แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาว

dc.contributor.authorสมเกียรติ จันทรสีมาth_TH
dc.contributor.authorSomkiat Juntursimath_TH
dc.contributor.authorจารุภา พานิชภักดิ์th_TH
dc.contributor.authorJarupa Panitchpakdith_TH
dc.contributor.authorอ้อมจันทร์ วงศ์สดสายth_TH
dc.contributor.authorAomjan Wongsodsaith_TH
dc.contributor.authorภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญth_TH
dc.contributor.authorBhanubet Maharueankwanth_TH
dc.contributor.authorธีรมล บัวงามth_TH
dc.contributor.authorTeeramon Buangamth_TH
dc.contributor.authorสุรพงษ์ พรรณวงษ์th_TH
dc.contributor.authorSuraphong Phanwongth_TH
dc.contributor.authorอัจฉราวดี บัวคลี่th_TH
dc.contributor.authorAcharawadee Buakleeth_TH
dc.contributor.authorจันทนา ตาคำth_TH
dc.contributor.authorJantana Takamth_TH
dc.date.accessioned2023-10-16T08:25:02Z
dc.date.available2023-10-16T08:25:02Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3020
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5952
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือการบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชัน 2) เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารที่ชุมชนมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นแนวระนาบในและระหว่างชุมชน รวมถึงการสื่อสารแนวดิ่งจากล่างสู่บน (bottom-up) ทั้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารสาธารณะในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามพรมแดน 3) เพื่อสร้างนักข่าวพลเมือง (citizen reporter) ที่สามารถผลิตเนื้อหาในเชิงลึกเกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน 4) เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สาธารณะต้นแบบในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน และ 5) เพื่อนำผลการวิจัยของชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว” มาผลิตสารคดีที่สะท้อนกระบวนการของโครงการวิจัย รูปแบบ วิธีการหรือบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์ความรู้กับชุมชนที่ประสบปัญหาความเสี่ยงทางสุขภาพในลักษณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ประกอบด้วยบุคลากรครูและนักเรียนจากโรงเรียน จำนวน 8 โรงเรียน ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และจำนวน 1 โรงเรียน ในอำเภอทุ่งช้าง รวมถึงกลุ่มเกษตรกรสวนส้มในอำเภอทุ่งช้าง คณะผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้ เครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายครู นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษอากาศสามารถเก็บบันทึกข้อมูล รายงานและทำการสื่อสารข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบฯ ผ่านการใช้แพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชัน C-site ของสำนักเครือข่ายและการสื่อสารสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท. หรือ ThaiPBS) เครื่องมือและช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย แผนที่ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มการสื่อสารของ C-site ประกอบไปด้วย จำนวน 37 ชั้นข้อมูล โดยใช้ฐานข้อมูล GIS จำนวน 16 ชั้นข้อมูล อาทิ ขอบเขตการปกครอง ข้อมูลพื้นที่ป่า ชั้นลุ่มน้ำน่าน พิกัดหมู่บ้าน ตำบลขุนน่าน - ตำบลห้วยโก๋น และใช้ฐานข้อมูลจากหน่วยงานอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) API เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครื่องวัด SO2 NO2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แผนที่ชุมชน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงอีก จำนวน 14 ชั้นข้อมูลที่มีการลงพื้นที่สำรวจ อาทิ การจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การปักหมุดเรื่องเล่าจากนักข่าวพลเมืองในพื้นที่และการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผลการสำรวจชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้านได้นำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดชุมชนที่ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาแบบสำรวจดิจิทัลสุขภาพกายและใจ ในมิติสิ่งแวดล้อมได้พัฒนาแบบสำรวจดิจิทัลเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยสัตว์หน้าดินและแบบสำรวจพืช ผัก ผลผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรทั่วไป และเกษตรกรสวนส้ม ในการฝึกอบรมเพื่อติดตั้งทักษะและการใช้แอปพลิเคชัน C-site และการใช้มือถือเพื่อวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง หรือ MoJo4CitSci ในการเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีการฝึกอบรม จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 Training of Trainers (ToT) ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย ครู นักเรียน ชาวบ้านอาสาสมัคร ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติและเกษตรกรสวนส้ม ในอำเภอทุ่งช้าง และรุ่นที่ 2 กลุ่มนักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 99 คน การสื่อสารการเฝ้าระวังผลกระทบฯ มี 2 ลักษณะสำคัญ กล่าวคือ เกิดขึ้นทั้งระดับการสื่อสารแนวระนาบ (horizontal communication) ที่เป็นทั้งพื้นที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้ความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการเฝ้าระวังผลกระทบฯ และเป็นพื้นที่ของการสื่อสารความเสี่ยงภายในชุมชน และการสื่อสารแนวดิ่งที่เริ่มต้นจากการสื่อสารจากล่างสู่บน (bottom-up communication) ที่การไหลของการสื่อสารมีความเป็นพลวัตอันเนื่องมาจากโครงสร้างเปิดของความเป็นสื่อสาธารณะที่อยู่บนฐานคิดและมุ่งส่งเสริมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (participatory communication) ระบบนิเวศการสื่อสารเป็นเสมือนโครงข่ายการสื่อสารเพื่อรองรับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ซึ่งหากระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาเชื่อมโยงเข้ากับระบบการสื่อสารเตือนภัยแห่งชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ยิ่งทำให้การดูแลสุขภาวะของประชาชนกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectคุณภาพอากาศth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหินth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวth_TH
dc.subjectHealth Impact Assessmentth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectMobile Applicationsth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาวth_TH
