แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาระบบการแพทย์ในการดูแลสุขภาวะของบุคคลข้ามเพศ

dc.contributor.authorจิราภรณ์ อรุณากูรth_TH
dc.contributor.authorJiraporn Arunakulth_TH
dc.contributor.authorสิระ กอไพศาลth_TH
dc.contributor.authorSira Korpaisarnth_TH
dc.contributor.authorรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ดth_TH
dc.contributor.authorRapeephan Rattanawongnara Maudeth_TH
dc.contributor.authorคมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorKomsan Kiatrungritth_TH
dc.contributor.authorณัฐนิตา มัทวานนท์th_TH
dc.contributor.authorNatnita Mattawanonth_TH
dc.date.accessioned2023-08-22T03:24:35Z
dc.date.available2023-08-22T03:24:35Z
dc.date.issued2566-07-12
dc.identifier.otherhs2994
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5916
dc.description.abstractบทนำ : ในปัจจุบันบุคคลข้ามเพศเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคมไทยและเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการในการบริการสุขภาพที่จำเพาะ ระบบบริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศยังคงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศในปัจจุบันและเพื่อศึกษาข้อมูลสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ อันประกอบด้วยผลจากฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ สุขภาพจิตของบุคคลข้ามเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในบุคคลข้ามเพศ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของบุคคลข้ามเพศในประเทศไทย วิธีการศึกษา : การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 โครงการวิจัยย่อย โดยโครงการวิจัยย่อยที่ 1, 2 และ 3 เป็นการประเมินผลของการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศด้วยฮอร์โมนต่อสุขภาพทั่วไป การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสุขภาพจิตตามลำดับ โครงการวิจัยย่อยที่ 4 เป็นการจัดประชุมวิเคราะห์สถานการณ์การให้บริการสุขภาพของบุคคลข้ามเพศและส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพบุคคลข้ามเพศ ผลการศึกษา : การรักษาด้วยฮอร์โมนมีประสิทธิภาพสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสรีระในบุคคลข้ามเพศทุกคน โดยในบุรุษข้ามเพศอาจส่งผลให้มีความดันเลือดสูงขึ้น มีระดับกรดยูริคที่สูงขึ้นโดยไม่มีรายงานถึงโรคเก๊าท์กำเริบ ค่าความเข้มข้นของเลือดแนวโน้มสูงขึ้นและมีการทำงานของไตลดลงเล็กน้อย โดยไม่พบผลเสียต่อการทำงานของตับและระดับน้ำตาลในเลือดในสตรีข้ามเพศ สามารถลดระดับความดันเลือดได้เล็กน้อย โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ ระดับน้ำตาลในเลือด กรดยูริคและระดับไขมัน นอกจากนั้น ในทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เลย แต่มีอัตราการป้องกันระหว่างการมีกิจกรรมทางเพศที่ค่อนข้างต่ำในบุรุษข้ามเพศที่มีกิจกรรมทางเพศและพบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ค่อนข้างต่ำในบุคคลข้ามเพศ สำหรับผลทางด้านสุขภาพจิต เมื่อติดตามการรักษาพบว่า บางภาวะมีอาการเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าและการวิตกกังวล แต่พบผลดีต่อภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ สมาธิสั้นและการติดเกมหลังได้รับการรักษาจากการวิเคราะห์สถานการณ์การให้บริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศนั้น พบปัญหาและอุปสรรคเป็นจำนวนมาก ทั้งจากผู้รับบริการและผู้ให้บริการเอง ประเด็นหลักคือ การไม่ถูกคุ้มครองด้วยกฎหมายถึงสิทธิพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นจากการถูกเลือกปฏิบัติ การเข้าถึงการรักษา หลักประกันสุขภาพและสวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา ขาดเงินทุนสนับสนุนในการจัดตั้งสถานที่ให้บริการทางสุขภาพ ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นคำแนะนำ 8 ด้านที่ควรพัฒนาคือ การคุ้มครองการไม่เลือกปฏิบัติ สนับสนุนด้านเงินทุน ด้านการศึกษาและการฝึกอบรม สนับสนุนบริการสุขภาพจิต การเข้าถึงการบำบัดด้วยฮอร์โมนและการผ่าตัดการรวบรวมข้อมูล สนับสนุนการจัดตั้งชุมชนเครือข่ายและสนับสนุนกฎหมาย สรุป : การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคลข้ามเพศหลังรับการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความจำเพาะ โดยส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อมูลของต่างชาติ ยกเว้นผลต่อสุขภาพจิตในด้านภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่จำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อการตรวจติดตามสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ การบริการสุขภาพยังคงมีอุปสรรคหลายด้าน ทั้งจากมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ นโยบายที่สนับสนุนคลินิกบุคคลข้ามเพศควรได้รับการออกแบบ เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลข้ามเพศได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุม มีความละเอียดอ่อนและมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเพศth_TH
dc.subjectเพศภาวะth_TH
dc.subjectความหลากหลายทางเพศth_TH
dc.subjectGenderth_TH
dc.subjectTransgender Peopleth_TH
dc.subjectTransgender Personsth_TH
dc.subjectฮอร์โมนth_TH
dc.subjectเพศสัมพันธ์th_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบการแพทย์ในการดูแลสุขภาวะของบุคคลข้ามเพศth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a Transgender Medical Health Systemth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Transgender people are well recognized in Thai society nowadays and need specific care. There are challenges in the transgender medical health system in Thailand. Aims: This study aims to assess the current situations of a transgender health care service from providers' and patients’ perspectives and to evaluate the effect of a gender-affirming hormone therapy on health in general, mental health and sexual transmitted diseases in order to provide recommendations to improve the transgender medical health system in Thailand. Methods: The study is divided into 4 sub-studies. The sub-studies 1, 2, and 3 assessed the effects and complications from hormone therapy on general health, HIV and sexually transmitted diseases (STI), and mental health among Thai transgender people. The sub-studies 4 assessed the current situation of the health care system through panel discussions. Results: The hormone therapy effectively induces body changes in all transgender people. Complications in transgender men include elevated systolic and diastolic blood pressure, elevated uric acid levels without gouty attack, elevated hematocrit levels, and a decline in the glomerular filtration rates. There is no effect on liver function and blood sugar. In transgender women, decreased blood pressure was found without adverse effects on liver function, blood sugar, uric acid, and lipid profiles. There is no HIV or STI in this study. However, there is a low rate of protection in sexual activity among transgender men, and hepatitis B immunity is low among transgender people. Regarding mental health, there is a trend of higher depression and anxiety scores but improved gender dysphoria, attention deficit, and internet gaming disorder scale. The assessment of the current Thai transgender health systems demonstrated several barriers and challenges from providers' and patients’ perspectives. The main issues include unsupported laws involving the fundamental right, discrimination, access to medical care, health care insurance regarding gender-affirming treatment, funding for developing transgender clinics, education for medical providers, mental health care, health data gathering, lack of support for the transgender community and transgender law. Summary: Transgender people have specific physical and mental changes with gender affirming hormone treatment. Most are consistent with international data, apart from the minimal decrease in depressive and anxiety scores, which should be monitored closely. The medical professional should recognize the changes along the treatment process. Several barriers in transgender care are present from providers' and patients’ perspectives. Therefore, a strategy supporting the development of transgender clinics should be designed to ensure that transgender people receive high-quality care without discrimination.th_TH
dc.identifier.callnoHQ56 จ535ก 2566
dc.identifier.contactno64-033
dc.subject.keywordบุคคลข้ามเพศth_TH
dc.subject.keywordเพศสภาพth_TH
.custom.citationจิราภรณ์ อรุณากูร, Jiraporn Arunakul, สิระ กอไพศาล, Sira Korpaisarn, รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด, Rapeephan Rattanawongnara Maude, คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์, Komsan Kiatrungrit, ณัฐนิตา มัทวานนท์ and Natnita Mattawanon. "การพัฒนาระบบการแพทย์ในการดูแลสุขภาวะของบุคคลข้ามเพศ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5916">http://hdl.handle.net/11228/5916</a>.
.custom.total_download142
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year29
.custom.downloaded_fiscal_year53

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2994.pdf
ขนาด: 2.583Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย