• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่วนงานเภสัชกรรม

พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร; Patcharaporn Panyawuthikrai;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัด ขนาดประมาณ 300 เตียง จัดเป็นสถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ ที่จะรับบริการจากการส่งต่อของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ แต่เนื่องจากต้องรับผิดชอบประชาชนในพื้นที่เขตอำเภอเมืองรอบๆ โรงพยาบาล โรงพยาบาลจึงได้พัฒนาสถานีอนามัย เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) จำนวน 5 แห่ง โดยไม่ได้เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนในโรงพยาบาล และเนื่องจากโรงพยาบาลได้ดำเนินการโครงการดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนที่บ้าน (home health care) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จึงได้ประสานกับแนวคิดของศูนย์สุขภาพชุมชน จัดเป็นทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน โดยวางแผนการเยี่ยมบ้าน เน้นที่ผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาต่อเนื่อง เป็นโรคเรื้อรัง เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรักษา หรือขาดการรักษา พร้อมกับจัดทำแฟ้มประวัติครอบครัว และขยายงานด้านการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ โรงพยาบาลได้จัดทีมรักษาเคลื่อนที่ หมุนเวียนไปให้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสาขาต่างๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง พร้อมกับจัดให้มีคลินิกพิเศษเฉพาะโรค สัปดาห์ละครั้งที่ศูนย์ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง งานด้านเภสัชกรรมที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ได้รับการสนับสนุน และสามารถเปิดบทบาทเชิงรุก ซึ่งลักษณะงานเภสัชกรรม ที่มีส่วนกับศูนย์สุขภาพชุมชน สามารถแบ่งได้เป็น 3 งานหลัก คือ 1. งานบริหารเวชภัณฑ์ เภสัชกรของโรงพยาบาลได้จัดวางระบบการบริหารเวชภัณฑ์ให้ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ความรู้ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีระบบในการเบิก-รับ-จัดเก็บยา มีการควบคุมและเก็บรักษายาที่ถูกต้อง พร้อมกับสามารถให้คำแนะนำเรื่องยา และการปฏิบัติตัว เมื่อมีผู้มารับบริการ 2. การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรจะช่วยคัดกรอง และค้นหาปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาก่อนที่จะพบแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาในลำดับถัดไป หรือต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานในส่วนนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน และการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน โดยเป็นการประสานการทำงานเชื่อมต่อของเภสัชกรทั้ง 3 ส่วน และประสานงานกับแพทย์และพยาบาล เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ 3. การส่งเสริมป้องกันและงานเชิงรุก ส่วนงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลประจวบฯ ได้จัดทำคู่มือค้นหาผู้ป่วย ช่วยให้สามารถค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงในบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และสามารถวางแผนการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยร่วมในการจัดกิจกรรม และการให้ความรู้ ทำให้ลดปัญหาที่เกิดจากโรคดังกล่าว
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0909.pdf
ขนาด: 487.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 207
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV