• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คุณลักษณะที่พึงประสงค์และการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ

นรินทร์ สังข์รักษา; Narin Sungrugsa;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
รายงานวิจัย คุณลักษณะที่พึงประสงค์และการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักสื่อสารสุขภาพ บทบาทที่คาดหวังของนักสื่อสารสุขภาพ เปรียบเทียบนักสื่อสารสุขภาพที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์แตกต่างกัน และการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ระดับลึก 30 คน การระดมความคิดเห็นเฉพาะเรื่องจำนวน 52 คน การจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นและการถอดบทเรียนจำนวน 49 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test LSD และ F-test การวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จำแนกหมวดหมู่และการถอดบทเรียน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 42.06 สถานภาพสมรสร้อยละ 69.92 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 65.46 เกือบทั้งหมดสำเร็จการศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และร้อยละ 48.47 ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข มีประสบการณ์ในการทำงาน 10-30 ปีร้อยละ 40.67 และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการสื่อสาร 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 23.40 มีรายได้ระหว่าง 20,000-29,999 บาท ร้อยละ 51.20 ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนร้อยละ 20.89 ได้รับการอบรม 2-5 ครั้ง ร้อยละ 49.33 การเห็นความสำคัญต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักสื่อสารสุขภาพทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่สูงที่สุด คือ ด้านทัศนคติและพฤติกรรมของนักสื่อสารสุขภาพ ร้อยละ 94.71 ส่วนรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ระดับมาก คือด้านความรู้และความสามารถของนักสื่อสารสุขภาพ ด้านทัศนคติและพฤติกรรมของนักสื่อสารสุขภาพ ตำแหน่งและอาชีพของนักสื่อสารสุขภาพ ด้านภาพลักษณ์ของนักสื่อสารสุขภาพ แนวทางการสร้างนักสื่อสารสุขภาพ ประโยชน์จากการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ รูปแบบของการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ วัตถุประสงค์และบทบาทของกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพและหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า บทบาทที่ถูกคาดหวัง ในด้านการถ่ายทอดความรู้และข่าวสารสุขภาพ ต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งมีความรักและความเชื่อในการเป็นผู้ถ่ายทอด การเป็นผู้นำเรื่องสุขภาพ ที่มีความสามารถในการโน้มน้าวและชักจูงในกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดกลยุทธ์การรณรงค์ การกระตุ้นเตือนประชาชนและสังคม ทำหน้าที่ในลักษณะของสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog) การบูรณาการสุขภาพเข้ากับงานอาชีพและชีวิตประจำวันและการยึดมั่นในจริยธรรม คุณลักษณะเฉพาะของนักสื่อสารสุขภาพ ประกอบด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ความรู้และทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการประสานงาน การมีมนุษยสัมพันธ์ มีบุคลิกภาพที่ดีและน่าเชื่อถือ รักการแสวงหาความรู้ มีจิตอาสา เป็นธุระแก่สังคมและยึดมั่นในคุณธรรม และมีจริยธรรมกำกับมิให้เป็นเหยื่อของสังคมบริโภคนิยม สังคมไทยยังต้องการการสื่อสารสุขภาพ จึงมีพื้นที่สำหรับนักสื่อสารสุขภาพ ทั้งในองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจเอกชน แต่อาจไม่ใช่ “ตำแหน่ง”ทางราชการเท่านั้น การสร้างนักสื่อสารสุขภาพอย่างมืออาชีพโดยมีการบูรณาการความรู้ในสาขาต่างๆ แล้วสร้างหลักสูตรสายตรง “การสื่อสารสุขภาพ” เน้นการผลิตบัณฑิตแบบคุณภาพ เป็นหลักสูตรปริญญาตรีหรือหลักสูตรต่อยอดในระดับบัณฑิตศึกษา การอบรมให้ความรู้เฉพาะด้านแก่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารสุขภาพ ทั้งความรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสาร การสอดแทรกความรู้และทักษะที่จำเป็นทางการสื่อสารให้เป็นรายวิชาหนึ่ง บรรจุอยู่ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกหลักสูตร การรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ มีความเป็นไปได้ ทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ การรวมกลุ่มมองจากบทบาทและความสนใจของกลุ่ม การมีแกนหลัก มีบทบาทและภารกิจ ที่ชัดเจนมีความสนใจในเรื่องที่สอดคล้องกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างสาขาวิชาชีพการรวมกลุ่มนั้น นั่นคือการสร้างข้อต่อหรือแกนขึ้นมา และสานต่อจนถึงระดับเครือข่ายจนเป็นพันธมิตร ประโยชน์ที่ได้จากการรวมกลุ่มเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การมีข้อมูลที่ทันสมัย การได้รับรู้ข่าวสาร และปรึกษาหารือร่วมกัน การยกระดับวิชาชีพจนเกิดองค์กรแห่งความร่วมมือกัน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1339.pdf
ขนาด: 1.708Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 143
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV