บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการให้ยา AZT เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกเปรียบเทียบการให้บริการในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล โดยมุ่งเน้นทั้งผู้ที่ให้บริการและผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่กรุงเทพมหานครในการให้ยา AZT แก่ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในสถานบริการของกรุงเทพมหานครอย่างเหมาะสมต่อไป ผลการศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 80 ของมารดา ได้ยา AZT ก่อนเจ็บครรภ์คลอด ร้อยละ 63.5 ของมารดาคลอดปกติทางช่องคลอด มารดา 130 คนหรือร้อยละ 24.6 ของมารดานัดผ่าตัดคลอด และผ่าตัดคลอดในมารดาที่คลอดปกติ ค่าเฉลี่ยของต้นทุนหัตถการ ค่ายาและค่าวัสดุทางการแพทย์ประมาณ 2,900 บาท ค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่าแรงประมาณ 3,250 บาท และค่าเฉลี่ยของต้นทุนทั้งหมดประมาณ 6,150 บาท สำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอด ค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่าหัตถการ ค่ายาและค่าวัสดุทางการแพทย์ประมาณ 6,000 ถึง 11,050 บาท ค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่าแรงประมาณ 3,550 ถึง 4,500 บาท และค่าเฉลี่ยของต้นทุนทั้งหมดประมาณ 9,550 ถึง 14,400 บาท สรุปผลการศึกษาได้ว่ามีผู้ป่วย 7 รายจาก 103 (6.8%) มีการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูก การให้ยา AZT ทำให้ต้นทุนแรงงานและต้นทุนรวมมีจำนวนมากขึ้นประมาณ 420 บาท และ ความแตกต่างระหว่างการให้ยา AZT 1 ครั้ง กับ 2 ครั้ง ส่งผลให้ต้นทุนรวม ประมาณ 1,900 บาท (แต่ การได้รับยา AZT 1 ครั้งกับไม่ได้รับยา ไม่มีความแตกต่างของต้นทุน) และพบว่ามารดาได้รับยา AZT ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนค่ายา ดังนั้นงบประมาณสำหรับการให้ยา AZT เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก นอกจากงบประมาณสนับสนุนด้านยา AZT ควรมีงบประมาณสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการ เช่น การตรวจ PCR
บทคัดย่อ
This is a descriptive cross-sectional study. The aim of this study is to find the cost-effectiveness of giving AZT to prevent the transmission of HIV from mother to child and to compare the result of this study to previous studies in the aspect of provider and consumer perspective. The information summarized from this study would be a policy implication for Bangkok Metropolitan Office for properly administration of AZT to HIV-infected pregnant women to prevent the transmission of HIV. Overall, 80 percent of mother received AZT before delivery. Normal delivery was accounted for 63.5% and 130 mothers (24.6%) were appointed for cesarean section and/or having cesarean section. In mother with normal delivery, average cost on procedures, medicines and medical consumables was 2,900 TBH, average cost on labor cost and all cost was 3,250 and 6,150 TBH respectively. In mother with cesarean section, average cost on procedures, medicines and medical consumables was 6,000-11,050 TBH, average cost on labor and all cost was 3,550-4,500 and 9,550-14,400 TBH respectively. Overall, 7 of 103 (6.8%) children were HIV positive. The administration of AZT in overall was not related to cost on procedures, medicines and medical consumables but was accounted for the increasing of labor and all cost by 420 TBH. The difference of having AZT once and twice before delivery was accounted for the increasing of all cost by 1,900 TBH, whilst there was no difference of all cost between giving AZT for one time and no AZT. So, it is suggested that the budget of giving AZT is not only for the cost of drug but also for the administration of drug such as PCR testing.