• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินความยั่งยืนของกระบวนการสื่อสาร ทางสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ; Suttilak Smitasiri; ธรา วิริยะพานิช; อรพินธ์ บรรจง; อทิตดา บุญประเดิม; จรณะ ทรัพย์สุวรรณ; วันเพ็ญ รัศมีโสภาพร;
วันที่: 2539
บทคัดย่อ
การประเมินความยั่งยืนของกระบวนการสื่อสารทางสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายงานวิจัยนี้เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ดำเนินการ คือ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษหลังจากโครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอสูง(ในช่วงปี 2531-2534 โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ) โดยประเมินจากการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอสูง ระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม และปัจจัยที่เอื้อ/ไม่เอื้อต่อความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงที่ประสงค์ โดยอาศัยวิธีการทางด้านโภชนาการและด้านสังคมศาสตร์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบกัน ผลของการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินการของโครงการฯ ยังคงมีการพัฒนาการของการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอสูงอีกทั้งไขมัน ต่อเนื่องหลังจากโครงการสิ้นสุดลงไปแล้วเป็นเวลา 4 ปี โดยยังคงมีระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมดีขึ้น หรือไม่แตกต่าง การพัฒนาในทางที่พึงประสงค์นี้คาดว่าเกิดจากยุทธศาสตร์ของโครงการฯ ซึ่งนำเสนอเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อว่าสามารถทำได้ และมีทรัพยากรที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งการดำเนินการในช่วงโครงการมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่ง ซึ่งมีพฤติกรรมต่อเนื่องถือเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่ในชุมชน และคาดว่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของทั้ง Demand/Supply ของอาหารที่มีวิตามินเอสูงในพื้นที่นี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเข้มแข็งของระบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลัง การดำเนินโครงการ และพบว่ามีความอ่อนแอในระบบนี้ ซึ่งอาจเป็นผลต่อศักยภาพความยั่งยืนของโครงการที่สำคัญคือ ความเชื่อมโยงที่จะก่อให้เกิดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐ ในพื้นที่และชุมชนยังไม่ดีพออีกทั้งยังมีจุดอ่อนในการทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในการเปลี่ยนแปลง การศึกษานี้ผู้วิจัยได้เสนอให้มีการดำเนินการเพิ่มเติมในพื้นที่ดังกล่าวโดย เน้นการลดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งของระบบได้แก่ การเสริมการดำเนินงานในองค์กรชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนในการเปลี่ยนแปลง และหารูปแบบของการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐตามที่เหมาะสม
ฉบับเต็ม

ขออภัย ไม่มีไฟล์ Full Text ติดต่อ 0 2027 9701 ต่อ 9038


จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 0
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV