dc.contributor.author | หทัยชนก บัวเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Hathaichanok Buacharoen | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:40Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:46:05Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:40Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:46:05Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.other | hs0907 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1303 | en_US |
dc.description.abstract | โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นมีพัฒนาแนวคิดจะเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดเวชปฏิบัติภายใต้การขยายห้องตรวจ ปรับมาเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาท จนนำแนวคิดการรับรองคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการ (HA) ทำให้การออกแบบโครงสร้างหน่วย PCU ของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นจะมีหลากหลายเช่น หน่วย PCU ในโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชนภายใต้การกำกับของโรงพยาบาล และเทศบาล และสถานีอนามัย ทั้งนี้เงื่อนไขการพัฒนาหน่วยบริการคือ PCU ในเขตเทศบาลจะต้องแยกออกจากหน่วย OPD เสริมทีมการทำงานในชุมชน ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร มีเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาล จัดบุคลากรให้เพียงพอภายใต้ผู้บริหารจัดการที่เก่งสามารถเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสร้างกระบวนทัศน์การทำงานเพื่อประชาชน ส่วน PCU นอกเขตเทศบาลจะต้องมีการสร้างกระบวนทัศน์ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ให้ขวัญกำลังใจในการทำงาน และเปิดเวทีแสดงศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ 2) หลักการจัดกิจกรรมบริการยังคงเป็นการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพตามโรคและอาการที่ปรากฏ การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคของ PCU นอกเขตเทศบาลมีความชัดเจนในการทำงานชุมชนและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะเครือข่ายของการดูแลสุขภาพร่วมกัน ซึ่งจะมีบริการกิจกรรมสุขภาพครบวงจร กิจกรรมสุขภาพชุมชน และกลยุทธ์ในการการควบคุมคุณภาพบริการคือระบบนิเทศงาน การประชุมร่วมกันทุกเดือน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบบันทึกข้อมูลจากแฟ้มครอบครัว 3) หลักการจัดบุคลากร และการสนับสนุนบุคลากร CUP จะส่งพยาบาลวิชาชีพไปประจำที่หน่วย PCU ส่วนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร จะจัดตามอัตรากำลังที่มีอยู่เป็นลักษณะการหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ชัดเจน 4) การบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ จ่ายตามรายหัวโดย CUP จะเป็นผู้จ่ายให้ PCU หลังจากการหักค่าเวชภัณฑ์ ยา และวัสดุ จากนั้นจะจ่ายตามอัตรา 40% แรกรับได้ 40% จ่ายตามภาระงาน และ 20% จ่ายตามโครงการ 5) ความเชื่อมโยงในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิระหว่างวิชาชีพ หน่วยบริการสุขภาพระดับต่างๆ และองค์กรในชุมชนของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นจะมีแต่ระบบการส่งต่อเพื่อการรักษาโดย CUP มีหน่วยกู้ชีพที่คอยประสานงาน ระบบการจัดสรรทรัพยากรการเบิกจ่ายาเวชภัณฑ์จาก CUP ระบบข้อมูลข่าวสารจากแฟ้มครอบครัว ส่วนการติดต่อหน่วยงานอื่นๆ ยังไม่ชัดเจน 6) ยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิจะต้องพัฒนาแนวคิด ปรับกระบวนทัศน์ เสริมความเข้าใจมิติทางสังคมวัฒนธรรม ใช้องค์ความรู้การวิจัยและพัฒนา ปรับระบบการบริหารจัดการให้เป็นเครือข่าย สนับสนุนงบประมาณ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 7) ความหมายของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นบริการแบบองค์รวม เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ บริการเชิงรุกอย่างต่อเนื่องทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม 8) บทบาทและขอบเขตของวิชาชีพของพยาบาล และฐานองค์ความรู้ในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโดยเป็นผู้ให้บริการเชิงรุก ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น ดูแลฟื้นฟูสภาพ ประเมินภาวะสุขภาพและภาวะคุกคามสุขภาพ ผู้ประสานงาน ผู้จัดการที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุน ให้ความรู้ คำปรึกษา คำแนะนำ และปกป้องพิทักษ์สิทธิ์ประชาชน ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกลยุทธ์ในการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิคือ ระบบนิเทศงาน ระบบพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการทำงาน และระบบพัฒนาวิชาการ ดังนั้นเงื่อนไขของการพัฒนาหน่วย PCU คือ พัฒนาระบบการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยมีการประสานงานระหว่างทีมในการผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการคู่สัญญาอย่างต่อเนื่อง พัฒนากระบวนทัศน์ในการออกเยี่ยมบ้านให้สอดคล้องกับบริบทในการทำงานที่เน้นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทีมนิเทศ และผู้บริหาร พัฒนากระบวนทัศน์ในการทำงานที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเป็นหลักในการทำงาน กำหนดขอบเขตการให้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ กำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมพยาบาลนิเทศ สหสาขาวิชาชีพอื่นให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 416950 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Primary Care | en_US |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ | en_US |
dc.subject | สถานบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ขอนแก่น | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น | th_TH |
dc.title.alternative | The Role and Structure of Primary Care Service System: in the Context of Health Professional and Health Services: Case Study of Khon-Kaen Hospital | en_US |
dc.identifier.callno | W84.6 ห135ก 2545 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค052 | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น | en_US |
.custom.citation | หทัยชนก บัวเจริญ and Hathaichanok Buacharoen. "การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1303">http://hdl.handle.net/11228/1303</a>. | |
.custom.total_download | 206 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |