แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

dc.contributor.authorอมร รอดคล้ายth_TH
dc.contributor.authorAmorn Rodklaien_US
dc.contributor.authorสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจth_TH
dc.contributor.authorSuwat Wiriyapongsukitth_TH
dc.contributor.authorสุภัทร ฮาสุวรรณกิจen_US
dc.contributor.authorSupat Hasuwankiten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:09Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:29Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:09Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:29Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1240en_US
dc.description.abstractเหตุการณ์ก่อการร้าย 4 มกราคม 2547 โดยเริ่มจากการปล้นปืนค่ายทหารในจังหวัดนราธิวาส เป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรง เกิดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ความรุนแรงยังคงมีต่อเนื่อง จนเกิดเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 และตากใบ 25 ตุลาคม 2547 ภาวะความรุนแรงไม่เพียงส่งผลกระทบต่อประชาชน ยังส่งผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้สนับสนุนให้ดำเนินการโครงการศึกษาปัญหาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาการจัดระบบบริการสุขภาพ 2. เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตปัจจุบันและรูปแบบบริการสุขภาพในอนาคต โครงการนำวิธีการศึกษา ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาปรับใช้ และนำกระบวนการพัฒนามาใช้ทดสอบสำหรับประเด็นสำคัญที่ได้จากข้อมูลของการศึกษา และสร้างกลไกที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษา 1. เกิดผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการจัดบริการปฐมภูมิในพื้นที่ชนบท และปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลกรณีผู้ป่วยหนัก 2. บริการผู้ป่วยนอกในระดับสถานีอนามัยลดลง ในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยในมีจำนวนใกล้เคียงเดิมแต่ความรุนแรงของโรคมากขึ้น 3. บุคลากรสุขภาพเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว 4. เกิดการโยกย้ายของบุคลากรจากชนบทเข้าสู่เมือง จากเมืองในพื้นที่เสี่ยงสู่จังหวัดอื่น แนวทางในการแก้ปัญหาระยะสั้น การแก้ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการ สร้างระบบสนับสนุนในภาวะวิกฤต ทั้งด้านการปรึกษา การส่งต่อและจัดบุคลากรเสริม แนวทางในการแก้ปัญหาระยะยาว การสร้างและดำรงไว้ซึ่งภาวะสันติ การเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่โดยเฉพาะในชนบทได้มีการศึกษาทางด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุขมากขึ้น สนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรในปัจจุบัน สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดบริการสุขภาพ และระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม การพัฒนา Crisis Forum เพื่อข้อมูลที่ถูกต้อง – เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสื่อสารข้อมูลการพัฒนาระบบให้คำปรึกษาและการส่งต่อทางการแพทย์ – มีความร่วมมือและความพยายามแต่ยังมีปัญหาโครงสร้างและกรอบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน การพัฒนาองค์ความรู้การจัดบริการในภาวะวิกฤต - เกิดคู่มือความปลอดภัยสถานพยาบาลและบทเรียนสำหรับนำไปปรับใช้การพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องสำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โดยยังคงปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งขยายสถาบันสมทบฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านไปสู่โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดน ในการพัฒนาได้พัฒนาเนื้อหาการแพทย์กับวิถีมุสลิม (Muslim & Medicine) เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับบุคลากรสุขภาพ 5. เสนอข้อมูลเพื่อการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และการศึกษาต่อเนื่องของวิชาชีพต่างๆ : คณะแพทย์อยู่ในกระบวนการพัฒนาและจัดการเรียนการสอนใหม่ สำหรับ 3 จังหวัด คณะพยาบาลศาสตร์พัฒนาอาจารย์และเตรียมเปิดหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectNarathiwaten_US
dc.subjectPattanien_US
dc.subjectYalaen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectนราธิวาสen_US
dc.subjectปัตตานีen_US
dc.subjectยะลาen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeHealthcare system during violent crisis in the three southern border provinces, Thailand0en_US
dc.identifier.callnoW84 อ274ก 2548en_US
dc.identifier.contactno47ข039en_US
dc.subject.keywordHealthcare systemen_US
dc.subject.keywordการจัดระบบบริการสุขภาพen_US
.custom.citationอมร รอดคล้าย, Amorn Rodklai, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, Suwat Wiriyapongsukit, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ and Supat Hasuwankit. "การจัดระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1240">http://hdl.handle.net/11228/1240</a>.
.custom.total_download232
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1226.pdf
ขนาด: 1.349Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย