บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น ในขั้นตอนของการจัดทำขอบเขตและระเบียบวิจัย ใช้วิธีการศึกษาพิจารณาข้อมูลจากการค้นคว้าทบทวนเอกสาร รายงานวิจัย ข้อมูลจากการจัดประชุม สัมภาษณ์ ของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการขยะมูลฝอย ผลการศึกษาพบว่า สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยปัจจุบันที่มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ณ บ้านคำบอน ตำบลโนนท่อน ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 มีการปรับปรุงเรื่อยมา จนมีลักษณะแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการฝังกลบ เตาเผาขยะติดเชื้อ โรงงานทำปุ๋ยหมัก แต่การปฏิบัติการกำจัดยังไม่เป็นไปตามหลักสุขวิชาการ ทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลกระทบไปสู่สุขภาพของประชาชนได้ ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่กำจัดขยะแห่งนี้จวนจะหมดเนื้อที่ฝังกลบ เพราะปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยมีปริมาณขยะที่ต้องทำการกำจัดประมาณวันละ 200 ตัน จึงมีโครงการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ เพื่อให้ใช้งานได้ต่อไปอีกประมาณ 5 ปี และต้องมีการเตรียมการจัดหาสถานที่กำจัดแห่งใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผู้มีส่วนได้เสียของการจัดการขยะมูลฝอย จำแนกเป็นกลุ่มๆ คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มเจ้าหน้าที่ พนักงานเก็บรวบรวม ขนย้าย และกำจัดขยะของเทศบาลฯ กลุ่มผู้คุ้ยขยะ ซาเล้ง ผู้รับซื้อขยะ และกลุ่มประชาชน ชุมชนที่อาศัยรอบๆ สถานที่กำจัดขยะ ผลกระทบต่อสุขภาพมิติทางกายจากการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อผิวหนัง อาการปวดเมื่อย การบาดเจ็บจากของมีคม ซึ่งมักเกิดกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสัมผัสกับขยะโดยตรง ผลกระทบทางจิตใจและสังคมที่เกิดขึ้น มักเกี่ยวข้องกับจิตกังวลจากรายได้เพื่อการดำรงชีพ ขึ้นกับการคุ้ยหาขยะที่ขายได้ การถูกมองว่าสกปรก เร่ร่อน ต่ำต้อย ทำให้ภาวะจิตใจไม่คงที่ ผลกระทบทางจิตวิญญาณ ได้แก่ เกิดความเห็นแก่ตัว การขาดจิตสำนึกความรับผิดอบในหน้าที่ ส่วนผลกระทบด้านบวกที่เห็นได้ชัดจากการคุ้ยขยะเป็นการสร้างอาชีพ ทำรายได้ ทั้งเป็นการลดปริมาณขยะและการนำกลับมาใช้อีกอย่างคุ้มค่า ขอบเขตและระบียบวิธีวิจัยของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากกการกำจัดขยะมูลฝอยพิจารณาแยกเป็นสามประเด็นคือ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพต่อประชากรศึกษา ผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ กลุ่มพนักงานเก็บรวบรวม ขนย้ายและกำจัดขยะของเทศบาลฯ กลุ่มผู้คุ้ยขยะ ซาเล้ง ผู้รับซื้อขยะ กลุ่มประชาชน ชุมชนที่อาศัยรอบๆ สถานที่กำจัดขยะ และกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งต้องประเมินผลกระทบทางสุขภาพทั้งมิติทางกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ ได้แก่ โรคและอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ความกังวล ความเครียด ความพึงพอใจ ขวัญกำลังใจ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเสียสละ ประเด็นที่สองคือ การประเมินผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งพิจารณาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่กำจัดขยะและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งบริเวณที่พักขยะและที่ทิ้งขยะตามจุดต่างๆ โดยพิจารณาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำชะขยะ ดิน ทัศนียภาพ ประเด็นสุดท้ายคือ ประเมินความสัมพันธ์ข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพและข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ
บทคัดย่อ
The study aims to define the scope and present the guideline of research methodology for health impact assessment of Khon Kaen City Municipal solid waste policy using the literature reviews, field work study, interviewing and getting data from stakeholders’ participation of the group meeting. Results revealed that Khon Kaen City Municipality has a 100 Rai disposal site at Khum Bon Village, Non Ton sub-district, 17 km far from Khon Kaen City in Udonthani province direction. The disposal site has operated since 1968 and was latest improved in 1986. The disposal system was combination designed, consisting of a sanitary landfill, an infectious incinerator, and a composing plant. However, they could dispose solid waste occasionally and the operation was not followed to the design. Thus, these could cause to the environment impacts and human health. Moreover, the land of disposal site is nearly over because of the increasing of solid waste, about 200 tons/day. This site has to be rehabilitated for 5 years extension and it must find out the new disposal area. The stakeholders of solid waste management identified as 1) municipal solid waste workers, personnel group 2) group of communities, people who live near the disposal site 3) private occupation with solid waste group: scrap merchant, scrap collectors at disposal site, scraper using tricycle (Sa-Leng) and 4) the administrative group related to solid waste management and policy. The physical health impact from solid waste was found as gastro enteric disease, respiratory tract disease, infectious disease, skin disease, allergic disease, injury from vehicle accident, sharpen objects which occurred to the person who worked, direct contacted with solid waste. Metal and social health impacts were found as the stress, worrying, low society, dirty, etc. Spiritual health impact was indicated that lacking the responsibility, recognition on solid waste management, feeling of self-reliance. Positive impacts were found that the scrapers, workers could make money from the scrap and they were proud of reducing, recycling, reuse, renew the solid waste. Scope and methodology for health impact assessment of Khon Kaen City Municipal solid waste management can identify as three categories. The first is health impact assessment of population studies (stakeholders): a) municipal solid waste workers, personnel group, b) group of communities, people who live near the disposal site c) private occupation with solid waste group: scrap merchant, scrap collectors at disposal site, scraper using tricycle (Sa-Leng) and d) the administrative group related to solid waste management and policy. Health impacts cover physical, mental, social and spiritual health such as sickness, stress, self responsibility, worrying, recognition, social relationships, morale, citizens participation etc. The second is assessment of environmental quality that impacts also to human health. These consider the air, water, soil qualities at the disposal site and the area around 2 km nearby. At the solid waste discharge point and the transfer station should consider the visual sighting, air quality. And the third is assessment of the linkage of environment and health analysis for decision-making.