• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยสื่อมวลชน

พัฒนพงส์ จาติเกตุ; Phatnapong Chatiket;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการโฆษณายากำจัดศัตรูพืชปรากฏอยู่ในสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อย และเป็นที่น่ากังวลว่าจะทำให้เกษตรกรเชื่อ งานวิจัยเรื่องการโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยสื่อมวลชนจึงเกิดขึ้นเพื่อค้นหาว่าเนื้อหาในการโฆษณานั้นเป็นอย่างไรบ้าง โดยใช้กรอบทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมแนวคิด 4P (Product Price Place และ Promotion) ในการตลาด และแนวคิดเกี่ยวกับการสปอนเซอร์มาศึกษา ผลการวิจัยพบว่าบริษัทยากำจัดศัตรูพืชใช้การโฆษณา 2 ประเภทคือการโฆษณาเพื่อจูงใจ (Persuasive advertisements) และการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล (Informative public relations) สำหรับเนื้อหาที่โฆษณานั้น เป็นการบอกสรรพคุณสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการอ้างอิงผู้นำทางความคิด มีลีลาการนำเสนอเพื่อให้คนจดจำตราสินค้าด้วยการเล่นคำและส่งเสริมการขายด้วยการชิงโชค นอกจากนี้ยังมีการสปอนเซอร์รายการมวยตู้ เพลงลูกทุ่ง รายการส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตรและข่าวประจำวันทางโทรทัศน์และนิตยสารเพื่อการเกษตรเพื่อเข้าถึงเกษตรกร ทั้งนี้บริษัทหลายแห่งยังทำการตลาดแบบกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม (Cause-related marketing) เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้การสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม การโฆษณายากำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่พยายามทำให้คนจดจำตราสินค้า (ยี่ห้อ) โดยการอวดอ้างสรรพคุณที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง การใช้พรีเซนเตอร์ที่ไม่ได้มีความรู้ด้านการเกษตรจริงมาเป็นผู้นำเสนอ และการเปิดให้มีการชิงโชค ด้านการสปอนเซอร์รายการนั้นก็เลือกรายการด้านความบันเทิง และคิดโครงการที่เพิ่มคุณค่าให้กับภาพลักษณ์ของบริษัท การควบคุมการโฆษณาอาจทำได้โดยการควบคุมผ่านรัฐบาลกลาง ด้วยการออกข้อบังคับหรือกฎหมายผ่านสมาคมธุรกิจด้วยการออกข้อบังคับ การปฏิบัติตามข้อตกลงสากล และการใช้มาตรการทางสังคม ด้วยการให้ความรู้อย่างกว้างขวาง และทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับสถาบันที่สนใจเรื่องพิษวิทยา เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น สำหรับงานวิจัยในอนาคตนั้นน่าจะมีการศึกษาการโฆษณายากำจัดศัตรูพืชผ่านวิทยุ และโฆษณาแฝงในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งรวบรวมองค์ความรู้ด้านยากำจัดศัตรูพืชในเชิงโครงสร้าง ภายใต้ประเด็นเรื่อง “การเมืองเรื่องยากำจัดศัตรูพืช” เพื่อเคลื่อนไหวเชิงนโยบายต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1220.pdf
ขนาด: 2.498Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 120
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV