Show simple item record

Improving Accountability and Effectiveness of Observed Therapy for Tuberculosis Using the Mobile Application

dc.contributor.authorวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorVirasakdi Chongsuvivatwongth_TH
dc.contributor.authorพลกฤต ขำวิชาth_TH
dc.contributor.authorPonlagrit Kumwicharth_TH
dc.date.accessioned2023-11-16T02:49:45Z
dc.date.available2023-11-16T02:49:45Z
dc.date.issued2566-10
dc.identifier.otherhs3039
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5970
dc.description.abstractการติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคด้วยการมีพี่เลี้ยงดูแลการกินยาต่อหน้า (Directly Observed Therapy, DOT) ไม่สามารถติดตามการกินยาของผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากไม่มีระบบจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งไม่มีระบบกำกับภาระหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน (Accountability) และไม่สามารถปฏิบัติการได้สะดวกโดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การติดตามการกินยาด้วยวิธี DOT ไม่สามารถปฏิบัติได้ในหลายพื้นที่ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคโดยสร้างแอปพลิเคชัน TH VOT ในการติดตามการกินยาด้วยวิดีโอผ่านแอปพลิเคชันมือถือ (Video Observed Therapy, VOT) เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใช้ติดตามการกินยาผู้ป่วยวัณโรคทางไกลได้และเป็นการดำเนินงานตามหลักการ Social Distancing โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวถูกทดสอบความน่าใช้งานในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้ทดลองใช้งานระบบทุกคนสามารถใช้งานได้และให้ความเห็นความน่าใช้งานอยู่ในระดับมาตรฐาน จากนั้นจึงวิจัยเปรียบเทียบการดำเนินงานติดตามการกินยาผู้ป่วยวัณโรคในสถานการณ์จริงในพื้นที่ทดสอบระบบดังกล่าว โดยสุ่มพื้นที่ปฏิบัติการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่ม คือ การดำเนินงาน VOT (กลุ่มทดลอง) และการดำเนินงาน DOT (กลุ่มเปรียบเทียบ) โดยเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) เพื่อให้มี Accountability ของเจ้าหน้าที่อยู่ในระบบ เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการติดตามการกินยาที่สามารถตรวจสอบได้และประสิทธิภาพการรักษาทางระบาดวิทยา การศึกษานี้มีผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 63 คน ในกลุ่ม VOT และจำนวน 65 คน ในกลุ่ม DOT โดยผู้ป่วยในกลุ่ม VOT ผู้ป่วยมีวันสะสมในการรายงานการกินยาเฉลี่ย 27.6 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยใน DOT มีเฉลี่ย 12.4 วัน ความแตกต่างเฉลี่ย คือ 15.2 วัน (95% CI; 0.6 ถึง 29.7) พี่เลี้ยงในกลุ่ม VOT มีวันสะสมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 21.5 วัน ในขณะที่พี่เลี้ยงในกลุ่ม DOT มีวันสะสมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 0.3 วัน ความแตกต่างเฉลี่ย คือ 21.2 (95% CI; 10.8 ถึง 31.6) ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลการตรวจหาเชื้อวัณโรคในเสมหะ (Sputum Conversion) และจำนวนการรายงานผลไม่พึงประสงค์จากการกินยาต้านวัณโรคจากผลลัพธ์การวิจัยและพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ระบบ TH VOT ทำให้ผู้ป่วยกินยาได้ครบถ้วนมากขึ้น แต่พี่เลี้ยงยังตรวจสอบได้ไม่ครบถ้วน ปัญหานี้อาจบ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการทำงานในการกำกับการกินยาต้านวัณโรคของพี่เลี้ยง ซึ่งยังไม่ดีพอแม้จะมีระบบ TH VOT ช่วยอำนวยความสะดวกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรค--การรักษาth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectวัณโรค--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectTuberculosis--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectMobile Applicationsth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการเพิ่มความรับผิดชอบและประสิทธิภาพของระบบการกำกับการกินยารักษาวัณโรคโดยใช้แอปพลิเคชั่นมือถือth_TH
dc.title.alternativeImproving Accountability and Effectiveness of Observed Therapy for Tuberculosis Using the Mobile Applicationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn Thailand, directly observed therapy (DOT) has been performed for tuberculosis treatment monitoring for two decades. However, this program lacks an accountability system leading to becoming an unsustainable strategy, especially to continue DOT during the pandemic of COVID-19. The research team developed a video observed therapy (VOT) system using the mobile application called "TH VOT" to monitor medication adherence among tuberculosis patients. The system provided feasibility and safety to both the patients and their observers. The observers can remotely inspect the patient’s taking medication through the videos sent by the patients. The system was implemented in Hat Yai and Mueang Songkhla District, Songkhla province, Southern Thailand, and assessed its usability by the participants in these jurisdictions. All of the users could use the system to perform the VOT sessions, and they rated the system above-average level of the general benchmark of UEQ for its usability. A cluster randomized controlled trial of patients with pulmonary TB and their observers was conducted over a 60-day period to compare the cumulative compliance days, smear conversion rate, and the number of adverse events reported in the VOT system with those in the traditional DOT system. The study recruited 63 patients for the VOT program and 65 patients for the DOT program. Patients in the VOT program had an average of 27.6 cumulative compliance days, while those in DOT had 12.4 on average. The mean difference was 15.2 (95% confidence interval [CI]; 0.6 to 29.7). Observers in the VOT program averaged 21.5 cumulative compliance days, while those in DOT observed 0.3 days on average. The mean difference was 21.2 (95% CI; 10.8 to 31.6). There is no significant difference in the smear conversion rate, and the number of adverse events reported. In conclusion, TH VOT significantly outperformed the traditional DOT in ensuring compliance with TB treatment for both patients and observers. However, the low compliance rates observed in both groups suggest a need for system improvements and regulatory policies to ensure accountability of the observers.th_TH
dc.identifier.callnoWF200 ว849ก 2566
dc.identifier.contactno64-120
.custom.citationวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, Virasakdi Chongsuvivatwong, พลกฤต ขำวิชา and Ponlagrit Kumwichar. "การเพิ่มความรับผิดชอบและประสิทธิภาพของระบบการกำกับการกินยารักษาวัณโรคโดยใช้แอปพลิเคชั่นมือถือ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5970">http://hdl.handle.net/11228/5970</a>.
.custom.total_download39
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year31
.custom.downloaded_fiscal_year39

Fulltext
Icon
Name: hs3039.pdf
Size: 3.966Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record