• TH
    • EN
    • Register
    • Login
    • Forgot Password
    • Help
    • Contact
  • Register
  • Login
  • Forgot Password
  • Help
  • Contact
  • EN 
    • TH
    • EN
View Item 
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • View Item
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Current situation of the antimicrobial resistance in Thailand : a review

วัชรี โชคจินดาชัย; Watcharee Chokejindachai;
Date: 2550
Abstract
อัตราการดื้อยาต้านจุลชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยคุกคามการควบคุมโรคติดเชื้อ เมื่อเชื้อเกิดการดื้อยาขึ้นในกลุ่มประชากรหนึ่ง มันสามารถแพร่ระบาดไปทั่วภูมิภาคได้ ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพมีความรุนแรงโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนไม่สามารถเข้าถึง หรือไม่สามารถรับภาระราคายาที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าการรักษาขั้นพื้นฐานเดิม เพราะการเปลี่ยนยาตามความไวของเชื้อมักต้องใช้ยาที่มีราคาสูงขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ภาวะเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นความท้าทายระดับโลก ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นปัญหาสำคัญสำหรับรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่ายาต้านจุลชีพที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สูญเสียความไวในการต้านเชื้อรวดเร็วเกินไป ในประเทศไทยมีการนำโครงการและกิจกรรมมากมายมาใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์เชื้อดื้อยา แต่มีหลักฐานของความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย การศึกษานี้เพื่อบอกขนาด และแนวโน้มของปัญหาสถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ความพยายามในอดีตและปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งพยายามสรุปองค์ความรู้ที่ยังไม่มีคำตอบ และแนวนโยบายที่พอจะเป็นไปได้ท้ายที่สุด รายงานฉบับนี้พยายามนำเสนอตัวอย่างของแรงจูงใจอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้ป่วย แพทย์ โรงพยาบาล บริษัทยาได้ตระหนักถึงปัญหา และใช้ยาอย่างเหมาะสม มีความเป็นไปได้ของการใช้นโยบายจำกัดการเบิกค่ารักษาพยาบาล เพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพเกินความจำเป็น ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพ แพทย์และสมาคมวิชาชีพแพทย์ต่างๆควรยอมรับแนวทางการรักษา ที่ไม่เอื้อต่อการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐบาลควรส่งเสริมโครงการต่างๆอย่างชัดเจน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ หรือผลักดันโรงพยาบาลต่างๆให้มีการควบคุมการติดเชื้อดีขึ้น และส่งเสริมผู้ผลิตยาให้มีการวิจัยค้นคว้ายาใหม่ๆ การรณรงค์ในภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม รับรู้ปัญหาการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ มีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหานี้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
Fulltext
Thumbnail
Name: he0112.pdf
Size: 330.4Kb
Format: PDF
Download

User Manual
(* In case of download problems)

Total downloads:
Today: 0
This month: 0
This budget year: 3
This year: 1
All: 437
 

 
 


 
 
Show full item record
Collections
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Privacy Policy | Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV
 

 

Browse

HSRI Knowledge BankDashboardCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsSubjectsการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Privacy Policy | Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV