Show simple item record

Implementation of One Health Concept in Lowering of Human Streptococcus suis Cases in Chiang Mai

dc.contributor.authorสุวิชัย โรจนเสถียรth_TH
dc.date.accessioned2017-08-23T06:54:49Z
dc.date.available2017-08-23T06:54:49Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2349
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4763
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ทั้งในสุกรและคน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการลดจำนวนผู้ป่วยด้วยเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิสในเขตจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน โดยทำการเก็บตัวอย่างทอนซิลสวอป จากสุกรแม่พันธุ์และสุกรขุนในฟาร์มสุกร เนื้อจากโรงฆ่าสุกรและเนื้อสุกรที่ขายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจหาเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิสด้วยการเพาะเชื้อ รวมทั้งศึกษาพื้นฐานอาชีพ ความรู้ อายุ เพศ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคในผู้ป่วยที่ติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส จำนวน 35 ราย จากผลการศึกษาพบว่า พบเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิสในสุกรพันธุ์ 13 ฟาร์มจาก 43 ฟาร์ม (ร้อยละ 30.23) พบเชื้อในสุกรขุน 57 ฟาร์มจาก 111 ฟาร์ม (ร้อยละ 51.35) พบเชื้อในเนื้อจากโรงฆ่าสุกร 26 ตัวอย่างจาก 119 ตัวอย่าง (ร้อยละ 21.85) และพบเชื้อในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต 5 ตัวอย่างจาก 50 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.00) ตัวอย่างในฟาร์มสุกร ไม่พบเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ไทป์ 2 ในขณะที่ตัวอย่างเนื้อจากโรงฆ่าสุกรและตลาดสด พบเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ไทป์ 2 แห่งละ 1 ตัวอย่าง กลุ่มยีนก่อโรคที่พบ ได้แก่ gdh+,arcA+,mrp+,thrA+และ sly+ ในขณะเดียวกันการศึกษาในผู้ป่วยพบว่า เป็นชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว หรือดื่มสุราเป็นประจำ ทั้งหมดมีการบริโภคเนื้อสุกรดิบ หรือไม่มั่นใจว่าสุก ก่อนแสดงอาการ ผู้ป่วยมีอาการหูดับ 9 ราย (ร้อยละ 27.71) ซึ่งเมื่อติดตามผลการรักษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการหูดับ จะมีอาการหูดับถาวร การศึกษานี้บ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าสุกรจะเป็นแหล่งของเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่สำคัญ และเชื้อสามารถส่งถ่ายมายังคนได้โดยการปนเปื้อนผ่านกระบวนการฆ่าและชำแหละ แต่การเกิดโรคในคนได้นั้นยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคของคนเป็นหลักth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติth_TH
dc.subjectระบาดวิทยาth_TH
dc.subjectโรคไข้หูดับth_TH
dc.subjectสเตรปโตคอคคัส ซูอิสth_TH
dc.subjectStreptococus suisen_EN
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักการสุขภาพหนึ่งเดียวth_TH
dc.title.alternativeImplementation of One Health Concept in Lowering of Human Streptococcus suis Cases in Chiang Maien_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to explore the epidemiological information of Streptococcus suis (S. suis), either in pigs and human. Those information was used to find the appropriate method to reduce the number of S. suis infection in human. The tonsil swab samples from sows and fattening pigs, pork from pig slaughter houses and pork in wet and super markets in Chiang Mai province were collected for S. suis culture. Moreover, demographic data, education attitude and risk factors data from 35 S. suis infection patients were collected. The results indicated that from 43 farm, sow samples from 13 farms were detected S. suis (30.23%). In fattening pigs, S. suis was detected in 57 farms from 111 farms (30.23%). Pork sample from pig slaughter houses and pork in wet and super markets were detected S. suis 26 from 119 (21.85%) and 5 from 50 samples (10.00%), respectively. S. suis type 2 were found in 1 pork sample from pig slaughter houses and 1 pork sample from wet market. The virulence gene, including gdh+,arcA+,mrp+,thrA+ and sly+ were detected from those sample. The data in human showed that S. suis patients were male more than female. All of them had underlying diseases and always drank alcohol. They had the history of raw pork or unsure well cooked pork before showed clinical signs. Nine patients (27.71%) showed deafness and trend to be permanent deafness. This study indicated that even though pigs is the important carrier of S.suis and the agent can transmit to human via slaughter process, the consuming behavior is the key factor that effect S. suis in human.en_EN
dc.identifier.callnoWC210 ส879ก 2560
dc.identifier.contactno57-051
.custom.citationสุวิชัย โรจนเสถียร. "การลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4763">http://hdl.handle.net/11228/4763</a>.
.custom.total_download161
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2349.pdf
Size: 1.031Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record