dc.title.alternativeDeveloping Digital Communication Tools on Mobile Application Platform for Community-led Health Impact Monitoring: A Case Study of Transboundary Pollution from Hongsa Power Plant, Lao PDRth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis present study has five main objectives: 1) To develop a digital community-led health impact monitoring tools on the mobile platform application; 2) To establish communication channels for both horizontal and vertical communication within and between communities, as well as with relevant organizations and public communication regarding community-led health impact monitoring of transboundary pollution; 3) To create citizen reporters who can produce in-depth content on community-led health impact monitoring; 4) To develop a prototype public learning space for community-based health impact monitoring; 5) To utilize the research findings from the program “Development of Community-led Health impact Monitoring System in Nan Province, Thailand: A Case Study of Transboundary Pollution from Hongsa Power Plant, Lao PDR” to produce video documentary reflecting the research process, methodology, and context related to community-led health impact surveillance to mobilize knowledge to communities experiencing similar health risks. The participants consisted of teachers and students from 8 schools in Chaloem Phra Kiat District, one school in Thung Chang District, and orange farmer group in Thung Chang District. Both qualitative and quantitative research methods were used in data collection and analyses. As a result of this participatory research project, various tools and communication channels were developed to enable teachers, students, and community members in the affected areas to record, report, and communicate health impact monitoring information through the C-site mobile application developed by the Public Media Network Department, ThaiPBS. The tools and communication channels include an interactive map on the C-site communication platform, comprising 37 layers of data, including 16 GIS layers, such as administrative boundaries, forest area data, Nan river basin data, village coordinates from Khun Nan to Huai Kon, and data from four other organizations (mobile towers, Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission, PM2.5 dust measuring device API from the Faculty of Science, Chiang Mai University, SO2 and NO2 measuring devices from the Faculty of Engineering, Naresuan University, and community maps from the Faculty of Arts, King Mongkut's University of Technology Thonburi, as well as 14 additional survey-based data layers, such as indicator data collection, location-based storytelling in the style of users-generated contents from nearby citizen reporters, and emergency reporting. The community survey conducted in the 8 communities led to the development of community indicators that cover health and the environmental dimensions. In terms of health, two digital surveys on physical and mental health were developed, in terms of environment, monitoring surveys for water quality using the benthic macroinvertebrates, and monitoring surveys for agricultural produce for both general agricultural groups and orange farmers were developed. Two 3-day training sessions were delivered in October and December 2022 aiming at installing skills of using the C-site application, Mobile Journalism for Citizen Science or MoJo4CitSci, and riverine detective activities. The first training session was Training of Trainers (ToT) including teachers, students, local volunteers in Chalermprakiat district, and orange farmers from Thung Chang district. In the first training session, participants were extremely satisfied with all three activities. The participants showed highest satisfaction with using the C-site application for data collection (x̅ = 4.87, S.D. = 0.35), followed by nature detective activities (waterway) (x̅ = 4.86, S.D. = 0.37), and using Mobile Journalism for citizen science (MoJo4CitSci) (x̅ = 4.83, S.D. = 0.39), respectively. In the second session, participants reported that they were very satisfied with all three activities. The highest satisfaction was with nature detective activities (waterway) (x̅ = 4.13, S.D. = 0.78), followed by using Mobile Journalism for citizen science (MoJo4CitSci) (x̅ = 4.12, S.D. = 0.82), and using C-site application for data collection (x̅ = 4.04, S.D. = 0.75), respectively. The communication of health impact monitoring manifested in two important forms: horizontal communication involved knowledge transfer about using necessary knowledge and tools for monitoring, and risk communication within the community; and vertical communication, which started from bottom-up communication, where the flow of communication was facilitated by the open structure of ThaiPBS based on participatory communication. It is evident that this communication ecology is like weaving and connecting communication networks to support the community-led health and environmental impact. If this system is further developed and integrated with the national emergency communication system that may occur in the future, it will significantly enhance the efficiency of caring for the health of vulnerable population who are at risk of being affected by transboundary pollution.th_TH
dc.identifier.callnoWA754 ส232ก 2566
dc.identifier.contactno64-220
dc.subject.keywordHIAth_TH
dc.subject.keywordสปป.ลาวth_TH
dc.subject.keywordThe Lao People's Democratic Republicth_TH
dc.subject.keywordLao PDRth_TH
dc.subject.keywordLPDRth_TH
dc.subject.keywordแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือth_TH
.custom.citationสมเกียรติ จันทรสีมา, Somkiat Juntursima, จารุภา พานิชภักดิ์, Jarupa Panitchpakdi, อ้อมจันทร์ วงศ์สดสาย, Aomjan Wongsodsai, ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ, Bhanubet Maharueankwan, ธีรมล บัวงาม, Teeramon Buangam, สุรพงษ์ พรรณวงษ์, Suraphong Phanwong, อัจฉราวดี บัวคลี่, Acharawadee Buaklee, จันทนา ตาคำ and Jantana Takam. "การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาว." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5952">http://hdl.handle.net/11228/5952</a>.
.custom.total_download30
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year30

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3020.pdf
ขนาด: 22.32Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย