dc.contributor.author | ยอดพล ธนาบริบูรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | Yodphon Tanaboribun | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:17:50Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:44:20Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:17:50Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:44:20Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1192 | en_US |
dc.description | รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาคุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย | en_US |
dc.description.abstract | รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมบูรณ์คุณภาพของข้อมูลและเพื่อรวบรวม วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจราจร และความสัมพันธ์กับแนวโน้มการกระจายของปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลที่มี เพื่อการวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบข้อมูล โดยรายงานฉบับนี้ได้เสนอผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน และสถานการณ์อุบัติเหตุจราจรทางถนนในประเทศไทย นำเสนอแหล่งข้อมูลอุบัติเหตุ ซึ่งได้ครอบคลุมหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้เสนอถึงคุณลักษณะของข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอุบัติเหตุของหน่วยงานเหล่านี้ หลังจากนั้นได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้จากหน่วยงานเหล่านี้ร่วมกับข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาทำการวิเคราะห์และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ซึ่งผลการศึกษาคุณภาพข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลที่มีประโยชน์สูงสุดในการวิเคราะห์อุบัติเหตุในรายละเอียด คือ ข้อมูลดิบ ถึงแม้หน่วยงานหลักส่วนใหญ่จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลดิบทั้งในรูปแบบของรายงานและสื่ออิเล็คทรอนิกส์ แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เผยแพร่ข้อมูลดิบสิ่งที่เผยแพร่เป็นเพียงข้อมูลเชิงสถิติและ/หรือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว ทำให้ไม่สามารถนำไปพัฒนาใช้ในรายละเอียดอื่นๆ หรือการวิเคราะห์ในเชิงลึกได้ นอกจากนี้การเข้าถึงข้อมูลดิบของบางหน่วยงานยังพบอุปสรรคด้วยระเบียบและขั้นตอนต่างๆ ของหน่วยงานในอนาคตควรมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเผยแพร่ข้อมูลดิบบนสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น ในเว็บไซต์ดังที่ได้ปฏิบัติกันในต่างประเทศ นอกจากนี้ควรมีการพิจารณาที่จะพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกลางซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูลการเข้าถึง และการเผยแพร่ข้อมูล 2. จากการที่ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ จำนวนประชากรและจำนวนรถจดทะเบียนนั้น ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้เสนอดัชนีเพิ่มเติม คือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มาเป็นทางเลือกในการวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนน อย่างไรก็ดีจำนวนประชากรและจำนวนรถจดทะเบียนเป็นข้อมูลที่สืบค้นได้ง่าย และมีความเป็นสากลนิยมใช้กันทั่วโลก ดังนั้นรายงานฉบับนี้ได้เสนอการประยุกต์ใช้ดัชนีรถจดทะเบียนต่อประชากรซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุของประเทศ 3. จากการวิเคราะห์ความรุนแรงของอุบัติเหตุโดยใช้ดัชนีการเสียชีวิต (Fatality Index) แสดงให้เห็นว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจำนวนผู้บาดเจ็บต่ออุบัติเหตุจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นแต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน 4. เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตและการถือครองใบอนุญาตขับขี่ผลการวิเคราะห์ ยืนยันได้ว่าเพศชายมีอัตราความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าเพศหญิงเกือบสองเท่า 5. แม้ว่าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงและมีแนวโน้มจะลดลงเมื่อพื้นที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ออกไปแต่ในทางตรงกันข้ามอัตราการเสียชีวิตในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกลับมีอัตราน้อยที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่อยู่ห่างกรุงเทพฯ ออกไป 6. การศึกษานี้ได้เน้นความแตกต่างระหว่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลและช่วงเวลาปกติ โดยวิเคราะห์ปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ ที่อยู่ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทการเดินทาง และการใช้เข็มขัดนิรภัยและหมวกนิรภัย 7. นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียกตรวจยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสถานการณ์อุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการกำหนดยุทธศาสตร์และ/หรือมาตรการการตั้งด่านตรวจหรือจำนวนการเรียกตรวจของเจ้าหน้าที่ควรพิจารณาถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject | Health Administration | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | อุบัติเหตุทางถนน | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุจราจร | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุ | th_TH |
dc.title | คุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย | en_US |
dc.identifier.callno | WA275 ย174ค 2548 | en_US |
.custom.citation | ยอดพล ธนาบริบูรณ์ and Yodphon Tanaboribun. "คุณภาพของข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนและสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1192">http://hdl.handle.net/11228/1192</a>. | |
.custom.total_download | 247 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |