• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความรู้ อำนาจ และระบบราชการ : บทวิเคราะห์วัฒนธรรมสาธารณสุข

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์; Komatra Chuengsatiansup;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิเคราะห์วัฒนธรรมราชการในระบบบริหารงานสาธารณสุข โดยมุ่งทำความเข้าใจกระบวนการทางวัฒนธรรมที่ทำให้ความรู้ ความคิดอ่านและการใช้เหตุผลในลักษณะต่างๆ มีอิทธิพลต่อการบริหารงานและประสบการณ์การทำงานประจำวันในระบบราชการสาธารณสุข การศึกษาชิ้นนี้วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญสุดสองประการในการบริหารงานสาธารณสุข นั่นคือ ความรู้และอำนาจ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่กำหนดการตัดสินใจ ความมีประสิทธิภาพ และแบบแผนการปฏิบัติงานของระบบราชการ การศึกษาพบว่าในราชการสาธารณสุขนั้น ความรู้ที่แฝงเร้นอันเป็นความรู้เชิงวัฒนธรรมนั้น มีผลอย่างสำคัญต่อประสบการณ์การทำงานราชการสาธารณสุข ความรู้ที่แฝงเร้นนี้เป็นระบบการให้เหตุผลหรือตรรกะเชิงวัฒนธรรมที่ควบคุมกำกับวิธีคิดและแบบแผนการปฏิบัติของข้าราชการทั่วไป ในการกระทำหรือมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในงานประจำ ตรรกะเชิงวัฒนธรรมได้กลายเป็นฐานรากของความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของข้าราชการ ซึ่งทำให้สิ่งต่างๆ มีตำแหน่งแห่งที่และมีกาลเทศะเฉพาะที่ถือว่าเป็นปรกติวิสัยในหมู่ข้าราชการ ตรรกะเชิงวัฒนธรรมนี้ดำรงอยู่โดยผู้คนในระบบราชการมักไม่รู้สึกตัวและถือกันว่าเป็นเช่นนั้นโดยไม่ต้องตรวจสอบหรือแก้ไข และแม้ว่าระบบราชการจะสร้างความอึดอัดขัดข้องหรือความไม่พอใจให้แก่ข้าราชการที่ต้องการทำงานให้ดี แต่ความเป็นจริงของระบบราชการมักทำให้ข้าราชการที่ดีเหล่านี้อยู่ในสภาวะหมดอำนาจที่จะต่อรองหรือหมดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ การศึกษาชิ้นนี้ยังได้ศึกษาถึงอำนาจในระบบราชการโดยการวิเคราะห์กรณีทุจริตยาและเวชภัณฑ์ 1,400 ล้านบาท ที่สั่นสะเทือนกระทรวงสาธารณสุขในระหว่างปี พ.ศ. 2541-2542 และพบว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นซึ่งมีนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงหลายคนมีส่วนร่วมนั้น เป็นผลลัพธ์มาจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรในโครงสร้างการบริหารงานสาธารณสุข มีการสร้างพิธีกรรมและความเป็นทางการขึ้นในระบบการปฏิบัติราชการที่ขับเน้นระบบอำนาจและความสัมพันธ์แนวดิ่ง วัฒนธรรมแห่งอำนาจที่ก่อตัวขึ้นทำให้การตัดสินใจและการบริหารเป็นการรวมศูนย์และจำกัดวงอยู่ในแวดวงคนใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ แต่ระบบแห่งอำนาจนี้มิได้อาศัยการควบคุมกำกับหรือการลงโทษทางวินัยเป็นฐาน แต่เป็นระบอบที่อาศัยความหย่อนยาน การไม่รับผิดชอบต่อสาธารณะ และการสร้างความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์เป็นฐานสำคัญของการสถานปนาอำนาจของคนกลุ่มหนึ่งขึ้น จากบริบทที่วัฒนธรรมแห่งอำนาจเฟื่องฟูนี้เองที่ทำให้การคอร์รัปชั่นที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สาธารสุขไทยเป็นไปได้ การศึกษาชิ้นนี้เสนอว่า ความรู้ที่แฝงเร้นหรือความรู้เชิงวัฒนธรรมที่กำกับพฤติกรรมและการปฏิบัติของราชการนั้น จำเป็นต้องถูกเปิดเผยให้ความรู้ที่ถูกตรวจสอบจากสังคม หากระบบราชการจะได้รับการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพและความพร้อมรับผิดชอบมากขึ้น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0900.pdf
ขนาด: 1.620Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 166
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV