บทคัดย่อ
การปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ กรณีศึกษา พ.ศ.2538 : an enquiry on civil servant medical benefit scheme: the case of Phitsanulok Province 1995การศึกษานี้เป็นการวิจัยจากเอกสารโดยเฉพาะเอกสารทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ วิเคราะห์การใช้จ่ายงบกลางค่ารักษาพยาบาล ในปีงบประมาณ 2536-38 อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน ปี 2537 รวมทั้งโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลอกชน จำนวนวันป่วยเฉลี่ย และการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยใน ของข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ และบุคคลในครอบครัว โดยเลือกศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ก.ค่ารักษาพยาบาล 1. ค่ารักษาพยาบาลที่เบิกจากคลังจังหวัดเท่ากับ 211.054 ล้านบาท, 267.335 ล้านบาท และ 290.761 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2536, 2537 และ 2538 ตามลำดับ โดยที่ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยในที่เป็นข้าราชการและบุคคลในครอบครัว (ต่อไปจะใช้คำว่าข้าราชการฯ) มีสัดส่วนสูงสุดระหว่างร้อยละ 67 ถึง ร้อยละ 70 ของรายจ่ายทั้งหมด 2. สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในนั้น ส่วนแบ่งโรงพยาบาลเอกชนเท่ากับร้อยละ 56, ร้อยละ 57 และร้อยละ 38 ในปีงบประมาณ 2536-38 ตามลำดับ โดยรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดตัวอย่างสูงกว่าค่าเฉลี่ย ทั่วประเทศกว่า 2 เท่า 3. มีความแตกต่างอย่างมากของค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งการเบิกผู้ป่วยนอกในแต่ละ ส่วนราชการ โดยมีค่าเฉลี่ยของทั้งจังหวัดเท่ากับ 511 บาทต่อครั้งการเบิก สำหรับผู้ป่วยนอกที่เป็นข้าราชการบำนาญและบุคคลในครอบครัว(ต่อไปจะใช้คำว่าข้าราชการบำนาญฯ) ค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งการเบิกเท่ากับ 1,802 บาท ข.อัตราการใช้บริการของผู้มีสิทธิ์ 1 คนต่อปี ในปี 2537 1.ข้าราชการฯ รวมอัตราการใช้บริการผู้ป่วยในเท่ากับ 0.30 ครั้งต่อคนต่อปี โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลถึง 5 เท่า2. ข้าราชการบำนาญฯ รวมอัตราการใช้บริการผู้ป่วยในเท่ากับ 1.16 ครั้งต่อคนต่อปีโดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 2.8 เท่า ค.งบประมาณอุดหนุนต่อผู้มีสิทธิ์ 1 คนต่อปี ในปี 2537 ข้าราชการฯ งบประมาณอุดหนุนต่อผู้มีสิทธิ์ 1 คนต่อปี เท่ากับ 1,667 บาท ข้าราชการบำนาญฯ เท่ากับ 3,608 บาท ง.การใช้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนของข้าราชการสังกัด สปจ. การใช้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน โดยเจ้าตัวสำหรับข้าราชการฯ คิดเป็น ร้อยละ 32 สำหรับข้าราชการบำนาญฯ เท่ากับ ร้อยละ 71 ผู้วิจัยเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบอนุรักษ์นิยม โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพ การกำกับการ การตรวจสอบ โดยกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบในการเฝ้าระวังส่วนราชการผู้เบิกที่มีอัตราการใช้บริการทั้งผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยในสูงผิดปกติ โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในส่วนภูมิภาค เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและข้อบ่งชี้ของการนอนโรงพยาบาล ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังต่อไป