แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลบางกรวย

dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกรth_TH
dc.contributor.authorPatcharaporn Panyawuthikraien_US
dc.contributor.authorคทา บัณฑิตานุกูลth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:32Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:32Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0908en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1291en_US
dc.description.abstractสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ/ศูนย์สุขภาพชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลกรวย โรงพยาบาลบางกรวยเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ในเขตจังหวัดนนทบุรี ซึ่งจัดเป็นชุมชนเมือง ได้รับนโยบายเรื่องสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) โดยได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ ในเบื้องต้น จำนวน 6 แห่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ 1. ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ต้นแบบ คือ ศูนย์สุขภาพชุมชน สาขาหมู่บ้านสมชาย ที่โรงพยาบาลได้ออกทุน และดำเนินการจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยเลือกสถานที่ในชุมชน อยู่หน้าหมู่บ้าน และมีตลาดย่อยใกล้ๆ พร้อมออกแบบสถานที่ให้ดูทันสมัย เพื่อจูงใจ และสร้างความยอมรับในผู้รับบริการ มีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลลงไปปฏิบัติงานที่ศูนย์ โดยใช้หลักเวชปฏิบัติ และการเยี่ยมบ้าน สำรวจชุมชน เน้นที่งานส่งเสริมป้องกัน งานด้านการรักษาพยาบาลจะเป็นเฉพาะระดับเบื้องต้น หรือเท่าที่จำเป็น เพราะสามารถส่งต่อให้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลบางกรวยได้อย่างสะดวก เว้นแต่งานด้านทันตกรรม ที่ศูนย์ฯ ได้ลงทุนอุปกรณ์และเทคโนโลยี เพราะยังมีอุปทานอีกมาก ทั้งยังเป็นจุดขาย และจุดแข็งของโรงพยาบาลด้วย อย่างไรก็ดี จะต้องรอดูผลการดำเนินการอีกระยะ ถ้ายังคงแนวคิดและหลักการของเวชปฏิบัติ และการส่งเสริมป้องกันเป็นหลัก พร้อมกับมีรูปธรรมของการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ ที่ลงชุมชนเป็นแบบอย่าง ควบคู่ไปกับกิจกรรมสร้างทัศนคติในการสร้างสุขภาพ ศูนย์สุขภาพชุมชน สาขาหมู่บ้านสมชาย จะเป็นรูปแบบหนึ่งของศูนย์สุขภาพชุมชน สำหรับชุมชนเมือง 2. ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ในโรงพยาบาลบางกรวย ไม่ได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนหรือหน่วยแยกต่างหากเป็นกรณีพิเศษ ประชาชนทุกรายที่มารับบริการ จะผ่านเข้าสู่ระบบบริการของโรงพยาบาลเหมือนกันทุกราย การบันทึกแยกสิทธิประโยชน์ที่มีเป็นเพียงขั้นตอนการเก็บข้อมูล นอกจากนี้การรักษา ยา อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นไปตามรายการของโรงพยาบาล มีบัญชีรายการเดียวสำหรับผู้ป่วยทุกประเภท ไม่ได้จำกัดสิทธิเฉพาะในบัญชียาหลัก จากการสอบถามผู้มารับบริการ จะค่อนข้างพอใจ และประเมินว่าโรงพยาบาลบางกรวย มีการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นมาตรฐานเดียว และผู้มารับบริการยินดีจ่ายเงินส่วนเพิ่มเอง อย่างไรก็ดีทางโรงพยาบาลยังไม่ได้แยกสัดส่วนของผู้รับบริการเฉพาะส่วนที่รับผิดชอบจริง ส่วนศูนย์สุขภาพชุมชน เน้นงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ทำให้ยอดผู้มารับบริการจะสูงกว่าศูนย์ฯ อื่น 3. ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ที่ยกระดับมาจากสถานีอนามัย จากการเก็บข้อมูลสังเกตการณ์ ยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนของการดำเนินการ ปัญหาที่พบคล้ายกับศูนย์สุขภาพชุมชนที่เป็นสถานีอนามัยเดิมแห่งอื่นๆ ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ในการดำเนินการช่วงต้นของโรงพยาบาลบางกรวย คือเป็นสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่ทำงานโดยใช้บ้านเป็นฐานการดูแล ก่อให้เกิดการดูแลสุขภาพเป็นองค์รวม และตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ที่มีทักษะที่ดีในการให้คำปรึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูล และสนับสนุนให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองของประชาชน ใช้กระบวนการเวชปฏิบัติครอบครัว และกลยุทธ์การเยี่ยมบ้าน ที่สามารถส่งต่อ เพื่อการรักษาต่อเนื่องth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent685007 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPrimary Careen_US
dc.subjectบริการปฐมภูมิen_US
dc.subjectสถานบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectศูนย์สุขภาพชุมชนen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลบางกรวยth_TH
dc.title.alternativeCommunity Health Centre : Case Study of Bangreuw Hospitalen_US
dc.identifier.callnoW84.6 พ518ส 2545en_US
dc.identifier.contactno45ค053en_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลบางกรวยen_US
.custom.citationพัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร, Patcharaporn Panyawuthikrai and คทา บัณฑิตานุกูล. "สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลบางกรวย." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1291">http://hdl.handle.net/11228/1291</a>.
.custom.total_download211
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0908.pdf
ขนาด: 737.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย