Show simple item record

Prediction of pre-eclampsia in advanced age pregnant women by using uterine artery Doppler combination with maternal serum fms-like tyrosine kinase (sflt-1) , placental growth factor ( PlGF) and pregnancy- associated plasma protein-A (PAPP-A)

dc.contributor.authorชำนาญ แท่นประเสริฐกุลth_TH
dc.contributor.authorChamnan Tanprasertkulth_TH
dc.contributor.authorจรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorCharintip Somprasitth_TH
dc.contributor.authorต้องตา นันทโกมลth_TH
dc.contributor.authorTongta Nantakokonth_TH
dc.date.accessioned2018-04-03T06:13:57Z
dc.date.available2018-04-03T06:13:57Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2403
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4868
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ดอพเลอร์อัลตราซาวน์ ตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงยูเทอรีน ร่วมกับการตรวจวัดระดับของ sflt-1( Soluble fms-like tyrosine kinase-1 ) PlGF (Placenta growth factor) และPAPP-A (pregnancy-associated plasma protein A) ในพลาสมา เพื่อช่วยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะนี้ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี วัสดุและวิธีการ ได้ทำการศึกษาโดย เก็บข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ที่มาฝากครรภ์ที่แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในช่วงอายุครรภ์ 18 - 24 สัปดาห์ ทำการบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ จำนวนการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ และประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต ปัจจัยพื้นฐานของความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์พิษ และเก็บเลือดเพื่อวัดระดับของ sflt-1, PlGF และ PAPP-A พร้อมส่งตรวจดอพเลอร์อัลตราซาวน์ เพื่อดูการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงยูเทอรีนทั้งสองข้างและทำการบันทึกไว้ในแบบบันทึกข้อมูล ติดตามผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ และภาวะครรภ์เป็นพิษที่เกิดขึ้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาโอกาสการทำนายภาวะครรภ์เป็นพิษ ผลการศึกษา ได้สตรีตั้งครรภ์เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 296 ราย สามารถติดตามและมีข้อมูลเพียงพอต่อการวิเคราะห์ 276 ราย โดยมีสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 5.43 หรือ 15 รายเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ และสตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 94.57 หรือ จำนวน 261 ราย ไม่พบมีภาวะครรภ์เป็นพิษ เมื่อเปรียบเทียบ อายุเฉลี่ย น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย จำนวนบุตร ประวัติความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษของทั้งสองกลุ่มพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอายุครรภ์ที่วัดการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงยูเทอรีน และอายุครรภ์ที่คลอด รวมทั้งน้ำหนักทารกแรกคลอด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน อัตราส่วนความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงยูเทอรีนในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ พบร้อยละ 26.67 ( 4/15 ราย ) สูงกว่าในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่พบร้อยละ 16.48 ( 43/261 ราย ) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.31) ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน sflt-1 ต่อ PlGF ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ สูงกว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.60 + 4.79 , 8.09 + 5.24, p = 0. 71) และค่า Multiple of median (MOM) ของ PAPP-A ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ น้อยกว่า กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำปัจจัยทั้งสามมาคำนวณประเมินเข้ารูปแบบทางสถิติเพื่อการทำนายภาวะครรภ์เป็นพิษ พบว่าปัจจัยความผิดปกติของการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงยูเทอรีน เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ 1.78 เท่า ปัจจัยการมีอัตราส่วน ของ sflt-1 ต่อ PlGF ที่มากกว่า 14 เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ 2.54 เท่า และ ปัจจัยการมีค่า MOM ของ PAPP-A น้อยกว่า 0.5 เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ 2.5 เท่าตามลำดับ โดยมีค่าการทำนายภาวะครรภ์เป็นพิษรวมของทั้งสามปัจจัยที่ร้อยละ 64.62 แต่ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป การใช้ปัจจัยดังกล่าวร่วมกันยังไม่สามารถนำมาใช้ทำนายโอกาสภาวะครรภ์เป็นพิษได้ อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ของโรคในการศึกษาครั้งนี้ต่ำกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นการใช้กลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้นอย่างเพียงพอจึงจะช่วยยืนยันประโยชน์ของการใช้ปัจจัยในการทำนายโรคได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectครรภ์เป็นพิษth_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี โดยการตรวจดอพเลอร์หลอดเลือดแดงยูเทอรีนร่วมกับ การวัดระดับของ fms-like tyrosine kinase (sflt-1) , placental growth factor ( PlGF) และ pregnancy- associated plasma protein-A (PAPP-A)th_TH
dc.title.alternativePrediction of pre-eclampsia in advanced age pregnant women by using uterine artery Doppler combination with maternal serum fms-like tyrosine kinase (sflt-1) , placental growth factor ( PlGF) and pregnancy- associated plasma protein-A (PAPP-A)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective To study the prediction of pre-eclampsia in advanced age pregnant women by using of uterine artery Doppler combined with serum sflt-1,PlGF and PAPP-A. Method The prospective collective data study was conducted at antenatal care clinic Thammasat University Hospital. The pregnant women with age above 35 years old with gestational age between 18-24 weeks were recruited. The clinical risk factors were recorded. Uterine artery Doppler was performed at the same time with measurement of serum markers. The occurrence of pre-eclampsia and obstetrics outcomes were followed and recorded. All data was analyzed. Results The total enrolled pregnant women were 296. Only 276 pregnant women have complete information to analyze. 5.43 percent (15 pregnant women) had pre-eclampsia while 94.57 percent (261 pregnant women) had no pre-eclamptic symptoms. The baseline characteristics of both groups including age, body weight, body mass index, parity and history risk of pre-eclampsia were not statistically significant different. In pre-eclamptic group has higher percentage of abnormal uterine artery Doppler compared to non pre-eclamptic group (26.67%, 4/15 vs 16.48%, 46/261) but no significant different (p= 0.31). The ratio of sflt-1/PlGF in pre-eclamptic group were higher than non pre-eclamptic group ( 8.60 +4.79 vs 8.09 + 5.24) but no statistically significant different (p= 0.71). MoM( Median of mean ) of PAPP-A in pre-eclamptic group was less than non pre-eclamptic group but there is also no statistically significant. The logistic model was generated to predict the risk ratio of pre-eclampsia. The abnormal uterine artery Doppler has risk ratio (RR) 1.78, while the ratio of sflt-1/PlGF above 14 has RR 2.54. The MoM of PAPP-A less than 0.5 has RR 2.5 , respectively. Combination of these factors has prediction value for prediction 64.62%. Conclusion The combination of these factors could not be used to predict the occurrence of preelcampsia in advance age pregnant women . However, the incidence of preeclampsia in our study was lower than expectation , the larger sample size might be needed to verify this benefit.th_TH
dc.identifier.contactno58-050
.custom.citationชำนาญ แท่นประเสริฐกุล, Chamnan Tanprasertkul, จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์, Charintip Somprasit, ต้องตา นันทโกมล and Tongta Nantakokon. "การทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี โดยการตรวจดอพเลอร์หลอดเลือดแดงยูเทอรีนร่วมกับ การวัดระดับของ fms-like tyrosine kinase (sflt-1) , placental growth factor ( PlGF) และ pregnancy- associated plasma protein-A (PAPP-A)." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4868">http://hdl.handle.net/11228/4868</a>.
.custom.total_download66
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2403.pdf
Size: 965.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record