Social innovation : definition and key features in Thailand
dc.contributor.author | ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา | th_TH |
dc.contributor.author | Chuenruthai Kanchanachitra | en_US |
dc.contributor.author | วาสนา อิ่มเอม | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:13Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:40:03Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:13Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:40:03Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0950 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1247 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการดูงาน ให้ความหมายว่า นวัตกรรมสังคม คือ “สิ่งใหม่ๆ ทั้งที่เป็นกระบวนการทางความคิด (จินตนาการ) หรือการสร้างโอกาส หรือการลงมือปฏิบัติ (action) เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อทำให้สังคมดีขึ้น สิ่งใหม่ๆ นี้รวมถึงการปรับหรือพัฒนาบนฐานเดิมด้วย” ลักษณะร่วมของกิจกรรมหรือภารกิจที่เป็นนวัตกรรมสังคม คือ การเปิดพื้นที่ทางปัญญาและพื้นที่ทางสังคมให้กว้างขวางที่สุด เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิดร่วมสร้างของคนในสังคม/ชุมชน ไม่ใช่เกิดจากการสั่งการจากภายนอก เกิดจิตสำนึกร่วมต่อสาธารณะประโยชน์ต่อสังคมมาก่อนประโยชน์ส่วนตนหรือของกลุ่มมีพัฒนาการ ไม่เกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว แต่อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบอันเป็นผลจากการคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น และลงมือปฏิบัติ จากการศึกษาเอกสารถึงการดำเนินงานขององค์กรในประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนนวัตกรรมสังคมจำนวน 5 แห่งพบว่า ให้การสนับสนุนได้ทั้งปัจเจกบุคคล องค์กร หรือชุมชน โดยสนับสนุนหลายรูปแบบ ได้แก่ ให้เงินทุนทำกิจกรรม ให้ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ การจัดเวที สร้างเครือข่าย ตลอดจนการยกย่องสนับสนุนให้รางวัลนวัตกรรมสังคม โดยส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาการเกิดนวัตกรรมสังคม นับตั้งแต่การพัฒนาความคิด นำความคิดไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานและการขยายผลไปสู่ชุมชน/สังคมที่กว้างขึ้น ข้อเสนอการดำเนินงานของสำนักงานนวัตกรรมสังคม มีดังนี้ สำนักงานควรเน้นการสนับสนุนเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าเป็นความคิดใหม่ วิธีการใหม่ๆ กระบวนการใหม่ รูปแบบใหม่ ทั้งที่เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือพัฒนาจากสิ่งเดิม สร้างภาคีเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่ทำงานในลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อเชื่อมต่อกิจกรรม และประสานงานกัน สำนักงานควรเติมเต็มช่องว่างของการดำเนินงานเดิม ต่อยอดของเดิม และผสมผสานของใหม่และของเก่าเข้าด้วยกัน รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การสนับสนุนควรให้แก่ทั้งปัจเจกบุคคล องค์กร และชุนชน โดยมุ่งเน้นที่การมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ ไม่จำนนต่อปัญหา มีจินตนาการที่สร้างสรรค์ มีจิตใจสาธารณะ พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ กิจกรรมที่อาจดำเนินการได้คือ การค้นหา หรือเสนอชื่อผู้ที่เข้าข่ายเป็นนวัตกรสังคม ให้การสนับสนุนเพื่อให้พัฒนาความคิด สนับสนุนการนำความคิดไปทดลองปฏิบัติ สนับสนุนการขยายผล โดยการสนับสนุนมีทั้งในรูปเงินทุน วิชาการ การจัดเวที การสร้างเครือข่าย เป็นต้นการให้การสนับสนุนควรอยู่บนปรัชญา 3 ประการคือ เป็นการทำงานแนวราบ ทำงานเชิงรุกมากขึ้น สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน สิ่งที่ไม่น่าจะเข้าข่ายนวัตกรรมสังคม คือ สิ่งที่เป็นของเดิม เรื่องเดิมที่รู้กันทั่วไป สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตน กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือตามแฟชั่น สิ่งที่เกิดจากการสั่งการ หรือจากภายนอก | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 586296 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | นวัตกรรมสังคม : การให้ความหมายและลักษณะกิจกรรมในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Social innovation : definition and key features in Thailand | en_US |
dc.description.abstractalternative | Social innovation: definition and key features in Thailand This paper is based on the information obtained from related Thai documents, interviews and study visit. Social innovation is defined as “Anything new whether in the form of ideas, imaginations, opportunities, or actions to solve problems or to make a better society. These new things include the improvement of or those based on existing things.” Key features of social innovation include:Opening and enhancing space for wisdom and societyInitiated by individuals, organizations or communities to solve their own problems, not because of the external controlRaising public conscience for the benefit of the society as a whole preceding individual’s or group’s benefitHas dynamic development with prolong existence in which the form or pattern may change as a result of creativity, commitment and action A review of five organizations supported social innovation in Thailand suggested that social innovators could be individuals, organizations or communities. The supports obtained include project funding, personal allowance, academic assistance, forum or network building, and awards given. The supports could be given at any stage of the innovation development i.e idea development, testing, implementation, expansion to a broader society. Suggestions for the operation of the Social Innovation OfficeThe Social Innovation Office should emphasize support given to any new ideas, new methods, new strategies/models, and new opportunities including new existence or developed on what existed.Facilitate network building among related organizations to avoid duplication and to support each other.Fill in the gap of existing operation, built on current existence and integrate old and new operations including coordination with related agencies.Supports can be provided to individuals, organizations and communities focuses on those with the following five features: do not give up easily, have imagination and recreation, has public conscience, readiness to take action, ability to communicate with others.Potential activities for the office to provide the support include searching for social innovators (SIs), support SIs to develop new ideas, support SIs to implement or test the new ideas, and support expansion of the innovation to a wider society. Support can be given in forms of financial support, technical support and network building.Three guiding principles of the office to consider when providing support are: (1) creating horizontal relationship between the office and SIs (2) working in a more proactive direction and (3) promoting enabling environment for innovative culture society.Exclude support of activities that are not social innovation including: already well-known ideas, activities or models, activities that are beneficial to individuals/groups, activities implemented on an ad hoc basis, top-down originated activities. | en_US |
dc.identifier.contactno | 46ค009 | en_US |
dc.subject.keyword | Social Innovation | en_US |
dc.subject.keyword | นวัตกรรมสังคม | en_US |
.custom.citation | ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, Chuenruthai Kanchanachitra and วาสนา อิ่มเอม. "นวัตกรรมสังคม : การให้ความหมายและลักษณะกิจกรรมในประเทศไทย." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1247">http://hdl.handle.net/11228/1247</a>. | |
.custom.total_download | 331 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 19 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย