dc.contributor.author | ชาติชาย มุกสง | th_TH |
dc.contributor.author | Chatchai Muksong | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:24Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:41:06Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:24Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:41:06Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.other | hs1237 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1268 | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อสุขภาพ : ศึกษากรณีน้ำตาลระหว่างพ.ศ. 2504-2539 | en_US |
dc.description.abstract | รายงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาน้ำตาลในฐานะเป็นวัตถุที่เข้ามาสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทย โดยมุ่งจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคน้ำตาลทรายในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504-2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การผลิตและการบริโภคน้ำตาลทราย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตน้ำตาลทรายได้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกและตรงกันกับการเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ที่สังคมไทยได้ตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคน้ำตาลทรายต่อสุขภาพอย่างชัดเจนขึ้น โดยพยายามแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคน้ำตาลทรายนั้นเป็นผลพวงมาจากพลวัตทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทยโดยรวม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการผลิตน้ำตาลทรายในระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตจำนวนมาก ให้จำหน่ายได้อย่างทั่วถึงและสามารถนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ได้ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดการบริโภคน้ำตาลทรายทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้นในสังคม การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันอันเป็นผลมาจากระบบการผลิตทางเศรษฐกิจและระบบการเมืองก็ทำให้กาลเทศะของการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง วัตถุและเทคโนโลยีในสังคมก่อให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมหรือวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้น อันส่งผลต่อการบริโภคในภาพรวมและโดยเฉพาะการบริโภคน้ำตาลและรสหวานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย วัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่จากวิถีชีวิตทันสมัยที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมไทยเกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังจากนโยบายการพัฒนาประเทศ เมื่อสี่ทศวรรษก่อนและสภาวการณ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จนฐานะของพลเมืองกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ฐานะของผู้บริโภค ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าต่างๆ ในตลาดที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้น พร้อมกับการผลิตสัญญะของวัฒนธรรมมาสวมทับลงบนตัวสินค้า ยิ่งทำให้กระบวนการผลิตและบริโภคในสังคมทุนนิยมเกิดการขยายตัวอย่างมาก และสินค้าที่มีสัญลักษณ์ของความทันสมัย อาทิ ฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลังพวก ชา กาแฟ รวมทั้งของกินไม่เป็นมื้ออย่างขนมและไอศกรีม กลายเป็นสินค้าที่ผู้คนบริโภคกันเป็นปกติในวิถีชีวิตประจำวัน ประเด็นที่สำคัญคือสินค้าเหล่านั้นล้วนมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่ทั้งสิ้น จึงเท่ากับเป็นการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมกันมากขึ้นตามไปด้วย จุดเปลี่ยนสำคัญของการบริโภคน้ำตาลทรายในสังคมไทยเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายทศวรรษ 2530 เมื่อวิธีคิดเรื่องสุขภาพได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริโภคน้ำตาลทรายอย่างชัดเจน จากเดิมที่เคยมองว่าน้ำตาลทรายเป็นสารอาหารให้พลังงานประจำวันที่สำคัญ ด้วยการให้ความหมายใหม่เป็นสารอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพและความสวยงามของรูปร่าง ก่อให้เกิดกระแสการบริโภค “ไร้น้ำตาล” ขึ้น อันสื่อความหมายถึงการบริโภคความหวานที่เปลี่ยนไป จากการบริโภคน้ำตาลทรายในฐานะสารอาหารไปเป็นการบริโภครสชาติความหวานของน้ำตาลทรายจากสารทดแทนความหวานหรือน้ำตาลเทียมแทน ขณะเดียวกันระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมก็ได้ปรับตัวโดยการผลิตสินค้าไร้น้ำตาลมาตอบสนองตลาด ด้วยการนำเอาสัญญะของการมีสุขภาพ หรือรูปร่างดีจากการไม่กินน้ำตาลทรายมาสวมทับความหมายใหม่ในตัวสินค้า เพื่อให้ระบบการผลิตและการบริโภคสินค้าในสังคมทุนนิยมที่ทำทุกอย่างเป็นสินค้าสามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้รายงานวิจัยนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของวัตถุในชีวิตประจำวันที่ต้องอาศัยการมองการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นภาพรวม และเป็นผลจากความเป็นพลวัตกันของระบบความสัมพันธ์ทั้งระบบของสังคม ทั้งที่เกิดจากมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับวัตถุที่เข้ามาสัมพันธ์กับโลกประจำวันของผู้คนในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งชี้ให้เห็นผ่านการศึกษาวัตถุในชีวิตประจำวันเช่นน้ำตาลทรายนั่นเอง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Empowerment | en_US |
dc.subject | Consumer Satisfaction | en_US |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภค | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อสุขภาพ : ศึกษากรณีน้ำตาลระหว่างพ.ศ. 2504-2539 | th_TH |
dc.title.alternative | Change in consumption pattern and its effect on health : A case study of sugar consumption between 1961-2996 | en_US |
dc.identifier.callno | WA288 ช518ก 2548 | en_US |
dc.identifier.contactno | 47ข003 | en_US |
dc.subject.keyword | consumption pattern | en_US |
dc.subject.keyword | Health | en_US |
dc.subject.keyword | Sugar Consumption | en_US |
dc.subject.keyword | รูปแบบการบริโภค | en_US |
dc.subject.keyword | น้ำตาล | en_US |
.custom.citation | ชาติชาย มุกสง and Chatchai Muksong. "การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อสุขภาพ : ศึกษากรณีน้ำตาลระหว่างพ.ศ. 2504-2539." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1268">http://hdl.handle.net/11228/1268</a>. | |
.custom.total_download | 186 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |