออนไลน์ได้ทั่วถึง มีศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลต่างๆ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ การแปลผลข้อมูลหรือตัวชี้วัดในรูปแบบต่างๆ เช่น กราฟ แผนที่ ฯลฯ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลให้ผู้นำข้อมูลไปใช้เข้าใจง่ายen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.format.extent2023282 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectข้อมูลสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะสุขภาพ--ในวัยชราen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ตอนที่ 1สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWT20 พ219ส 2551en_US
dc.identifier.contactno49ข008en_US
dc.subject.keywordระบบข้อมูลen_US
.custom.citationพัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์, ดวงฤดี ลาศุขะ, พีรศักดิ์ เลิศตระการนนท์, นฤมนัส คอวนิช and ทศพร คำผลศิริ. "สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ตอนที่ 1สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2746">http://hdl.handle.net/11228/2746</a>.
.custom.total_download155
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1604.pdf
Size: 2.090Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record