แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ศึกษาทบทวนการพัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท

dc.contributor.authorสมภพ ประธานธุรารักษ์th_TH
dc.contributor.authorSompop Prathanturarugen_US
dc.contributor.authorพร้อมจิต ศรลัมพ์th_TH
dc.contributor.authorนพมาศ สุนทรเจริญนนท์th_TH
dc.contributor.authorธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์th_TH
dc.contributor.authorPromjit Saralampen_US
dc.contributor.authorNoppamas Soonthornchareonnonen_US
dc.contributor.authorTheeradech Uthaiwittayaraten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:07Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:47Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:07Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1184en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานโครงการศึกษาทบทวนการพัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทth_TH
dc.description.abstractบทความนี้นำเสนอสถานการณ์การวิจัยสมุนไพรโดยสะท้อนจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวาสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2543-2547 ในจำนวนงานวิจัยที่รวบรวมได้ 395 เรื่อง มี 223 เรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูลนานาชาติ ภาพรวมของงานวิจัยไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ชนิดสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ใดอย่างชัดเจน การวิจัยและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ตำรับยาหอม และการวิจัยองค์ความรู้หมอเมือง เป็นตัวอย่างของความพยายามเชื่อมโยงภูมิปัญญาสู่การใช้ประโยชน์ สำหรับกรณีศึกษาแนวทางในการพัฒนายาสมุนไพรอายุรเวทของอินเดีย ยาสมุนไพรจีน และตำรับยาคัมโปของญี่ปุ่นนั้น มีแนวทางการวิจัยที่วางอยู่บนรากฐานของทฤษฎีการแพทย์ของตนเองนั่นคือใช้ยาในรูปแบบตำรับยาซึ่งออกฤทธิ์แบบองค์รวม ใช้การควบคุมคุณภาพทางเคมีเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีการพัฒนาตำรับยาเตรียมในรูปแบบที่เหมาะสม แต่ยังคงยึดแนวทางตามกรรมวิธีดั้งเดิมไว้ และมีการประยุกต์ใช้แนวคิดตามทฤษฎีแพทย์แผนตะวันออกในการทดลองทางคลินิกเพื่อใช้ในการทดสอบประสิทธิผล ประเทศไทยควรมีหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายระดับชาติเกี่ยวกับบทบาทของสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านให้ชัดเจน หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยต้องกำหนดทิศทางการให้ทุนวิจัยที่ชัดเจนเพื่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ สอดคล้องและทันกับการปรับเปลี่ยนของบริบททางสังคม ควรส่งเสริมให้มีการให้ทุนวิจัยกับนักวิจัยที่มีศักยภาพเพื่อจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ จัดตั้งสถาบันวิจัยระดับชาติที่มีเป้าหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้บนรากฐานของภูมิปัญญาโดยเฉพาะ ควรมีการวิจัยเพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ของระบบการแพทย์ไทยต่างๆ ให้เป็นระบบ นอกจากนี้การวิจัยสมุนไพรตำรับบนพื้นฐานภูมิปัญญาไทยอาจเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของประเทศ ควรมีหน่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการวิจัย ให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยในการจดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และเชื่อมโยงผลการวิจัยสู่การพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม การให้การศึกษาและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาต่อบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน จะช่วยให้เจตคติของคนไทยต่อสมุนไพรเป็นไปในทิศทางที่เอื้อต่อระบบสุขภาพและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมากขึ้น เมื่อมีการนำสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในปัจจุบัน นั่นเองคือการจัดการความรู้ที่เกิดประโยชน์ซึ่งนำมาสู่การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทที่ดีที่สุด แต่การที่จะทำให้สมุนไพร การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านกลับมามีพื้นที่ทางสังคมอีกครั้งหนึ่ง คงต้องใช้วิธีการสื่อสารที่หลากหลายที่จะทำให้ทุกคนในแต่ละภาคส่วนของสังคมเข้าใจได้ บทความนี้เสนอให้เห็นว่าการวิจัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารนั้น ความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์จะนำมาสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAlternative Medicineen_US
dc.subjectMedicine, Traditional--Thailanden_US
dc.subjectMedicine, Herbalen_US
dc.subjectสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectวิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research)th_TH
dc.titleศึกษาทบทวนการพัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทth_TH
dc.title.alternativeReview on the strategy development of research and knowledge management for conservation, development, and protection of Thai traditional health wisdomen_US
dc.identifier.callnoWB925 ส271ศ 2548en_US
dc.identifier.contactno48ค032en_US
dc.subject.keywordThai traditional health wisdomen_US
dc.subject.keywordการแพทย์แผนไทยen_US
dc.subject.keywordการแพทย์พื้นบ้านen_US
dc.subject.keywordการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.subject.keywordมาตรการด้านวิจัยen_US
dc.subject.keywordภูมิปัญญาไทen_US
dc.subject.keywordสุขภาพวิถีไทen_US
.custom.citationสมภพ ประธานธุรารักษ์, Sompop Prathanturarug, พร้อมจิต ศรลัมพ์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์, Promjit Saralamp, Noppamas Soonthornchareonnon and Theeradech Uthaiwittayarat. "ศึกษาทบทวนการพัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1184">http://hdl.handle.net/11228/1184</a>.
.custom.total_download0
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0


ฉบับเต็ม

ไฟล์ขนาดรูปแบบดู

ขออภัย ไม่มีไฟล์ Full Text ติดต่อ 0 2027 9701 ต่อ 9038

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย